รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ? ? ?ในสตรีไทยที่ให้นมบุตร ความต้องการวิตามินบีหกต้องการวันละ 2 มิลลิกรัมต่อวัน การขาดวิตามินบีหกจะทำให้เกิดความผิดปกติของระบบประสาท มือเท้าชา หงุดหงิด และมีผื่นขึ้นตามผิวหนังได้ การขาดวิตามินบีหกอาจพบควบคู่กันกับการขาดวิตามินบีหนึ่งและบีสาม เนื่องจากอาหารที่มีวิตามินบีหกมีอยู่ในเนื้อสัตว์ ปลา ไข่ ผักใบเขียว ผลิตภัณฑ์จากนมและถั่ว ซึ่งจะเป็นอาหารที่มีวิตามินบีหนึ่งและบีสามสูง ขณะเดียวกันการขาดวิตามินบีหกของมารดาจะส่งผลต่อระดับของวิตามินบีหกในน้ำนมลดลงและจะทำให้เกิดการขาดวิตามินบีหกในทารกด้วย โดยทารกที่ขาดวิตามินบีหกจะแสดงพฤติกรรมที่ผิดปกติ หงุดหงิดและอารมณ์แปรปรวนง่าย การเสริมวิตามินบีหกในระหว่างการให้นมบุตรในมารดาที่ขาดจะเพิ่มระดับของวิตามินบีหกในน้ำนมแม่ได้ 1 โดยทั่วไป แนะนำให้มารดารับประทานอาหารที่มีวิตามินบีหกสูงในสัดส่วนที่พอเหมาะระหว่างการให้นมบุตรจะช่วยป้องกันการขาดวิตามินบีหกในทารกได้
เอกสารอ้างอิง
Abe SK, Balogun OO, Ota E, Takahashi K, Mori R. Supplementation with multiple micronutrients for breastfeeding women for improving outcomes for the mother and baby. Cochrane Database Syst Rev 2016;2:CD010647.
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ? ? ?ในสตรีไทยที่ให้นมบุตร ความต้องการวิตามินบีสามหรือไนอะซิน (Niacin) ต้องการวันละ 17 มิลลิกรัมต่อวัน การขาดวิตามินบีสามจะทำให้เกิดโรคเพลลากร้า (Pellagra) ซึ่งจะมีสมองเสื่อม ผิวหนังอักเสบ และท้องเสีย อาจพบควบคู่กันกับการขาดวิตามินบีหนึ่งและบีหก เนื่องจากอาหารที่มีวิตามินบีสามมีอยู่ในเนื้อสัตว์ ไข่ ผักใบเขียว ผลิตภัณฑ์จากนมและถั่ว ซึ่งจะเป็นอาหารที่มีวิตามินบีหนึ่งและบีหกสูงอยู่ด้วย เช่นเดียวกันการขาดวิตามินบีสามของมารดาจะส่งผลต่อระดับของวิตามินบีสามในน้ำนมลดลงและจะทำให้เกิดการขาดวิตามินบีสามในทารกด้วย การเสริมวิตามินบีสามในระหว่างการให้นมบุตรในมารดาที่ขาดจะเพิ่มระดับของวิตามินบีสามในน้ำนมแม่ได้1 โดยทั่วไป แนะนำให้มารดารับประทานอาหารที่มีวิตามินบีสามสูงในสัดส่วนที่พอเหมาะระหว่างการให้นมบุตรน่าจะช่วยป้องกันการขาดวิตามินบีสามในทารกได้
เอกสารอ้างอิง
Abe SK, Balogun OO, Ota E, Takahashi K, Mori R. Supplementation with multiple micronutrients for breastfeeding women for improving outcomes for the mother and baby. Cochrane Database Syst Rev 2016;2:CD010647.
