รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
??????????? ในสตรีที่ให้นมบุตรแม้ว่าข้อแนะนำในการได้รับสารอาหารในส่วนของแคลเซียมจะไม่ได้มีความต้องการเพิ่มในระหว่างการตั้งครรภ์และการให้นมบุตร แต่ปริมาณที่แนะนำให้รับประทานในแต่ละวันราว 900-1000 มิลลิกรัม ก็เป็นสิ่งที่สตรีที่ตั้งครรภ์และให้นมบุตรรับประทานไม่ถึงปริมาณที่แนะนำ แล้วสิ่งนี้จะมีผลอย่างไร สำหรับปริมาณแคลเซียมในน้ำนมแม่ที่ผลิตนั้นโดยปกติจะไม่ลดลง แต่จะมีการเพิ่มแคลเซียมมาจากการสลายกระดูก โดยจะพบมีการสลายของกระดูกบริเวณสันหลังช่วงเอวก่อน และจึงเกิดที่กระดูกข้อสะโพก1 อย่างไรก็ตาม หลังจากที่มารดาหยุดการให้นมแม่ กระดูกที่บางก็จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติก่อนการให้นมลูก แต่แน่นอนว่า หากมีการสลายของกระดูกในปริมาณที่มากในกลุ่มมารดาที่มีความเสี่ยงหรือต้นทุนของมวลกระดูกน้อยอยู่แล้ว ก็อาจจะเพิ่มโอกาสที่จะมีการหักหรือแตกของกระดูกขึ้น ซึ่งอาจเป็นอันตรายได้ ดังนั้น การเลือกรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูงจะลดการเกิดการสลายของกระดูกจากการขาดแคลเซียมที่พบในสตรีที่ให้นมบุตรได้
เอกสารอ้างอิง
- Teerapornpuntakit J, Chanprapaph P, Karoonuthaisiri N, Charoenphandhu N. Site-Specific Onset of Low Bone Density and Correlation of Bone Turnover Markers in Exclusive Breastfeeding Mothers. Breastfeed Med 2017.