คลังเก็บป้ายกำกับ: การให้อาหารทารกเพิ่มจากนมแม่หลังหกเดือน

การให้อาหารทารกเพิ่มจากนมแม่หลังหกเดือน

images3

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

????????? การให้อาหารทารกเพิ่มจากนมแม่หลังหกเดือนมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทารกได้รับสารอาหารเพิ่มขึ้นเพียงพอกับการเจริญเติบโตของทารก ให้ทารกได้ฝึกการกินอาหารกึ่งแข็งกึ่งเหลว (semisolid food) เพื่อปรับตัวในการกินอาหารจนกระทั่งสามารถกินอาหารได้เหมือนผู้ใหญ่โดยมีสุขลักษณะนิสัยในการกินที่เหมาะสม

เมื่อทารกอายุหกเดือนจะมีความพร้อมของร่างกาย การทำงานของกล้ามเนื้อและระบบประสาท โดยทารกจะใช้ลิ้นช่วยในการกลืนอาหารได้ มีการเพิ่มการสร้างน้ำย่อยอะไมเลส (amylase) ที่ใช้ย่อยอาหารจำพวกแป้งและไลเปส (lipase) ที่ใช้ย่อยอาหารจำพวกไขมันจากตับอ่อน มีการเพิ่มการสร้างกรดในกระเพาะอาหาร และเพิ่มการสร้างเปปซิน (pepsin) ที่ใช้ในย่อยอาหารจำพวกโปรตีนจากกระเพาะอาหาร ซึ่งทำให้การย่อยและการดูดซึมทำได้ดี ซึ่งในทารกที่อายุน้อยจะมีข้อจำกัดในการทำงานของตับอ่อน1 ขณะเดียวกันทารกจะมีความพร้อมในด้านการกำจัดของเสียออกจากร่างกาย โดยการทำงานของไตจะกำจัดยูเรีย ฟอสฟอรัส และโซเดียมออกทางปัสสาวะได้ดีขึ้น ซึ่งปริมาณของเสียเหล่านี้จะสูงในกรณีที่กินอาหารประเภทโปรตีนในปริมาณที่มาก

ลักษณะของอาหารที่เริ่มให้กับทารกหลังหกเดือน เมื่อทารกเติบโตขึ้นความต้องการพลังงานจะสูงขึ้น ซึ่งมีความจำเป็นต้องได้พลังงานเพิ่มเติมจากอาหารที่เพิ่มให้ อาหารที่จะให้แก่ทารกควรมีความหลากหลาย โดยลักษณะของอาหารในระยะแรกจะเป็นอาหารที่บดละเอียด แล้วปรับเป็นบดหยาบขึ้นเพื่อให้ทารกได้คุ้ยเคยและปรับตัวกับลักษณะของอาหารจนลักษณะอาหารเหมือนวัยผู้ใหญ่ ไม่จำเป็นต้องปั่นอาหารเพราะทารกจะไม่ได้ฝึกปรับตัวกับการย่อยอาหาร จำนวนมื้อของอาหารจะเริ่มให้ 1-2 มื้อเมื่อทารกอายุ 6-8 เดือน เพิ่มเป็น 2-3 มื้อเมื่ออายุ 9-11 เดือน และเป็น 3 มื้อเมื่ออายุ 1 ปีขึ้นไป อย่างไรก็ตาม มีการศึกษาถึงความรู้ของมารดาเกี่ยวกับอาหารที่เพิ่มให้กับทารก พบว่ามารดามีความรู้และความเข้าใจในเรื่องการให้ชนิดและคุณค่าของอาหารที่จะเพิ่มให้กับทารกแตกต่างจากที่นักโภชนาการแนะนำ2,3 และรสชาติของอาหารที่เสริมให้กับทารกยังมีบทบาทต่อการยอมรับของทารกด้วย4 ดังนั้นการให้ความรู้ความเข้าใจกับมารดาในการเริ่มให้อาหารเพิ่มกับทารกพร้อมตัวอย่างที่ชัดเจนและมีทางเลือกที่หลากหลายมีความจำเป็น5 สำหรับการติดตามการเจริญเติบโตของทารกยังคงใช้น้ำหนักและส่วนสูงที่เพิ่มเทียบกับกราฟมาตรฐานการเจริญเติบโตของทารก ข้อมูลที่จำเพาะในแต่ละพื้นที่ควรมีการนำเสนอให้กับมารดาทราบ ได้แก่ ในพื้นที่ที่มีการขาดไอโอดีน ควรมีการเสริมไอโอดีนในอาหารหรือน้ำให้เพียงพอ เนื่องจากไอโอดีนมีความจำเป็นในพัฒนาของระบบประสาทส่วนกลาง6 ในพื้นที่ที่มีภาวะขาดธาตุเหล็ก7-9 อาจพิจารณาให้อาหารที่มีธาตุเหล็กเพิ่มขึ้น ได้แก่ เนื้อสัตว์10,11 ตับ เลือดและไข่แดง หรือผสมธาตุเหล็กในน้ำที่ใช้ทำอาหารสำหรับทารก12 ในพื้นที่ที่มีการขาดธาตุสังกะสีควรเริ่มอาหารเสริมที่มีเนื้อสัตว์ตั้งแต่เริ่มแรก13,14 และในพื้นที่ที่มีภาวะขาดวิตามินเอ อาจให้ตับ ไข่ แดง ฟักทอง แครอท มะละกอสุกเพิ่มขึ้น ในบางพื้นที่พบว่า ความหลากหลายของอาหารที่ให้ยังไม่ครบถ้วน โดยมีการให้อาหารที่มีส่วนผสมของผักและเนื้อปลาน้อย15 และอาจมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนว่าการให้อาหารเสริมแก่ทารกก่อนทารกอายุ 4 เดือนจะมีประโยชน์ต่อการช่วยสร้างภูมิคุ้มกันและลดอาการภูมิแพ้16,17 ซึ่งข้อมูลจากการศึกษาในปัจจุบันยังไม่เพียงพอที่จะให้คำแนะนำสำหรับการเริ่มอาหารเสริมที่เร็วกว่า 4 เดือน นอกจากนี้ในกรณีที่มีการให้ของหวานหรือขนมหวานกับทารกในขวบแรกของชีวิตอาจสัมพันธ์กับการเร่งให้การเกิดเบาหวานชนิดที่ 1 เร็วขึ้น18 และการให้อาหารที่มีโปรตีนจากผลิตภัณฑ์จากนม เนยสูงกับทารกในขวบแรกอาจสัมพันธ์กับการมีดัชนีมวลกายสูงและมีสัดส่วนของไขมันในร่างกายสูงเมื่อเข้าสู่วัยเด็ก19

