คลังเก็บป้ายกำกับ: ประโยชน์ของนมแม่

ประวัติการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

รูปการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จาก Eglash A, et al.1

เขียนโดย รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จากประวัติศาสตร์ในสมัยก่อน ในราชวงศ์ต่างๆ ในสังคมชั้นสูง หรือในมารดาที่มีภาวะแทรกซ้อนจากการคลอดและไม่มีน้ำนม หรือทารกถูกทิ้ง จะมีการใช้แม่นมเพื่อทำการให้นมกับทารกแรกเกิด โดยมีการคัดเลือกและข้อจำกัดสำหรับแม่นมหลายอย่างในหลายสังคมและหลายวัฒนธรรม ได้แก่ การห้ามรับประทานอาหารรสจัด เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งสื่อถึงความกังวลเกี่ยวกับการที่ทารกจะได้รับสิ่งที่แม่นมรับประทานเข้าไปและจะส่งผลต่อทารก ห้ามมีนิสัยชอบเล่นการพนัน โลภ หรือตื่นตกใจง่าย สื่อถึงภาวะทางอารมณ์ของแม่นมอาจมีผลต่อทารก ห้ามมีเพศสัมพันธ์ในช่วงให้นมทารก สื่อถึงความกังวลเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์ การมีบุตร จะทำให้คุณประโยชน์ของนมแม่ลดลง ห้ามครอบครัวของแม่นมแต่งงานกับเด็กทารกที่ได้รับการเลี้ยงจากแม่นม สื่อถึงความเชื่อทางศาสนาและความสัมพันธ์ของผู้หญิงที่ให้นมแม่จะอยู่ในฐานะของแม่คนหนึ่ง โดยอาจให้มีการดูแลทารกคนนั้นไปจนทารกโตเป็นผู้ใหญ่ นอกจากนี้ลักษณะน้ำนมของแม่นมก็เป็นส่วนหนึ่งในการคัดเลือก โดยแม่นมจะต้องมีลักษณะน้ำนมขาว หวาน กลมกลืน ข้นเหนียวที่แสดงถึงคุณภาพน้ำนมที่ดี มีความเชื่อเกี่ยวกับหัวน้ำนม (colostrum) ที่เชื่อว่าเป็นอันตรายต่อทารก จึงมีการให้สารอาหารอื่นแทนในระยะแรกที่น้ำนมยังมาไม่ดี ได้แก่ น้ำผึ้ง เนยหรือน้ำมันผสมน้ำตาล น้ำผึ้งหรือน้ำเชื่อม2

ต่อมาในปี ค.ศ. 1856 ได้มีการเปิดโรงงานผลิตนมกระป๋องในอเมริกา และนมผสมเริ่มได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง วัฒนธรรมการทำงานของสตรีเปลี่ยนแปลงไป โดยสตรีเริ่มต้องออกไปทำงานนอกบ้าน การให้ความสำคัญในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ลดลง การใช้นมผสมมีมากขึ้น จนในปี ค.ศ. 1990 องค์กรอนามัยโลกและองค์กรยูนิเซฟ (UNICEF) ประกาศการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และในปี ค.ศ. 1992 มีการเริ่มโรงพยาบาลสายสัมพันธ์แม่ลูกเพื่อส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้ดียิ่งขึ้น ขณะเดียวกันมีข้อมูลเกี่ยวกับประโยชน์ของนมแม่ โดยมีหลักฐานเชิงประจักษ์ถึงทารกที่ได้รับการเลี้ยงดูด้วยนมแม่จะลดความเสี่ยงในการเกิดโรคของทางเดินอาหาร โรคทางเดินหายใจและหูอักเสบ ผิวหนังอักเสบ กลุ่มอาการทารกเสียชีวิตเฉียบพลัน (sudden infant death syndrome) โรคอ้วน ไขมันในเลือดสูง และความดันโลหิตสูง โดยภูมิคุ้มกันนี้จะยาวนานไปถึงเด็กอายุ 7 ปีและบางโรคยาวนานไปถึงวัยผู้ใหญ่1 ข้อมูลเหล่านี้ส่งเสริมเกิดการศึกษาเพิ่มเติมและให้ข้อแนะนำการเลี้ยงลูกอย่างเดียวเพิ่มจาก 4 เดือนเป็น 6 เดือน

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Eglash A, Montgomery A, Wood J. Breastfeeding. Disease-a-Month 2008;54:343-411.

