ข้อแนะนำสำหรับคุณแม่ระหว่างการตั้งครรภ์ เดือนที่ 4
– เดือนที่สี่ ในคุณแม่ครรภ์หลังจะรู้สึกถึงการดิ้นของทารกได้ จะรู้สึกเหมือนการสะกิดหรือตอดบริเวณท้องน้อยด้านล่าง แต่อาการเหล่านี้จะยังไม่สม่ำเสมอ เพราะขนาดทารกยังเล็ก การรับรู้การเคลื่อนไหวของทารกในบางครั้งอาจไม่ชัดเจน ในคุณแม่ครรภ์แรกจะยังไม่รู้สึกถึงการดิ้นของทารกในครรภ์ เมื่อรู้สึกว่าทารกในครรภ์เริ่มดิ้นแนะนำให้คุณแม่จดวันที่ลูกดิ้นวันแรกไว้ด้วย เพราะจะช่วยในการกำหนดอายุครรภ์และดูแลครรภ์ ในระยะนี้คุณแม่จะเริ่มรับประทานอาหารได้ดีขึ้น ควรเลือกรับประทานผัก ผลไม้มากขึ้นเพื่อป้องกันอาการท้องผูก หลีกเลี่ยงอาหารหวาน
บทความโดย รศ.นายแพทย์ภาวิน พัวพรพงษ์
ข้อแนะนำสำหรับคุณแม่ระหว่างการตั้งครรภ์ เดือนที่ 3
– เดือนที่สาม ครรภ์จะเริ่มรู้สึกใหญ่ขึ้น อาจเริ่มคลำได้เหนือหัวหน่าวในปลายเดือนที่สาม น้ำหนักมักจะเริ่มเพิ่มขึ้นบ้างเล็กน้อย การรับประทานอาหารยังคงเหมือนในเดือนที่สอง การมีเพศสัมพันธ์สามารถมีได้ตามปกติควรติดตามการตรวจฝากครรภ์อย่างสม่ำเสมอโดยทั่วไปประมาณเดือนละหนึ่งครั้ง
บทความโดย รศ.นายแพทย์ภาวิน พัวพรพงษ์
ข้อแนะนำสำหรับคุณแม่ระหว่างการตั้งครรภ์ เดือนที่ 2
– เดือนที่สอง เมื่อทราบว่าตั้งครรภ์ ควรไปฝากครรภ์ทันทีเพื่อตรวจเลือดและปัสสาวะ รับความรู้เรื่องการดูแลครรภ์ และข้อควรระวังจากแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์? หากมีอาการแพ้ท้อง วิงเวียน คลื่นไส้อาเจียน การแบ่งมื้ออาหารให้มากขึ้น โดยเพิ่มอาหารว่างระหว่างมื้อ และก่อนนอน โดยรับประทานอาหารที่ย่อยและดูดซึมง่าย ได้แก่ น้ำหวาน น้ำผลไม้ หลีกเลี่ยงอาหารมัน ลดปริมาณอาหารในแต่ละมื้อลง หากจำเป็นอาจขอยาแก้คลื่นไส้อาเจียนเพื่อเตรียมพร้อมในกรณีที่แพ้ท้องมาก ระยะนี้มารดาจะปัสสาวะบ่อย แนะนำให้ไม่ควรกลั้นปัสสาวะเพราะจะทำให้เกิดกระเพาะปัสสาวะหรือกรวยไตอักเสบได้
บทความโดย รศ.นายแพทย์ภาวิน พัวพรพงษ์
ข้อแนะนำสำหรับคุณแม่ระหว่างการตั้งครรภ์ เดือนที่ 1
– เดือนที่หนึ่ง ก่อนอื่นต้องการให้คุณแม่วางแผนสำหรับการตั้งครรภ์ทั้งครอบครัว งดการคุมกำเนิด พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ พยายามไม่เครียด ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานยาต่างๆ และการเอกซเรย์ เมื่อปฏิบัติได้ดังกล่าวแล้ว ประจำเดือนขาด ควรตรวจปัสสาวะเพื่อทดสอบเรื่องการตั้งครรภ์
บทความโดย รศ.นายแพทย์ภาวิน พัวพรพงษ์
แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)