คลังเก็บป้ายกำกับ: ดัชนีมวลกายกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

ดัชนีมวลกายกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

01_991

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ?ดัชนีมวลกาย มีการศึกษาว่า สตรีที่มีดัชนีมวลกายก่อนการตั้งครรภ์สูงมีผลลบต่อระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่1 และในมารดาที่ดัชนีมวลกายต่ำกว่าเกณฑ์หรืออยู่ในเกณฑ์อ้วนยังมีอัตราการเริ่มเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่ำกว่าในมารดาที่มีดัชนีมวลกายปกติ2 ในมารดาที่มีภาวะอ้วนหรือมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นมากระหว่างการตั้งครรภ์ที่มีอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่ำกว่า อาจเนื่องจากส่วนหนึ่งมารดาเหล่านี้จะมีความเสี่ยงต่อการผ่าตัดคลอด ภาวะแทรกซ้อนระหว่างคลอดและการติดเชื้อหลังคลอดสูงกว่าด้วย3-5 ซึ่งการมีการผ่าตัดคลอดมารดาจะเริ่มให้นมลูกได้ช้ากว่า มีการเคลื่อนไหวหลังคลอดได้น้อยกว่าเนื่องจากในระหว่างการผ่าตัดคลอดมักได้รับยาระงับความรู้สึกเข้าไขสันหลัง แต่หากมีสามี ญาติหรือบุคลากรทางการแพทย์ที่ช่วยสนับสนุนอาจลดผลกระทบของการผ่าตัดคลอดต่อการเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมได้

หนังสืออ้างอิง

1.??????????? Zhu P, Hao J, Jiang X, Huang K, Tao F. New Insight into Onset of Lactation: Mediating the Negative Effect of Multiple Perinatal Biopsychosocial Stress on Breastfeeding Duration. Breastfeed Med 2012.

2.??????????? Thompson LA, Zhang S, Black E, et al. The Association of Maternal Pre-pregnancy Body Mass Index with Breastfeeding Initiation. Matern Child Health J 2012.

3.??????????? Al-Kubaisy W, Al-Rubaey M, Al-Naggar RA, Karim B, Mohd Noor NA. Maternal obesity and its relation with the cesarean section: a hospital based cross sectional study in Iraq. BMC Pregnancy Childbirth 2014;14:235.

4.??????????? Graham LE, Brunner Huber LR, Thompson ME, Ersek JL. Does amount of weight gain during pregnancy modify the association between obesity and cesarean section delivery? Birth 2014;41:93-9.

5.??????????? Leth RA, Uldbjerg N, Norgaard M, Moller JK, Thomsen RW. Obesity, diabetes, and the risk of infections diagnosed in hospital and post-discharge infections after cesarean section: a prospective cohort study. Acta Obstet Gynecol Scand 2011;90:501-9.