รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
??????????? ตัวชี้วัดที่สำคัญในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่ควรมีการเก็บรวบรวมและนำมาเปรียบเทียบวิเคราะห์ผลได้แก่ การเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ภายในหนึ่งชั่วโมงแรกหลังคลอด ตัวชี้วัดนี้ส่วนหนึ่งสะท้อนถึงความตั้งใจของมารดาในการที่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และอีกส่วนสะท้อนถึงการดูแลและเอาใจใส่ในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของโรงพยาบาลที่มารดาให้การคลอดบุตรและเลือกไว้ว่าน่าจะเป็นโรงพยาบาลที่สนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มีการศึกษาถึงระบบการให้คำปรึกษาที่มีพี่เลี้ยงนมแม่ (peer counselling) ในเรื่องการช่วยการเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่พบว่า การมีพี่เลี้ยงนมแม่ที่คอยช่วยให้คำปรึกษามารดาและครอบครัวจะช่วยให้อัตราการเริ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สูงขึ้นร้อยละ 66 นอกจากนี้ระบบพี่เลี้ยงนมแม่ยังช่วยป้องกันการหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก่อนหนึ่งปีได้ถึงร้อยละ 551 ดังนั้น การจัดรูปแบบพี่เลี้ยงนมแม่จะช่วยในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หากโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลมีความพร้อมและสามารถจัดระบบพี่เลี้ยงนมแม่ได้
เอกสารอ้างอิง
- McCoy MB, Geppert J, Dech L, Richardson M. Associations Between Peer Counseling and Breastfeeding Initiation and Duration: An Analysis of Minnesota Participants in the Special Supplemental Nutrition Program for Women, Infants, and Children (WIC). Matern Child Health J 2018;22:71-81.
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
??????????? ระบบพี่เลี้ยงที่จะให้คำปรึกษาในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่มีการจัดให้กับมารดาแต่ละคนมีประโยชน์และช่วยป้องกันการหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก่อนระยะเวลาอันควร มีการศึกษาเกี่ยวกับการจัดระบบพื่เลี้ยงที่สนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่พบว่า ระบบพี่เลี้ยงช่วยป้องกันการหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในหนึ่งเดือนแรกได้ถึงร้อยละ 55 และช่วยป้องกันการหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในช่วงเดือนที่สองถึงเดือนที่สิบสองได้ถึงร้อยละ 671 อย่างไรก็ตาม การจัดระบบพี่เลี้ยงที่สนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แม้จะมีหลักฐานว่ามีประโยชน์ แต่ยังมีข้อจำกัดในการจัดหาบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถที่เหมาะสมที่จะให้คำปรึกษาและช่วยในการแก้ปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่เพียงพอ ระบบงบประมาณที่จะสนับสนุนให้เกิดการจัดระบบพี่เลี้ยงที่มีความครอบคลุมในแต่ละพื้นที่ รวมทั้งการพัฒนาพี่เลี้ยงให้มีความรู้ความสามารถที่ทันสมัย มีการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง การสร้างระบบพี่เลี้ยงที่สนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จึงจำเป็นต้องมองให้เห็นถึง การสร้างระบบที่จะช่วยสร้าง พัฒนา และธำรงรักษาบุคลากรที่อยู่ในสาขาวิชาชีพนี้ให้คงอยู่ได้ มีความมั่นคงในวิชาชีพในการทำงาน ซึ่งจะส่งผลต่อการสร้างความยั่งยืนของระบบที่จะเอื้อต่อการพัฒนาตามพื้นฐานของการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้
เอกสารอ้างอิง
- McCoy MB, Geppert J, Dech L, Richardson M. Associations Between Peer Counseling and Breastfeeding Initiation and Duration: An Analysis of Minnesota Participants in the Special Supplemental Nutrition Program for Women, Infants, and Children (WIC). Matern Child Health J 2018;22:71-81.
แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)