รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีประโยชน์ในการป้องกันการติดเชื้อ โดยเฉพาะป้องกันการเกิดท้องเสียในทารกที่จะเป็นอันตรายและทำให้เกิดการเสียชีวิตของทารกได้ มีการศึกษาในสหรัฐอเมริกาถึงผลของระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่อการป้องกันการเกิดท้องเสียจากการติดเชื้อโดยเปรียบเทียบการกินนมแม่ของทารกที่ 3 เดือน 6 เดือน และ 6 ถึง 12 เดือน พบว่า ทารกที่หยุดนมแม่เร็วจะพบมีท้องเสียจากการติดเชื้อสูงกว่าทารกที่หยุดการกินนมแม่ช้า เท่ากับว่าทารกที่กินนมแม่นานกว่าจะมีท้องเสียจากการติดเชื้อที่ต่ำกว่า ซึ่งแสดงถึงผลของระยะเวลาของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีผลต่อการป้องกันความเสี่ยงในการเกิดท้องเสียจากการติดเชื้อที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ยังพบว่า ทารกที่กินนมผงดัดแปลงสำหรับทารกจะพบมีท้องเสียจากการติดเชื้อสูงกว่าทารกที่กินนมแม่ด้วย โดยผลสรุปจากการศึกษานี้พบว่าทั้งรูปแบบของการให้อาหารสำหรับทารกแรกเกิด และระยะเวลาของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีผลต่อความสามารถในการป้องกันการเกิดท้องเสียจากการติดเชื้อของทารก1
เอกสารอ้างอิง
1. Diallo AF, McGlothen-Bell K, Lucas R, et al. Feeding modes, duration, and diarrhea in infancy: Continued evidence of the protective effects of breastfeeding. Public Health Nurs 2020;37:155-60.