
ข้อแนะนำสำหรับคุณแม่ระหว่างการตั้งครรภ์ เดือนที่ 9
– เดือนที่เก้า อาการจะคล้ายกับในเดือนที่แปด แต่เนื่องจากเป็นช่วงใกล้คลอด ควรเตรียมพร้อมสำหรับกระเป๋าที่ใส่ของใช้สำหรับลูกและของใช้ที่จำเป็นในการนอนโรงพยาบาล ศึกษาอาการต่างๆ ที่ต้องรีบไปโรงพยาบาล ได้แก่ อาการเจ็บครรภ์คลอดซึ่งมีการหดรัดตัวของมดลูกหรือท้องแข็งถี่มากกว่าหนึ่งครั้งในสิบนาทีและสม่ำเสมอ มีมูกเลือดออกจากช่องคลอด หรือมีน้ำเดินคือการมีน้ำใสไหลจากช่องคลอดโดยส่วนใหญ่มักมีปริมาณมากพอควรเหมือนปัสสาวะราด และมักมีออกมามากขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหว ไอ จาม หรือเบ่งปัสสาวะหรืออุจจาระ ควรเตรียมเบอร์โทรศัพท์โรงพยาบาลไว้ติดต่อในกรณีฉุกเฉินหรือไม่แน่ใจ
บทความโดย รศ.นายแพทย์ภาวิน พัวพรพงษ์

ข้อแนะนำสำหรับคุณแม่ระหว่างการตั้งครรภ์ เดือนที่ 8
– เดือนที่แปด มารดามักรู้สึกอึดอัด แน่นท้อง รับประทานอาหารได้ไม่มาก แต่หิวบ่อย การเคลื่อนไหวจะลำบากจากขนาดของครรภ์ที่ใหญ่ขึ้น ควรเคลื่อนไหวช้าๆ ไม่ควรนอนหงายเพราะน้ำหนักท้องจะกดทับตัวมารดาเอง มารดาช่วงนี้มักนอนไม่ค่อยหลับ เนื่องจากอาการเจ็บครรภ์เตือน การดิ้นของทารกในครรภ์ และการปัสสาวะที่บ่อยขึ้น
บทความโดย รศ.นายแพทย์ภาวิน พัวพรพงษ์

ข้อแนะนำสำหรับคุณแม่ระหว่างการตั้งครรภ์ เดือนที่ 7
– เดือนที่เจ็ด การรู้สึกการเคลื่อนไหวของทารกจะแรงขึ้น ระยะนี้ควรเริ่มนับการดิ้นของทารกในครรภ์ หากทารกในครรภ์ดิ้นน้อย ควรไปตรวจที่โรงพยาบาลเพื่อยืนยันสุขภาพทารกในครรภ์ ริ่มนับการดิ้นของทารกในครรภ์ หากทารกในครรภ์ดิ้นน้อย ควราวะราด และมักมีออกมามากขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหว ไอ จาม หรือเบ่งปัสสาวะหรอาจมีการหดรัดตัวของมดลูกบางครั้งซึ่งมารดาอาจรู้สึกปวดเกร็งท้อง อาจปวดร้าวไปด้านหลัง บริเวณก้น รู้สึกท้องแข็ง อาจมีอาการบวมที่ขาและเท้า? อาจปวดหรือชาบริเวณมือ
บทความโดย รศ.นายแพทย์ภาวิน พัวพรพงษ์

ข้อแนะนำสำหรับคุณแม่ระหว่างการตั้งครรภ์ เดือนที่ 6
– เดือนที่หก หน้าท้องของมารดาจะขยายมากขึ้นสูงกว่าระดับสะดือทำให้สังเกตการณ์ตั้งครรภ์ได้ง่ายขึ้น ผิวที่หน้าท้องจะสีเข้มขึ้น อาจจะพบเส้นกลางลำตัวสีคล้ำขึ้นและเป็นแนวยาวจากลิ้นปี่ไปถึงหัวหน่าว ผิวที่หน้าท้องอาจพบมีผิวแตกลายได้ ในระยะนี้มารดาอาจรู้สึกอึดอัด ขี้ร้อน เหงื่อออกง่าย? ควรใส่เสื้อผ้าหลวมๆ โปร่งสบาย ระบายอากาศได้ดี การรู้การดิ้นของทารกในครรภ์จะแรงขึ้นและบ่อยครั้งขึ้น การกระตุ้นพัฒนาการในครรภ์ อาจตั้งชื่อเล่นของลูกเพื่อทักทายหรือพูดคุยกับลูกในครรภ์เนื่องจากทารกเริ่มมีการพัฒนาในการได้ยินตั้งแต่อยู่ในครรภ์
บทความโดย รศ.นายแพทย์ภาวิน พัวพรพงษ์

ข้อแนะนำสำหรับคุณแม่ระหว่างการตั้งครรภ์ เดือนที่ 5
– เดือนที่ห้า ในคุณแม่ครรภ์แรกจะเริ่มรู้สึกถึงการดิ้นของทารกในครรภ์ได้ แต่มักไม่ค่อยแน่ใจ การดิ้นของทารกจะรู้สึกชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ การบริหารร่างกายของสตรีตั้งครรภ์สามารถบริหารร่างกายได้โดยการออกกำลังกาย การเดิน การแกว่งแขน การนอนยกเท้าบริหารกล้ามเนื้อต้นขาและอุ้งเชิงกราน สำหรับการรับประทานอาหารมารดาจะรู้สึกอยากอาหารมากขึ้น น้ำหนักไม่ควรขึ้นเกินเดือนละสองกิโลกรัม
บทความโดย รศ.นายแพทย์ภาวิน พัวพรพงษ์
แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)