รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
??????????? เต้านมอักเสบเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยในช่วง 4-6 สัปดาห์หลังคลอด ซึ่งพบได้ตั้งแต่ร้อยละ 9.5-23.7 ขึ้นอยู่กับเกณฑ์การวินิจฉัย ระยะเวลาหลังคลอดที่เก็บข้อมูล และความแตกต่างในการให้การดูแลการคลอดและการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระยะหลังคลอด มีข้อมูลของการศึกษาอาการของมารดาที่มีเต้านมอักเสบพบว่า อาการเจ็บเต้านมพบได้ร้อยละ 28 อาการปวดศีรษะหรือปวดเมื่อยเนื้อตัวพบได้ร้อยละ 27 อาการไข้พบร้อยละ 17 อาการหนาวสั่นพบได้ร้อยละ 14 เต้านมแดงพบร้อยละ 9 และมีก้อนที่เต้านมพบร้อยละ 51 จากข้อมูลเหล่านี้จะเห็นว่า มารดาที่มีเต้านมอักเสบมีส่วนน้อยที่พบว่ามีก้อนที่เต้านม แต่มารดาที่มีก้อนที่เต้านมจากการขังของน้ำนมจะมีความเสี่ยงที่จะเกิดเต้านมอักเสบได้ โดยส่วนใหญ่ของเต้านมอักเสบจะมีอาการเจ็บที่เต้านม ดังนั้น หากมารดามีอาการเจ็บเต้านม บุคลากรทางการแพทย์ไม่ควรละเลย ควรทำการซักประวัติและตรวจร่างกายโดยละเอียด หากสามารถวินิจฉัยภาวะเต้านมอักเสบได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ผลการรักษาจะดีและป้องกันการหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก่อนระยะเวลาที่เหมาะสม
เอกสารอ้างอิง
- Khanal V, Scott JA, Lee AH, Binns CW. Incidence of Mastitis in the Neonatal Period in a Traditional Breastfeeding Society: Results of a Cohort Study. Breastfeed Med 2015;10:481-7.