คลังเก็บป้ายกำกับ: ทารกคลอดก่อนกำหนดกินนมอะไรดี

ทารกคลอดก่อนกำหนดจะกินนมแม่สำเร็จ อะไรเป็นตัวตัดสิน?

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ปัญหาหรืออุปสรรคที่พบในทารกที่คลอดก่อนกำหนดที่บุคลากรทางการแพทย์ต้องเผชิญในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีหลายอย่าง ได้แก่

ปัจจัยด้านทารกในเรื่องอายุครรภ์ที่ยังไม่ครบกำหนด อาจทำให้พัฒนาการของการดูดนมแม่จากเต้าขาดความพร้อม และภาวะแทรกซ้อนที่มีจากการคลอดก่อนกำหนด เช่น การหายใจเร็ว ภาวะน้ำตาลต่ำ ภาวะตัวเย็น

ปัจจัยด้านบุคลากรทางการแพทย์ที่ขาดความรู้และทักษะในการให้การดูแลทารกคลอดก่อนกำหนดให้ประสบความสำเร็จในการกินนมแม่จากเต้า และกระบวนการในการดูแลรักษาที่ไม่เอื้อต่อการสนับสนุนให้ลูกได้กินนมแม่จากเต้า เช่น การแยกแม่จากลูกโดยไม่กระตุ้นให้มารดามาเยี่ยมลูก ให้มารดามีการโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อและเตรียมความพร้อมสำหรับการให้นม

ปัจจัยด้านเครื่องมือและสถานที่ บุคลากรทางการแพทย์อาจมีความวิตกกังวลว่าทารกอาจตัวเย็นหรือมีความผิดปกติในขณะที่นำมาโอบกอดเนื้อแนบเนื้อหรือให้นมแม่ โดยการขาดเครื่องมือที่จะประเมินติดตามทารกอย่างเพียงพอจึงทำให้บุคลากรขาดความมั่นใจในการให้การสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

? ? ? ? ? ? ? ?มีการศึกษาถึงว่าอะไรเป็นตัวตัดสินของทารกที่คลอดก่อนกำหนดจะประสบความสำเร็จในการกินนมแม่จากเต้า พบว่า อายุครรภ์ซึ่งบ่งบอกถึงพัฒนาการต่าง ๆ ที่จะมีความพร้อมในการกินนมแม่ และการให้ทารกได้กินนมแม่จากเต้าตั้งแต่ในครั้งแรกที่เริ่มให้นม1 ซึ่งหากมองดูทั้งสองปัจจัยนี้ ปัจจัยเรื่องอายุครรภ์ที่คลอดออกมาก่อนกำหนด อาจเป็นเรื่องที่ยากในการที่จะลดการคลอดก่อนกำหนดลง แต่การให้โอกาสหรือสนับสนุนให้ทารกได้พยายามดูดนมแม่ตั้งแต่ในครั้งแรกของการเริ่มให้นมนี้อาจทำได้ง่ายกว่า หากมารดาเห็นความสำคัญของการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และจัดระบบการดูแลให้เอื้อต่อการเริ่มต้นการกินนมของทารกควรเริ่มจากการให้ทารกกินนมจากเต้า ซึ่งถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญในการช่วยให้อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในทารกที่คลอดก่อนกำหนดสูงขึ้นได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Casey L, Fucile S, Dow KE. Determinants of Successful Direct Breastfeeding at Hospital Discharge in High-Risk Premature Infants. Breastfeed Med 2018.

?

ปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในทารกคลอดก่อนกำหนด

PICT0031

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? ทารกที่คลอดก่อนกำหนดมากๆ จะมีความยากในการเลี้ยงลูกโดยนมแม่เนื่องจากการพัฒนาของเต้านมในการสร้างน้ำนมยังเจริญไม่เต็มที่และทารกที่คลอดก่อนกำหนดจะยังมีกลไกในการดูดนมแม่ได้ไม่ดี แต่โชคดีที่ส่วนใหญ่จะมีการพัฒนาการสร้างน้ำนมเร็วขึ้นชดเชยในกรณีมีการคลอดก่อนกำหนด ดังนั้นหลักสำคัญที่ใช้ยังจำเป็นต้องให้การกระตุ้นดูดเร็ว บ่อยและดูดให้เกลี้ยงเต้า หากทารกยังดูดไม่ได้ดี การบีบนมหรือปั๊มนมให้ได้วันละ 8-12 ครั้ง และระบายนมให้เกลี้ยงเต้า จะช่วยให้การสร้างน้ำนมเพียงพอ โดยใช้วิธีนี้จนกระทั่งทารกสามารถดูดนมได้จากเต้านมเอง1

บุคลากรทางการแพทย์มีความรับผิดชอบในการบริหารจัดการการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ควรมีความรู้ที่ทันสมัยเกี่ยวกับกายวิภาคของเต้านม กลไกการสร้างน้ำนมและหลักการต่างในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ความเข้าใจในเรื่องการเข้าเต้าและการจัดท่าที่เหมาะสมจะช่วยลดปัญหาการบาดเจ็บของหัวนมและช่วยให้การระบายน้ำนมมีประสิทธิภาพ ความยืดหยุ่นในความถี่และระยะเวลาของการให้นมทารกโดยพิจารณาตามความต้องการของทารกซึ่งจะทำให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวมีอัตราสูงขึ้น

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Eglash A, Montgomery A, Wood J. Breastfeeding. Disease-a-Month 2008;54:343-411.