เขียนโดย รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
ปัจจัยทางด้านจิตใจ ได้แก่
- ความตั้งใจที่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญโดยหากมารดามีความตั้งใจจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นาน พบว่าสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้นานกว่า1,2
- ทัศนคติของมารดาต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มีความสัมพันธ์กับการเลือกเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หรือเลี้ยงลูกด้วยนมผสมอย่างมีนัยสำคัญ3 จึงเป็นสิ่งที่ทำนายการเลือกการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่สำคัญ
- ความรู้สึกของมารดาที่สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ด้วยตนเอง เมื่อเปรียบเทียบระยะเวลาที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่พบว่ามารดาที่รู้สึกว่าสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ด้วยตนเองจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้นานกว่า1,2
- ความผูกพันและสัญชาติญาณความเป็นแม่ มีผลดีต่อระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในช่วงหนึ่งปีหลังคลอด4
- มารดารู้สึกเหนื่อย ในมารดาที่รู้สึกไม่สบายตัว เหนื่อย มีผลลบต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่5
- ความรู้สึกกังวลใจและไม่ปลอดภัยในการให้นมลูกในที่สาธารณะ มีผลลบต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่6
หนังสืออ้างอิง
1.???????????? Forster DA, McLachlan HL, Lumley J. Factors associated with breastfeeding at six months postpartum in a group of Australian women. Int Breastfeed J 2006;1:18.
2.???????????? Blyth RJ, Creedy DK, Dennis CL, et al. Breastfeeding duration in an Australian population: the influence of modifiable antenatal factors. J Hum Lact 2004;20:30-8.
3.???????????? Scott JA, Shaker I, Reid M. Parental attitudes toward breastfeeding: their association with feeding outcome at hospital discharge. Birth 2004;31:125-31.
4.???????????? Britton JR, Britton HL, Gronwaldt V. Breastfeeding, sensitivity, and attachment. Pediatrics 2006;118:e1436-43.
5.???????????? Dykes F, Moran VH, Burt S, Edwards J. Adolescent mothers and breastfeeding: experiences and support needs–an exploratory study. J Hum Lact 2003;19:391-401.
6.???????????? Scott JA, Mostyn T. Women’s experiences of breastfeeding in a bottle-feeding culture. J Hum Lact 2003;19:270-7.