??????????????? รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ? ? การที่ทารกกัดหัวนมมักจะเกิดขณะที่เริ่มต้นการกินนมและขณะที่กินนมเสร็จแล้ว ซึ่งสาเหตุที่ทารกกัดหัวนมขณะที่เริ่มกินนมเกิดจากการที่มีการป้อนนมในช่วงที่ทารกไม่หิวหรือยังไม่ต้องการกินนม การแก้ไขควรให้นมทารกเมื่อทารกหิว ซึ่งมารดาต้องสังเกตอาการของทารกหิวได้และให้นมเมื่อทารกต้องการ กรณีที่ทารกกัดหัวนมเมื่อกินนมเสร็จแล้วเกิดจากการที่ทารกอิ่มและไม่ต้องการกินนมแล้ว การแก้ไขคือ มารดาจำเป็นต้องสังเกตอาการที่บ่งบอกว่าทารกอิ่ม โดยเมื่อทารกอิ่มแล้ว ต้องขยับทารกออกจากเต้านม จะเห็นว่าหลักการที่จะช่วยป้องกันการกัดหัวนมของทารกคือ การให้นมตามความต้องการของทารก ซึ่งจะทำให้ทารกไม่ประท้วงการกินนมโดยการกัดหัวนม ในกรณีที่ทารกกินหัวนมจนเป็นแผล ต้องระมัดระวังภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อ ได้แก่ เต้านมอักเสบและฝีที่เต้านมด้วย
? ? ? ? ? ? อย่างไรก็ตาม บางครั้งในกรณีที่เริ่มมีฟันขึ้น ทารกอาจจะหมั่นเขี้ยว ซึ่งทำให้ทารกกัดหัวนมได้เช่นเดียวกัน แต่หลักการในการดูแลทารกก็ยังใช้หลักการเดียวกัน คือ ?ให้ทารกกินตามความต้องการเมื่อทารกหิวและหยุดให้เมื่อทารกอิ่ม? ซึ่งจะแก้ไขปัญหาทารกกัดหัวนมได้
เอกสารอ้างอิง
- Bunik M. Breastfeeding telephone triage and advice. 2nd The American Academy of Pediatrics 2016.