รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
การที่จะบอกว่ามารดามีน้ำหนักเกินหรืออ้วนนั้น ต้องดูจากค่าดัชนีมวลกาย ซึ่งต้องใช้น้ำหนักของมารดาก่อนการตั้งครรภ์มาคำนวณ ในกรณีที่พบว่ามารดามีดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์อ้วน จะเพิ่มความเสี่ยงที่จะมีภาวะแทรกซ้อนในระหว่างการตั้งครรภ์ ระยะคลอด ระยะหลังคลอด รวมถึงการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยพบว่ามารดาที่มีดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์อ้วนจะมีความเสี่ยงที่จะหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก่อนเวลาอันควรเพิ่มขึ้น1 แต่ปัจจัยที่จะมีผลดีต่อระยะเวลาของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ได้แก่ การที่มารดามีอายุมากขึ้น หรือมารดาที่เป็นครรภ์หลังจะลดความเสี่ยงที่จะมีการหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก่อนเวลาอันควร เนื่องจากการที่มารดามีประสบการณ์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มาก่อน ดังนั้น การส่งเสริมให้ความรู้แก่สตรีที่มีการวางแผนที่จะมีบุตรให้มีการดูแลให้มีดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์ปกติถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นอย่างหนึ่งในการที่จะป้องกันและลดภาวะแทรกซ้อนในระหว่างการตั้งครรภ์และคลอด และยังเป็นการช่วยสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ด้วย
เอกสารอ้างอิง
1. Claesson IM, Myrgard M, Wallberg M, Blomberg M. The Association Between Covariates, with Emphasis on Maternal Body Mass Index, and Duration of Exclusive and Total Breastfeeding. Breastfeed Med 2020.