คลังเก็บป้ายกำกับ: ผลระยะยาวของกลุ่มอาการถุงน้ำจำนวนมากในรังไข่ต่อมารดา

ผลระยะยาวของกลุ่มอาการถุงน้ำจำนวนมากในรังไข่ต่อทารก

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

                 ทารกที่มีมารดามีกลุ่มอาการถุงน้ำจำนวนมากในรังไข่ จะเพิ่มโอกาสที่มีกลุ่มอาการถุงน้ำจำนวนมากในรังไข่ด้วย เนื่องจากมีปัจจัยการเกิดเกี่ยวเนื่องกับพันธุกรรม และหากมารดามีภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ครรภ์เป็นพิษ หรือทารกมีน้ำหนักตัวน้อยจากการเจริญเติบโตช้าในครรภ์ จะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นตามโรคหรือภาวะแทรกซ้อนที่มีในระหว่างการตั้งครรภ์ ซึ่งรายละเอียดมีในหัวข้อสาเหตุและผลของกลุ่มอาการนี้ที่มีต่อการตั้งครรภ์ที่เขียนบรรยายไว้ก่อนหน้านี้

ผลระยะยาวของกลุ่มอาการถุงน้ำจำนวนมากในรังไข่ต่อมารดา

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

                มารดาที่มีกลุ่มอาการถุงน้ำจำนวนมากในรังไข่จะเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดโรคอ้วน โรคเบาหวานชนิดที่ 2  กลุ่มอาการเมตาบอลิก1 โรคไขมันในตับ (nonalcoholic fatty liver disease)2  ซึ่งเมื่อเกิดโรคเหล่านี้ จะมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดเพิ่มขึ้น3  นอกจากนี้  ยังพบมารดาที่มีกลุ่มอาการถุงน้ำจำนวนมากในรังไข่มีภาวะวิตกกังวลหรือซึมเศร้าเพิ่มขึ้นด้วย4 โดยพบมีภาวะวิตกกังวลเพิ่มขึ้น 5.62 เท่า (95% CI 3.22-9.80) และมีอาการซึมเศร้าเพิ่มขึ้น 3.78 เท่า (95% CI 3.03-4.72)5  สำหรับกรณีที่มารดาได้รับการรักษาด้วยการใช้ยาคุมกำเนิดชนิดรับประทานเป็นเวลานาน จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำ (venous thromboembolism) ได้6

เอกสารอ้างอิง

  1. Dokras A, Bochner M, Hollinrake E, Markham S, Vanvoorhis B, Jagasia DH. Screening women with polycystic ovary syndrome for metabolic syndrome. Obstet Gynecol 2005;106:131-7.
  2. Paschou SA, Polyzos SA, Anagnostis P, et al. Nonalcoholic fatty liver disease in women with polycystic ovary syndrome. Endocrine 2020;67:1-8.
  3. Lo JC, Feigenbaum SL, Yang J, Pressman AR, Selby JV, Go AS. Epidemiology and adverse cardiovascular risk profile of diagnosed polycystic ovary syndrome. J Clin Endocrinol Metab 2006;91:1357-63.
  4. Alkoudsi KT, Basheti IA. Prevalence of anxiety and depression among women with Polycystic Ovary Syndrome living in war versus non-war zone countries: A randomized controlled trial assessing a pharmacist intervention. Res Social Adm Pharm 2019.
  5. Cooney LG, Dokras A. Depression and Anxiety in Polycystic Ovary Syndrome: Etiology and Treatment. Curr Psychiatry Rep 2017;19:83.
  6. Gourdy P, Bachelot A, Catteau-Jonard S, et al. Hormonal contraception in women at risk of vascular and metabolic disorders: guidelines of the French Society of Endocrinology. Ann Endocrinol (Paris) 2012;73:469-87.