รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ? ? ? ?ระหว่างที่แม่ให้นมลูกจะมีการหลั่งฮอร์โมนออกซิโทซินที่ช่วยกระตุ้นความรักความผูกพันระหว่างมารดาและทารก ความรักความผูกพันนี้จะช่วยกระตุ้นพัฒนาการของทารกได้1 โดยในระหว่างที่มารดาให้นมลูก การจ้องตา สบตาซึ่งกันและกัน การพูดจาหยอกล้อ หรือสัมผัสใด ๆ ที่ให้แก่ทารกล้วนเป็นส่วนหนึ่งที่กระตุ้นพัฒนาการของทารก ดังนั้น จึงถือว่า ความรักความผูกพันของแม่ก็มีส่วนช่วยในพัฒนาการของลูกด้วย อย่างไรก็ตาม ประโยชน์ในส่วนนี้ บางครั้งถูกมองข้าม จากการให้นมผงดัดแปลงสำหรับทารกโดยการนำนมใส่ขวดแล้วทิ้งให้ทารกดูดนมอย่างเดียวดาย หรือแม้ว่าจะให้นมแม่ แต่ปั๊มใส่ขวดให้ทารกโดยปราศจากปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ซึ่งในยุคสังคม เศรษฐกิจที่เร่งรีบ การติดโทรศัพท์มือถือของมารดา โดยให้ความสนใจมือถือมากกว่าทารก อาจมีผลต่อพัฒนาการของทารกได้ถึงแม้จะเป็นการให้นมแม่ก็ตาม
เอกสารอ้างอิง
- Ovtscharoff W, Jr., Braun K. Maternal separation and social isolation modulate the postnatal development of synaptic composition in the infralimbic cortex of Octodon degus. Neuroscience 2001;104:33-40.