รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ? ? ? จากหลายการศึกษาที่พบว่าบุคลากรทางการแพทย์ขาดความรู้และความมั่นใจที่จะให้คำปรึกษามารดาและครอบครัวในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยเฉพาะในส่วนของแพทย์ แม้ว่าในเกณฑ์การประกอบวิชาชีพเวชกรรมของแพทยสภาในปี 2555 ได้กำหนดเป็นสิ่งที่ต้องรู้เมื่อจบเป็นแพทย์ แต่หลักสูตรของแต่ละสถาบันที่ผลิตแพทย์ที่มีการจัดการเรียนรู้หลากหลาย ยังขาดความชัดเจนในการประเมินสมรรถนะ (competency) ที่เป็นมาตรฐานขั้นต่ำที่แพทย์ที่จบมา ต้องปฏิบัติได้ เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว การขับเคลื่อนเพื่อกำหนดเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำในการเรียนรู้ของนิสิตนักศึกษาแพทย์จึงมีความจำเป็น ซึ่งการประเมินมาตรฐานคุณภาพการศึกษาของหลักสูตรอาจต้องใส่ใจและให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ สำหรับหลักสูตรของพยาบาล ความชัดเจนในการกำหนดเกณฑ์การเรียนรู้ในเรื่องนมแม่มีความชัดเจนมากกว่ารวมทั้งรูปแบบการประเมินความรู้และประสบการณ์ อย่างไรก็ตาม ความขาดแคลนพยาบาลที่มีประสบการณ์ในการทำงานมีจำนวนมาก ดังนั้น ในภาพรวมจึงเกิดการขาดความรู้และประสบการณ์ของบุคลากรทางการแพทย์ที่จะส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพราะการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ไม่ใช่แต่เพียงดูว่ามารดาเข้าเต้าให้นมลูกได้เท่านั้น แต่ยังต้องมีกระบวนการการดูแล ให้คำปรึกษาเพื่อช่วยมารดาแก้ไขปัญหาหรืออุปสรรคต่าง ๆ ในระหว่างการดูแลทารกและเลี้ยงลูกด้วยนมแม่1 ซึ่งแต่ละภาคส่วนที่มีบทบาทและเกี่ยวข้องกับส่วนนี้ ควรร่วมช่วยกันเพื่อสร้างระบบหรือกระบวนการให้บุคลากรทางการแพทย์มีความรู้และประสบการณ์ในการให้คำปรึกษาเรื่องนมแม่โดยที่มีจำนวนพอเพียงด้วย
เอกสารอ้างอิง
- Robinson BA, Hartrick Doane G. Beyond the latch: A new approach to breastfeeding. Nurse Educ Pract 2017;26:115-7.