คลังเก็บป้ายกำกับ: วัฒนธรรมส่งผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

วัฒนธรรมส่งผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? ความเชื่อ ค่านิยม ธรรมเนียมปฏิบัติ และวัฒนธรรมส่งผลต่อวิถีในการเลี้ยงและดูแลลูกรวมถึงในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ด้วย1 ในยุคที่มีการตื่นตัวของกระแสวัฒนธรรมในสมัยกรุงศรีอยุธยา การระลึกถึงรากเหง้าของการพัฒนาเชื้อชาตินั้นเป็นสิ่งที่ดี ที่จะช่วยส่งเสริมให้คนรุ่นใหม่เข้าใจถึงพื้นฐานความเชื่อโบราณในบริบทของสังคมในยุคนั้น อย่างไรก็ตาม การนำค่านิยมในยุคก่อนมาใช้ ควรมีการวิเคราะห์ และปรับให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน

??????????? วัฒนธรรมการมีแม่นม จะเห็นว่าสมเด็จพระนารายณ์มหาราชก็มีแม่นม คือ เจ้าแม่วัดดุสิต ที่มีบุตรของตนเอง คือ เจ้าพระยาโกษาธิบดี ทำให้พระนารายณ์มีความคุ้นเคยกับเจ้าพระยาโกษาธิบดีเนื่องจากเติบโตมาด้วยกัน การที่กษัตริย์และราชวงศ์ชั้นสูงในสมัยก่อนมักมีแม่นมที่จะเป็นผู้ที่ให้นมแก่บุตรแทนแม่ที่ทำการคลอดบุตรนั้น น่าจะเป็นจากในสมัยก่อนต้องการให้สตรีมีบุตรจำนวนมาก เพื่อสืบทอดกิจการและเป็นกำลังในการช่วยงานต่าง ๆ ซึ่งจะเห็นว่าในอดีตสตรีอาจมีบุตรต่อเนื่องกันหัวปีท้ายปี และมีบุตรได้จำนวนมากถึง 10-20 คน โดยเป็นที่ทราบกันว่า หากให้สตรีให้นมบุตรจะทำให้สตรีนั้นเว้นระยะของการมีบุตรออกไป ดังนั้น การมีแม่นมที่จะให้นมลูกแทนจึงเกิดขึ้น แม้ว่าทารกจะไม่ได้รับนมแม่จากมารดาของตนเอง แต่ก็ยังได้รับนมแม่ที่ยังคงมีประโยชน์ แต่ก็มีข้อเสียทำให้ความผูกพันระหว่างมารดาและทารกจะลดลง และหากจะมีการแบ่งปันนมแม่ในปัจจุบันจะมีข้อจำกัดหรือข้อควรระมัดหลายอย่าง2 ค่านิยมนี้ได้ถ่ายทอดมาในสังคมชั้นสูงและการมีแม่นมได้แสดงถึงฐานะความร่ำรวยของครอบครัวนั้น ๆ ด้วย ซึ่งค่านิยมเหล่านี้ยังสืบต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

??????????? ต่อมา เมื่อมีการติดต่อกับชนชาติอื่น ๆ จึงมีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและความเชื่อต่าง ๆ ตามมาด้วยโดยค่านิยมนมผงที่เกิดในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมก็ได้เข้ามาในสังคมไทยและเกิดค่านิยมของการเลี้ยงลูกด้วยนมผงในสังคมคนชั้นสูงหรือร่ำรวยและแสดงเศรษฐานะของครอบครัวเช่นเดียวกันกับในยุคที่มีการใช้แม่นม ซึ่งส่งผลต่ออัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่ลดต่ำลงทั่วโลก ดังนั้น ภายหลังองค์การอนามัยโลกจึงออกมาแสดงบทบาทในการปกป้องนมแม่ โดยการกำหนดหลักเกณฑ์ว่าด้วยการตลาดอาหารทารกและเด็กเล็ก และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อปกป้องการใช้การสื่อสารตลาดของนมผงที่ไม่เหมาะสม จึงเกิดค่านิยมที่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในภายหลังต่อมา

เอกสารอ้างอิง

  1. Shin CN, Reifsnider E, McClain D, Jeong M, McCormick DP, Moramarco M. Acculturation, Cultural Values, and Breastfeeding in Overweight or Obese, Low-Income, Hispanic Women at 1 Month Postpartum. J Hum Lact 2018;34:358-64.
  2. Sriraman NK, Evans AE, Lawrence R, Noble L, Academy of Breastfeeding Medicine’s Board of D. Academy of Breastfeeding Medicine’s 2017 Position Statement on Informal Breast Milk Sharing for the Term Healthy Infant. Breastfeed Med 2018;13:2-4.