รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ? ? ? สิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่จะมีพฤติกรรมการฝังใจ (imprinting) ในช่วงระยะแรกของการเกิด เพื่อช่วยให้รับรู้ถึงมารดาและสร้างความปลอดภัยให้แก่ชีวิตเพื่อการเจริญเติบโตและวิวัฒนาการต่อไป ซึ่งจะเห็นได้ชัดจากสิ่งมีชีวิตประเภทนก เช่นเป็ด เมื่อแรกออกจากไข่ ก็จะจดจำสิ่งที่เคลื่อนไหว เดินและติดตามโดยสำคัญว่าเป็นแม่ ในมนุษย์ก็เช่นกัน เมื่อแรกเกิดในระยะแรกหลังคลอดใหม่ ทารกจะมีการฝังใจกับเต้านมแม่ ด้วยสิ่งเร้าจากกลิ่น และสีคล้ำของเต้านมเป็นสิ่งกระตุ้น การได้สัมผัสเต้านมและหัวนมผ่านปากของทารกจะกระตุ้นพฤติกรรมการฝังใจ ซึ่งเป็นกลไกที่จะช่วยให้ทารกรอดชีวิตและเจริญเติบโตไปได้อย่างเหมาะสม1 ดังนั้น การจะช่วยสนับสนุนให้ทารกเกิดพฤติกรรมนี้ จำเป็นต้องให้ทารกมีการสัมผัสเนื้อแนบเนื้อบนอกของมารดาตั้งแต่ในระยะแรกหลังคลอด ให้เวลาให้ทารกได้พัฒนาการสัมผัสเต้านมและหัวนมผ่านการดูดนม ซึ่งทารกจะรู้สึกปลอดภัย หลับและมีการพัฒนาการการเชื่อมโยงของระบบสื่อประสาทสัมผัสระหว่างการนอนหลับนั้น โดยจะเป็นตัวช่วยที่ดีในการพัฒนาของสมองต่อไปในอนาคต
เอกสารอ้างอิง
- Mobbs EJ, Mobbs GA, Mobbs AE. Imprinting, latchment and displacement: a mini review of early instinctual behaviour in newborn infants influencing breastfeeding success. Acta Paediatr 2015.