รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
ในบทความต่าง ๆ ในเรื่องนมแม่มักมีการพูดถึง “ผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาเรื่องนมแม่” แล้วหากมีคำถามว่าใครคือ ผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาเรื่องนมแม่ คำตอบคือ บุคลากรทางการแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญและชำนาญการในการให้คำปรึกษาเรื่องนมแม่ ซึ่งหากอธิบายเพียงแค่นี้อาจจะเป็นคำตอบที่มองไม่เห็นภาพหรือนึกไม่ออกว่าบุคลากรคนไหนที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาเรื่องนมแม่แล้วจะพบผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาเรื่องนมแม่ได้ที่ไหนหรือขอคำปรึกษาได้อย่างไร อธิบายเพิ่มเติมได้ดังนี้ ผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาเรื่องนมแม่คือ บุคลากรทางการแพทย์ที่ผ่านการอบรมเฉพาะทางในด้านการดูแลมารดาให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่1 ซึ่งหลักสูตรนี้นอกจากจะมีหลักสูตรของสถาบันในประเทศแล้ว ยังมีหลักสูตรผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาเรื่องนมแม่นานาชาติ ซึ่งในประเทศไทยบุคลากรทางการแพทย์ที่ผ่านหลักสูตรนี้มีจำนวนน้อยมาก ดังนั้น หากมองบริบทของประเทศไทย ต้องอนุโลมโดยอาศัยสูติแพทย์และกุมารแพทย์เป็นผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาเรื่องนมแม่ ซึ่งความคาดหวังเหล่านี้ทำให้ต้องมีการอบรมเรื่องนมแม่ในเนื้อหาหลักสูตรการอบรมแพทย์เฉพาะทาง สำหรับในบางจังหวัดหรือบางพื้นที่ที่ขาดแพทย์เฉพาะทาง อาจจำเป็นต้องอนุโลมว่า แพทย์ผู้ตรวจรักษาทั่วไปเป็นผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาเรื่องนมแม่ ซึ่งในหลักสูตรการเรียนการสอนของนักศึกษาแพทย์ แพทยสภาได้เห็นความสำคัญโดยกำหนดเกณฑ์ความรู้เรื่องนมแม่ที่ต้องมีสำหรับนักศึกษาแพทย์ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเนื้อหาทางการแพทย์มีมากขึ้น ๆ ทุกที ทำให้เวลาที่จะศึกษาในแต่ละหัวข้อน้อยลง ๆ ทำให้แพทย์ยังขาดความมั่นใจในการให้คำปรึกษาเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ทำให้ในการปฏิบัติจริงแพทย์จำเป็นต้องไปอบรมเพิ่มเติมหากต้องทำหน้าที่ในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่1 ซึ่งการให้นมลูกบ่อย ๆ ตามความต้องการของทารกจะช่วยกระตุ้นให้น้ำนมของมารดามากขึ้น การให้นมแม่นั้นควรให้เมื่อทารกมีอาการบ่งบอกว่าหิว ไม่ควรกำหนดเวลาที่จะให้นมแก่ทารกกิน การแก้ปัญหาน้ำนมไม่เพียงพอโดยปฏิบัติตามข้อแนะนำเบื้องต้นนี้มักได้ผลในมารดาส่วนใหญ่ แต่ควรปฏิบัติตามคำแนะนำนี้ร่วมกับการไปปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาเรื่องนมแม่ด้วย เพื่อร่วมสังเกต ให้คำปรึกษาเฉพาะบุคคลร่วมกับการติดตามอาการอย่างเหมาะสม
เอกสารอ้างอิง
- Helpful Tips for Breastfeeding. Am Fam Physician 2018;98:Online.