2.???????????? Dowling DA. Lessons From the Past: A Brief History of the Influence of Social, Economic, and Scientific Factors on Infant Feeding. Newborn and Infant Nursing Reviews 2005;5:2-9.

 

 

นมแม่ มีประโยชน์สุด…สุด

นมแม่

 

? ? ? ? ? เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ คำถามที่มักจะถูกถามว่า วางแผนจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไหม? คุณแม่บางคนอาจตอบโดยไม่ต้องใช้เวลาคิดว่า ?ตั้งใจ? กระบวนการการตัดสินใจนี้ขึ้นอยู่กับข้อมูลที่คุณแม่มีเกี่ยวกับประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เรามาเรียนรู้ในสิ่งนี้กันเถอะ

? ? ? ? ? ประโยชน์ของนมแม่ นอกจากการมีสารอาหารที่ครบถ้วนและมีภูมิคุ้มกันโรคต่างๆ แล้ว ในเด็กที่กินนมแม่จะพบภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้น้อยกว่าเด็กที่กินนมผง1 ได้แก่

– การอักเสบของหูชั้นกลาง

– การอับเสบของกระเพาะและลำไส้

– การอับเสบของลำไส้ชนิดเนื้อตาย (necrotizing enterocolitis)

– การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนล่างที่รุนแรง

– หอบหืด

– การตายของทารกเฉียบพลันโดยไม่ทราบสาเหตุ (sudden infant death syndrome)

– โรคผื่นแพ้ที่ผิวหนัง

? ? ? ? ?จะเห็นว่า เมื่อการเจ็บป่วยในทารกที่กินนมแม่พบน้อยกว่าในช่วงขวบปีแรก ค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพทารกจึงใช้น้อยกว่า ทำให้นอกจากประหยัดค่านมผงแล้ว ยังประหยัดค่ารักษาพยาบาลของทารกด้วย ส่วนผลในระยะยาวช่วยลดโอกาสการเกิด โรคอ้วน โรคเบาหวาน2และโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวในวัยเด็ก

? ? ? ? ?สำหรับผลดีที่พบในคุณแม่ที่ให้นมบุตร จะลดความเสี่ยงในการเกิดเบาหวาน มะเร็งรังไข่ และมะเร็งเต้านม3 แถมในระหว่างให้นมบุตรช่วงหกเดือนแรก หากให้นมแม่อย่างเดียว จะมีผลช่วยคุมกำเนิดได้ด้วย โดยโอกาสที่จะตั้งครรภ์มีน้อยเพียงร้อยละ 1-2

? ? ? ? ?เมื่อคุณแม่เห็นข้อดีต่างๆ มากมายเหล่านี้แล้ว น่าจะช่วยให้สามารถตอบคำถามว่า ตั้งใจจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หรือไม่ด้วยความมั่นใจ และจูงใจให้คุณแม่และครอบครัวมีความมุ่งมั่นในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

หนังสืออ้างอิง

  1. Eglash A, Montgomery A, Wood J. Breastfeeding. Dis Mon 2008; 54:343-411.
  2. Stuebe AM, Rich-Edwards JW, Willett WC, Manson JE, Michels KB. Duration of lactation and incidence of type 2 diabetes. JAMA 2005;294:2601-10
  3. Bernier MO, Plu-Bureau G, Bossard N, Ayzac L, Thalabard JC. Breastfeeding and risk of breast cancer: a metaanalysis of published studies. Hum Reprod Update 2000;6:374-86.

 

 

บทความโดย รศ.นายแพทย์ภาวิน พัวพรพงษ์