คลังเก็บป้ายกำกับ: มารดามีปฏิกิริยาตอบสนองต่อลักษณะการดูดนมของทารก

การประเมินการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (ตอนที่ 7)

breastfeeding s0011502908000230.jpg3รูปการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จาก Eglash A, et al.1

เขียนโดย รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

เกณฑ์ Mother?Infant Breastfeeding Progress Tool (MIBPT)2 มีรายละเอียด ดังนี้

หัวข้อประเมิน

มารดามีปฏิกิริยาตอบสนองต่อลักษณะการดูดนมของทารก ได้แก่ ทารกที่ได้รับการกระตุ้นดูดนมและการเข้าเต้า
ระยะเวลาระหว่างช่วงให้นมลูกของมารดาไม่เกิน 3 ชั่วโมง
ทารกอมหัวนมและคาบลานนมพร้อมกับอ้าปากกว้าง ริมฝีปากมองเห็นปลิ้นออก
สังเกตเห็นการดูดนมแรง
มารดาสามารถจัดท่าให้นมได้ด้วยตนเอง
มารดาสามารถนำทารกเข้าเต้าได้
หัวนมของมารดาไม่มีบาดแผล
ไม่มีข้อคิดเห็นด้านลบในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

 

เกณฑ์นี้ใช้ตัวแปรในการประเมิน 8 ตัวแปรคือ มารดามีปฏิกิริยาตอบสนองต่อลักษณะการดูดนมของทารก ระยะเวลาระหว่างช่วงให้นมลูกของมารดาไม่เกิน 3 ชั่วโมง ทารกอมหัวนมและคาบลานนมพร้อมกับอ้าปากกว้าง ริมฝีปากมองเห็นปลิ้นออก สังเกตเห็นการดูดนมแรง มารดาสามารถจัดท่าให้นมได้ด้วยตนเอง มารดาสามารถนำทารกเข้าเต้าได้ หัวนมของมารดาไม่มีบาดแผลและไม่มีข้อคิดเห็นด้านลบในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ข้อมูลจากการประเมินทั้งหมดนี้เป็นข้อมูลจากมารดาและทารก ไม่มีการให้คะแนนในเกณฑ์นี้ การนำไปใช้ใช้ช่วยประเมินพฤติกรรมทารกว่าเป็นอย่างไรและมารดามีปฏิกิริยาตอบสนองต่อทารกอย่างไร โดยใช้เป็นแบบตรวจสอบตามหัวข้อสำหรับการสอนมารดาและครอบครัวหรือใช้บ่งบอกว่ามารดาและทารกต้องการความช่วยเหลือในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ข้อมูลของประสิทธิภาพของเกณฑ์นี้ มีการศึกษาถึงความเชื่อมั่นในการให้คะแนนระหว่างบุคคล (inter-rater reliability) พบร้อยละ 79-953

หนังสืออ้างอิง

1.???????? Eglash A, Montgomery A, Wood J. Breastfeeding. Disease-a-Month 2008;54:343-411.

2.???????? Johnson TS, Mulder PJ, Strube K. Mother-Infant Breastfeeding Progress Tool: a guide for education and support of the breastfeeding dyad. J Obstet Gynecol Neonatal Nurs 2007;36:319-27.

3.???????? Hill PD, Johnson TS. Assessment of breastfeeding and infant growth. J Midwifery Womens Health 2007;52:571-8.