รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ? ? ? ?พฤติกรรมและกลไกในการกินนมแม่ของทารก โดยทั่วไปประกอบด้วยสองส่วนใหญ่ ๆ ได้แก่ ช่วงที่ดูดนมแม่กิน (nutritive breastfeeding) กับช่วงที่ดูดนมเพื่อความพึงพอใจโดยไม่เน้นการกินนม (nonnutritive breastfeeding) ซึ่งทั้งสองช่วงระยะเวลาที่แตกต่างกันในทารกแต่ละคน แต่อย่างไรก็ตาม ช่วงที่ดูดนมแม่กินจะเกิดในช่วงแรกและเกิดเร็วในช่วง 4 นาที จากนั้นระยะการดูดนมเพื่อความพึงพอใจก็จะเกิดตามมา กลไกในการดูดนมในทั้งสองช่วงเวลาจะคล้ายคลึงกัน โดยเริ่มจากที่ทารกแลบลิ้นยื่นออกไปข้างหน้าและยกขึ้น เกิดการหดรัดตัวของกล้ามเนื้อลิ้นเป็นคลื่นจากปลายลิ้นไปที่โคนลิ้น ขณะที่ขากรรไกรล่างของทารกขยับลง สร้างแรงดึงดูดที่ช่วยในการไหลของน้ำนม1 โดยเชื่อว่า กลไกการสร้างแรงดูด (vacuum pressure) เป็นแรงหลักในการช่วยในการไหลของน้ำนม ระยะเวลาที่ทารกอยู่กับเต้านมยังขึ้นอยู่กับธรรมเนียมหรือวัฒนธรรมในแต่ละเชื้อชาติด้วย ดังนั้น การเปิดโอกาสให้มารดาได้อยู่กับทารกตลอด 24 ชั่วโมงจะช่วยให้มารดาสามารถเป็นบุคคลที่เข้าใจพฤติกรรมการกินนมของทารกได้ดีที่สุดรวมถึงสังเกตอาการที่บ่งบอกว่าทารกรู้สึกหิว และจัดการให้นมทารกได้ตามที่ทารกต้องการ
เอกสารอ้างอิง
- Scheuerle RL, Kendall RA, Tuleu C, Slater NK, Gerrard SE. Mimicking the Impact of Infant Tongue Peristalsis on Behavior of Solid Oral Dosage Forms Administered During Breastfeeding. J Pharm Sci 2017;106:193-9.