รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ? ? ???ในปัจจุบัน ผู้หญิงมีบทบาทในสังคมมากขึ้น รวมทั้งทำหน้าที่ในการทำงานเพื่อหารายได้ให้แก่ครอบครัว การแต่งงานจึงเกิดขึ้นช้ากว่าในสมัยก่อน และการตั้งครรภ์แรกจึงเกิดเมื่อสตรีมีอายุมาก เป็นที่ทราบกันดีว่า การตั้งครรภ์ท้องแรกนั้นมารดายังไม่มีประสบการณ์ในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จึงถือเป็นอุปสรรคอย่างหนึ่ง เช่นเดียวกันกับการตั้งครรภ์เมื่อมารดาอายุมาก ความเสี่ยงต่างๆ ในระหว่างการตั้งครรภ์ก็สูงขึ้น โอกาสที่จะผ่าตัดคลอดก็สูงขึ้น และเมื่อเป็นเช่นนั้น การตั้งครรภ์ลูกคนแรกเมื่ออายุมากจึงเป็นอุปสรรคในการที่จะเริ่มต้นในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยมีการศึกษามารดาท้องแรกที่มีอายุมากกว่า 35 ปีเมื่อเทียบกับมารดาท้องหลังที่มีอายุน้อยกว่า 35 ปี พบว่า มีเริ่มต้นเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้น้อยกว่าถึงเกือบ 6 เท่า (Odd ratio 5.9, 95%CI 3.0-11.9)1 ก่อนมารดาได้รับอนุญาตให้กลับบ้าน ดังนั้น การให้การเอาใจใส่ต่อมารดากลุ่มนี้จึงมีความจำเป็นที่บุคลากรทางการแพทย์ต้องให้ความสนใจมากขึ้น
เอกสารอ้างอิง
- Kitano N, Nomura K, Kido M, et al. Combined effects of maternal age and parity on successful initiation of exclusive breastfeeding. Prev Med Rep 2016;3:121-6.