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ? ? ?ในสตรีไทยที่ให้นมบุตร ความต้องการวิตามินบีสองต้องการวันละ 1.6 มิลลิกรัมต่อวัน การขาดวิตามินบีสองจะทำให้เกิดโรคปากนกกระจอก ความผิดปกติทางสายตา ตาแดง และน้ำหนักลดได้ อาจพบควบคู่กันกับการขาดวิตามินบีหนึ่ง เนื่องจากอาหารที่มีวิตามินบีสองมีอยู่ในเนื้อสัตว์ ไข่ ผักใบเขียว และผลิตภัณฑ์จากนม ซึ่งจะเป็นอาหารที่มีวิตามินบีหนึ่งสูงอยู่ด้วย การขาดวิตามินบีสองของมารดาจะส่งผลต่อระดับของวิตามินบีสองในน้ำนมลดลงและจะทำให้เกิดการขาดวิตามินบีสองในทารกด้วย การเสริมวิตามินบีสองในระหว่างการให้นมบุตรในมารดาที่ขาดจะเพิ่มระดับของวิตามินบีสองในน้ำนมแม่ได้1 โดยทั่วไป แนะนำให้มารดารับประทานอาหารที่มีวิตามินบีสองสูงในสัดส่วนที่พอเหมาะระหว่างการให้นมบุตรน่าจะช่วยป้องกันการขาดวิตามินบีสองในทารกได้
เอกสารอ้างอิง
Abe SK, Balogun OO, Ota E, Takahashi K, Mori R. Supplementation with multiple micronutrients for breastfeeding women for improving outcomes for the mother and baby. Cochrane Database Syst Rev 2016;2:CD010647.
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ? ? ?ในสตรีไทยที่ให้นมบุตร ความต้องการวิตามินบีหนึ่งต้องการวันละ 1.4 มิลลิกรัมต่อวัน การขาดวิตามินบีหนึ่งจะทำให้เกิดโรคเหน็บชา ความผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจ บวม และหัวใจวายได้ การที่มารดาขาดวิตามินบีหนึ่ง จะส่งผลต่อระดับของวิตามินบีหนึ่งในน้ำนมลดลงและจะทำให้เกิดการขาดวิตามินบีหนึ่งในทารกด้วย การเสริมวิตามินบีหนึ่งระหว่างการตั้งครรภ์และให้นมบุตรจะเพิ่มระดับของวิตามินบีหนึ่งในน้ำนมแม่ได้1 อย่างไรก็ตาม การแนะนำให้มารดารับประทานอาหารที่มีวิตามินบีหนึ่งสูง ได้แก่ อาหารจำพวกธัญพืช เนื้อสัตว์ ตับ ไข่แดง ผลิตภัณฑ์จากนมและถั่วต่างๆ ในสัดส่วนที่พอเหมาะระหว่างการให้นมบุตรน่าจะช่วยป้องกันการขาดวิตามินบีหนึ่งในทารกได้ ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่า ระดับของวิตามินบีหนึ่งจะเปลี่ยนแปลงตามระดับของวิตามินบีหนึ่งของมารดา ดังนั้น มารดาที่ต้องการให้ทารกได้รับวิตามินบีหนึ่งที่เพียงพอ ควรรับประทานอาหารให้ครบหมู่ตามสัดส่วนอย่างเหมาะสม
เอกสารอ้างอิง
Abe SK, Balogun OO, Ota E, Takahashi K, Mori R. Supplementation with multiple micronutrients for breastfeeding women for improving outcomes for the mother and baby. Cochrane Database Syst Rev 2016;2:CD010647.
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ? ? ?ในสตรีไทยที่ให้นมบุตร ความต้องการวิตามินเอต้องการวันละ 975 ไมโครกรัมต่อวัน มารดาที่ขาดวิตามินเอหลังคลอด จะแนะนำให้รับประทานวิตามินเอถึง 200000 หน่วย (60060 ไมโครกรัม) เพื่อช่วยรักษาอาการขาดวิตามินเอในมารดาและลดการขาดวิตามินเอในทารกโดยเฉพาะหลังจากหกเดือนแรก แต่ในมารดาที่ไม่ขาดวิตามินเอ ยังไม่มีข้อมูลว่า การให้วิตามินเอแก่มารดาจะช่วยป้องกันหรือลดความเจ็บป่วยในมารดาและทารก แม้ว่ามีแนวโน้มว่าอาจจะมีประโยชน์ แต่มีข้อมูลว่าการให้วิตามินเอเสริมแก่มารดาที่ติดเชื้อเอชไอวีระหว่างการตั้งครรภ์ช่วยลดภาวะซีดและลดการติดเชื้อในมารดาได้1 ดังนั้น จากข้อมูลที่มี แนะนำให้เสริมวิตามินเอในมารดาเฉพาะในมารดาที่มีการขาดวิตามินเอเท่านั้น มารดาทั่วไปควรรับประทานอาหารให้ครบหมู่ตามสัดส่วนที่เหมาะสมก็เพียงพอ
เอกสารอ้างอิง
Abe SK, Balogun OO, Ota E, Takahashi K, Mori R. Supplementation with multiple micronutrients for breastfeeding women for improving outcomes for the mother and baby. Cochrane Database Syst Rev 2016;2:CD010647.
เรื่องนำทาง
แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)