รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
เหตุผลเพราะการที่ทารกอยู่ร่วมกับมารดาตลอด 24 ชั่วโมงจะเป็นประโยชน์ต่อทั้งทารกและมารดามากกว่า โดยประโยชน์ที่เกิดขึ้น ได้แก่
- ทารกจะหลับได้ดีกว่าและร้องไห้น้อยกว่า เพราะการอยู่ใกล้มารดาทารกจะรู้สึกอบอุ่นและปลอดภัยกว่า
- ก่อนการเกิดของทารก มารดาและทารกจะพัฒนาช่วงจังหวะของการนอนอย่างสัมพันธ์กัน ซึ่งหลังคลอด หากทารกได้อยู่ร่วมกันจังหวะการนอนของทารกจะสัมพันธ์กับมารดา ทำให้มารดาได้พักผ่อนไปพร้อมกับทารก โดยที่การแยกมารดาและทารกจะรบกวนกลไกนี้
- การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะทำได้ดีและต่อเนื่องนานกว่า1-4 ร่วมกับทารกน้ำหนักขึ้นเร็วกว่าด้วย
- การป้อนนมที่ตอบสนองต่อการแสดงออกของทารกจะทำได้ง่ายเมื่อทารกอยู่ใกล้ ซึ่งเป็นผลต่อกลไกออกซิโตซินให้การสร้างน้ำนมทำได้ดี
- การได้อยู่ร่วมกันตลอด 24 ชั่วโมง จะช่วยสร้างความมั่นใจให้แก่มารดาในการดูแลทารก
- มารดาจะมองเห็นทารกได้ดีและไม่วิตกกังวลว่าทารกที่ร้องที่ห้องอภิบาลทารกแรกเกิดเป็นลูกของตนเอง ทำให้ลดความวิตกกังวลที่จะมีผลต่อการสร้างน้ำนม
- ลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อในทารก โดยจะพบทารกที่อยู่กับมารดาจะมีการติดเชื้อน้อยกว่าทารกที่อยู่ในห้องอภิบาลทารกแรกเกิด
- ช่วยสนับสนุนสายสัมพันธ์ระหว่างมารดาและทารก แม้ว่าจะไม่ได้มีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
เอกสารอ้างอิง
- Declercq E, Labbok MH, Sakala C, O’Hara M. Hospital practices and women’s likelihood of fulfilling their intention to exclusively breastfeed. Am J Public Health 2009;99:929-35.
- Harillo-Acevedo D, Ramos-Morcillo AJ, Ruzafa-Martinez M. Factors associated with breastfeeding support from health care professionals by implementing a Clinical Practice Guideline. Birth 2019;46:146-56.
- Hawke BA, Dennison BA, Hisgen S. Improving Hospital Breastfeeding Policies in New York State: Development of the Model Hospital Breastfeeding Policy. Breastfeed Med 2012.
- Goodman K, DiFrisco E. Achieving baby-friendly designation: step-by-step. MCN Am J Matern Child Nurs 2012;37:146-52; quiz 52-4.
- Labbok MH. Global baby-friendly hospital initiative monitoring data: update and discussion. Breastfeed Med 2012;7:210-22.
- Venancio SI, Saldiva SR, Escuder MM, Giugliani ER. The Baby-Friendly Hospital Initiative shows positive effects on breastfeeding indicators in Brazil. J Epidemiol Community Health 2012;66:914-8.