รศ.นพ. ภาวิน พัวพรพงษ์
??????????????? มีการศึกษาถึงการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาที่อ้วนที่คลอดบุตรที่มีน้ำหนักมาก พบว่า ในมารดากลุ่มนี้จะมีการเริ่มต้นและความตั้งใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่น้อยกว่ากลุ่มมารดาที่มีน้ำหนักปกติ1 ซึ่งเหตุผลในการที่มีการเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่น้อยกว่ามารดากลุ่มที่มีน้ำหนักปกติน่าจะเกิดจากมารดาที่อ้วนและคลอดบุตรที่มีน้ำหนักมากจะมีภาวะแทรกซ้อนระหว่างการคลอดและหลังคลอดได้มากกว่ากลุ่มมารดาและทารกที่มีน้ำหนักปกติ โดยภาวะแทรกซ้อนที่พบได้แก่ การคลอดยาก การคลอดที่ยาวนาน การใช้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก การผ่าตัดคลอด การใช้หัตถการในการทำคลอด การตกเลือดหลังคลอด ทารกติดไหล่ ทารกเกิดภาวะขาดออกซิเจนระหว่างการคลอด และทารกมีระดับน้ำตาลในกระแสเลือดต่ำ ทำให้มารดาหรือทารกอ่อนเพลีย บาดเจ็บ เสียเลือดหรืออยู่ในภาวะที่ไม่มีความพร้อมจะเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เมื่อไม่มีความพร้อมความตั้งใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จึงน้อยกว่าด้วย สิ่งนี้สื่อให้เห็นว่า ในการเตรียมตัวสำหรับการมีบุตรและการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ หากมารดาได้มีการวางแผน ควบคุมน้ำหนักให้ดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์ปกติ นอกจากจะทำให้โอกาสมีการตั้งครรภ์สูงขึ้นแล้ว ผลของการตั้งครรภ์และการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะดีกว่า ซึ่งจะทำให้ได้ทารกที่มีคุณภาพที่จะสร้างสรรค์สังคมที่ดีต่อไป
เอกสารอ้างอิง
- Cordero L, Oza-Frank R, Landon MB, Nankervis CA. Breastfeeding Initiation Among Macrosomic Infants Born to Obese Nondiabetic Mothers. Breastfeed Med 2015;10:239-45.