หนังสืออ้างอิง

  1. Roos N, Sorensen JC, Sorensen H, et al. Screening for anti-nutritional compounds in complementary foods and food aid products for infants and young children. Matern Child Nutr 2013;9 Suppl 1:47-71.
  2. Romulus-Nieuwelink JJ, Doak C, Albernaz E, Victora CG, Haisma H. Breast milk and complementary food intake in Brazilian infants according to socio-economic position. Int J Pediatr Obes 2011;6:e508-14.
  3. Rodriguez-Oliveros MG, Bisogni CA, Frongillo EA. Knowledge about food classification systems and value attributes provides insight for understanding complementary food choices in Mexican working mothers. Appetite 2014;83C:144-52.
  4. Schwartz C, Chabanet C, Lange C, Issanchou S, Nicklaus S. The role of taste in food acceptance at the beginning of complementary feeding. Physiol Behav 2011;104:646-52.
  5. Paul KH, Muti M, Khalfan SS, Humphrey JH, Caffarella R, Stoltzfus RJ. Beyond food insecurity: how context can improve complementary feeding interventions. Food Nutr Bull 2011;32:244-53.
  6. Alexy U, Drossard C, Kersting M, Remer T. Iodine intake in the youngest: impact of commercial complementary food. Eur J Clin Nutr 2009;63:1368-70.
  7. Wang YY, Chen CM, Wang FZ, Jia M, Wang KA. Effects of nutrient fortified complementary food supplements on anemia of infants and young children in poor rural of Gansu. Biomed Environ Sci 2009;22:194-200.
  8. Skau JK, Bunthang T, Chamnan C, et al. The use of linear programming to determine whether a formulated complementary food product can ensure adequate nutrients for 6- to 11-month-old Cambodian infants. Am J Clin Nutr 2014;99:130-8.
  9. van Rheenen PF, de Moor LT, Eschbach S, Brabin BJ. A cohort study of haemoglobin and zinc protoporphyrin levels in term Zambian infants: effects of iron stores at birth, complementary food and placental malaria. Eur J Clin Nutr 2008;62:1379-87.
  10. Hambidge KM, Sheng X, Mazariegos M, et al. Evaluation of meat as a first complementary food for breastfed infants: impact on iron intake. Nutr Rev 2011;69 Suppl 1:S57-63.
  11. Dube K, Schwartz J, Mueller MJ, Kalhoff H, Kersting M. Complementary food with low (8%) or high (12%) meat content as source of dietary iron: a double-blinded randomized controlled trial. Eur J Nutr 2010;49:11-8.
  12. Rim H, Kim S, Sim B, et al. Effect of iron fortification of nursery complementary food on iron status of infants in the DPRKorea. Asia Pac J Clin Nutr 2008;17:264-9.
  13. Krebs NF. Meat as an early complementary food for infants: implications for macro- and micronutrient intakes. Nestle Nutr Workshop Ser Pediatr Program 2007;60:221-9; discussion 9-33.
  14. Krebs NF, Westcott JE, Butler N, Robinson C, Bell M, Hambidge KM. Meat as a first complementary food for breastfed infants: feasibility and impact on zinc intake and status. J Pediatr Gastroenterol Nutr 2006;42:207-14.
  15. Mesch CM, Stimming M, Foterek K, et al. Food variety in commercial and homemade complementary meals for infants in Germany. Market survey and dietary practice. Appetite 2014;76:113-9.
  16. Grimshaw KE, Maskell J, Oliver EM, et al. Introduction of complementary foods and the relationship to food allergy. Pediatrics 2013;132:e1529-38.
  17. Heinrich J, Koletzko B, Koletzko S. Timing and diversity of complementary food introduction for prevention of allergic diseases. How early and how much? Expert Rev Clin Immunol 2014;10:701-4.
  18. Crume TL, Crandell J, Norris JM, et al. Timing of complementary food introduction and age at diagnosis of type 1 diabetes: the SEARCH nutrition ancillary study (SNAS). Eur J Clin Nutr 2014.
  19. Pearce J, Langley-Evans SC. The types of food introduced during complementary feeding and risk of childhood obesity: a systematic review. Int J Obes (Lond) 2013;37:477-85.