คลังเก็บป้ายกำกับ: ทารกน้ำหนักตัวน้อยเสี่ยงต่อการเริ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ช้า

ทารกน้ำหนักตัวน้อยเสี่ยงต่อการเริ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ช้า

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

                  ทารกน้ำหนักตัวน้อยอาจเกิดจากภาวะแทรกซ้อนในระหว่างการตั้งครรภ์ ซึ่งทารกจะมีความเสี่ยงที่จะมีภาวะน้ำตาลต่ำหลังคลอดได้สูง มีโอกาสที่ต้องได้รับการดูแลที่จำเพาะหรือต้องย้ายไปอยู่ที่หอทารกป่วยวิกฤต ทำให้ต้องมีการแยกมารดาและทารกออกจากกัน การที่ทารกมีน้ำหนักตัวน้อยจะมีความยากลำบากในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่1 โดยจะมีผลลบต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หากทารกมีน้ำหนักตัวแรกคลอดน้อยกว่า 2500 กรัม2 แต่ก็มีปัจจัยทางด้านการปฏิบัติที่จะช่วยในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในทารกที่น้ำหนักตัวน้อย คือ การที่มารดาบีบหรือปั๊มนมให้ลูกภายใน 8 ชั่วโมงแรกหลังคลอด3 การเริ่มให้อาหารทางปากเร็ว4 การให้ทารกดูดจากเต้าหลังการปั๊มนมออก (non-nutritive sucking)5 และการโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อ6 ซึ่งหากบุคลากรส่งเสริมการปฏิบัติเหล่านี้ ก็จะเป็นการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และเพิ่มโอกาสที่จะให้ทารกที่มีน้ำหนักตัวน้อยได้กินนมแม่

เอกสารอ้างอิง

  1. Lee TY, Lee TT, Kuo SC. The experiences of mothers in breastfeeding their very low birth weight infants. J Adv Nurs 2009;65:2523-31.
  2. Chaves RG, Lamounier JA, Cesar CC. Factors associated with duration of breastfeeding. J Pediatr (Rio J) 2007;83:241-6.
  3. Parker MG, Melvin P, Graham DA, et al. Timing of First Milk Expression to Maximize Breastfeeding Continuation Among Mothers of Very Low-Birth-Weight Infants. Obstet Gynecol 2019;133:1208-15.
  4. Mamemoto K, Kubota M, Nagai A, et al. Factors associated with exclusive breastfeeding in low birth weight infants at NICU discharge and the start of complementary feeding. Asia Pac J Clin Nutr 2013;22:270-5.
  5. Pimenta HP, Moreira ME, Rocha AD, Gomes Jr SC, Pinto LW, Lucena SL. Effects of non-nutritive sucking and oral stimulation on breastfeeding rates for preterm, low birth weight infants: a randomized clinical trial. J Pediatr (Rio J) 2008;84:423-7.
  6. Almeida H, Venancio SI, Sanches MT, Onuki D. The impact of kangaroo care on exclusive breastfeeding in low birth weight newborns. J Pediatr (Rio J) 2010;86:250-3.