คลังเก็บป้ายกำกับ: ข้อควรรู้ในการให้ยาระงับความรู้สึกในมารดาที่ให้นมลูก

ข้อควรรู้ในการให้ยาระงับความรู้สึกในมารดาที่ให้นมลูก

IMG_0797

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ?หากมารดาจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดและต้องให้ยาระงับความรู้สึก มีข้อควรรู้สำหรับการให้ยาระงับความรู้สึกในมารดาที่ให้นมลูก ดังนี้

? ? ? ? ? –การแจ้งให้วิสัญญีแพทย์หรือพยาบาลทราบว่า ขณะนี้มารดาให้นมบุตรอยู่เป็นความจำเป็นอย่างหนึ่งที่ควรปฏิบัติ เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์ทราบ และวางแผนที่จะเลือกวิธีและยาระงับความรู้สึกให้มารดาอย่างเหมาะสม ร่วมกับการขอคำแนะนำว่า มารดาสามารถจะเริ่มให้นมแม่ได้เมื่อไร และสิ่งใดเป็นข้อควรระวังในการให้นมแม่หลังการให้ยาระงับความรู้สึก

? ? ? ? ?-หากเลือกได้ ควรให้ยาระงับความรู้สึกเฉพาะที่มากกว่าการให้ยาดมสลบ

? ? ? ? ? -มารดาที่จำเป็นต้องดมยาสลบ แก๊สที่ใช้ในระหว่างการดมยาสลบจะผ่านเข้ากระแสเลือดในช่วงสั้นๆ ดังนั้นจะมีปริมาณต่ำในน้ำนม มารดาจึงสามารถให้นมลูกได้อย่างปลอดภัยหลังการผ่าตัดเมื่อมารดาฟื้นตัวดี

? ? ? ? ? -การแยกมารดาและทารก อาจไม่จำเป็นต้องแยกจากกันนาน โดยหลังผ่าตัด หากมารดารู้สึกตัวดี มารดาสามารถให้นมลูกได้ในทารกปกติ แต่มีข้อควรระมัดระวังในกรณีที่มีความเสี่ยงในการหยุดหายใจ หายใจไม่สม่ำเสมอ หรือทารกคลอดก่อนกำหนด

? ? ? ? ?ในกรณีที่มารดาได้รับยาร่วมกันหลายอย่างระหว่างการดมสลบ อาจมีความวิตกว่ายาอาจจะผ่านน้ำนมไปที่ทารก การบีบน้ำนมด้วยมือหรือปั๊มนมออกเพียงครั้งเดียว ส่วนใหญ่จะกำจัดยาที่มารดาได้รับระหว่างดมยาสลบได้ เนื่องจากวิสัญญีแพทย์มักเลือกยาที่ออกฤทธิ์สั้น ดังนั้น มารดาควรสามารถคลายความวิตกกังวลเรื่องยาที่ทารกอาจได้รับจากน้ำนมของมารดาที่ได้รับยาดมสลบและให้นมแม่ได้อย่างมั่นใจ

เอกสารอ้างอิง

  1. Bunik M. Breastfeeding telephone triage and advice. 2nd?ed. The American Academy of Pediatrics 2016.