รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
เป็นที่ทราบกันดีว่า ประโยชน์ของการให้ลูกได้กินนมแม่จะช่วยเรื่องภูมิคุ้มกัน ซึ่งจะช่วยลดความเจ็บป่วยของทารกที่กินนมแม่ได้ มีการศึกษาติดตามทารกที่กินนมแม่กับความสัมพันธ์ในการลดความเจ็บป่วยของทารกเมื่อทารกเจริญเติบโตเข้าวัยเด็กพบว่า ในทารกที่กินนมแม่จะมีการท้องเสียและการเป็นหวัดน้อยกว่าทารกที่ไม่ได้กินนมแม่1 จากข้อมูลนี้น่าจะบอกถึงผลดีของการกินนมแม่ที่มีต่อเนื่องไม่ใช่แต่เพียงขณะที่ทารกได้รับนมแม่ ยังมีผลระยะยาวในการช่วยเรื่องภูมิคุ้มกันที่ดีที่จะช่วยให้ทารกเจ็บป่วยได้น้อยกว่า เมื่อทารกมีความเจ็บป่วยน้อยกว่าก็จะลดความวิตกกังวลของบิดามารดาเรื่องความเจ็บป่วยของลูก ลดค่าใช้จ่ายที่จะต้องเสียเมื่อทารกต้องมารับการรักษาพยาบาล และยังมีผลกระทบต่อหน้าที่การทำงานของบิดามารดา หากต้องมีการหยุดงานเพื่อพาทารกไปรักษาพยาบาล ดังนั้น การวางพื้นฐานสร้างภูมิคุ้มกันให้ทารกตั้งแต่แรกเกิดโดยการกินนมแม่จึงสร้างความคุ้มค่าในการลงทุนด้านสุขภาพที่เป็นผลประโยชน์ต่อในทารกทั้งในระยะสั้นและในระยะยาว
เอกสารอ้างอิง
- Li S, Yue A, Abbey C, Medina A, Shi Y. Breastfeeding and the Risk of Illness among Young Children in Rural China. Int J Environ Res Public Health 2019;16.
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
การฉีดวัคซีนในทารกแรกเกิดบางครั้งอาจทำให้มารดาเครียดหรือวิตกกังวลกับความเจ็บปวดของทารกได้ ยิ่งหากทารกร้องไห้ดังหรือร้องไห้ต่อเนื่องกันนาน คำถามคือมีความจำเป็นต้องให้หรือใช้ยาแก้ปวดสำหรับลดความเจ็บปวดจากการฉีดวัคซีนในทารกหรือไม่ หากมองเพียงแง่ลดความเจ็บปวดหรือในแง่ที่อาจจะช่วยลดความวิตกกังวลของมารดา การใช้ยาแก้ปวดอาจเป็นทางเลือกหนึ่งในการลดความเจ็บปวดของทารก อย่างไรก็ตาม มีการศึกษาที่พบว่า การให้ลูกกินนมแม่ก่อน ระหว่างหรือหลังจากการฉีดวัคซีนในทารกสามารถช่วยลดความเจ็บปวดจากการฉีดวัคซีนได้เช่นกัน ซึ่งเมื่อมีข้อมูลและหลักฐานเชิงประจักษ์ถึงประโยชน์ของการให้ลูกกินนมแม่เพื่อลดความเจ็บปวดแล้ว การให้ลูกกินนมแม่น่าจะเป็นหนทางแรกที่แนะนำสำหรับลดความเจ็บปวดจากการฉีดวัคซีนในทารกก่อนที่จะเลือกใช้วิธีอื่น ๆ หรือการใช้ยาแก้ปวด เนื่องจากการให้ลูกกินนมแม่นั้นไม่เหมือนกับการใช้ยาที่อาจมีอาการข้างเคียงหรือภาวะแทรกซ้อน ความรู้นี้จึงควรมีการส่งเสริมหรือได้รับการต่อยอดให้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ คือ “ให้ลูกกินนมแม่เพื่อลดความเจ็บปวดของทารกจากการฉีดวัคซีน”1
เอกสารอ้างอิง
- Suleiman N, Shamsuddin SH, Mohd Rus R, Drahman S, Taib M. The Relevancy of paracetamol and Breastfeeding Post Infant Vaccination: A Systematic Review. Pharmacy (Basel) 2018;6.
??????????????? รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ? ? ? ?เป็นที่ทราบกันดีว่า ขณะที่ทารกดูดนมแม่ ทารกจะรู้สึกอบอุ่น สงบ และปลอดภัยในอ้อมอกของมารดา เมื่อทารกต้องได้รับการฉีดวัคซีนหรือเจาะเลือด หากทารกกินนมแม่จะช่วยลดความรู้สึกเจ็บปวดระหว่างการฉีดวัคซีนหรือทำหัตถการได้ โดยมีการศึกษาเปรียบเทียบกลุ่มทารกที่กินนมแม่กับกลุ่มควบคุม เมื่อทำการฉีดวัคซีน พบว่า ทารกที่กินนมแม่มีระยะเวลาที่ร้องไห้สั้นกว่า อัตราการเพิ่มขึ้นของการเต้นของหัวใจของทารกน้อยกว่า คะแนนความเจ็บปวดจากการทำหัตถการน้อยกว่า และการลดลงของค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในกระแสเลือดลดลงน้อยกว่า ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ แสดงถึง การให้ลูกกินนมแม่ช่วยลดความเจ็บปวดของลูกขณะทำหัตถการลงได้1 อย่างไรก็ตาม การเลือกนำมาปฏิบัติใช้ ควรมีการเตรียมความพร้อมของมารดาระหว่างการทำหัตถการด้วย ควรเลือกปฏิบัติเฉพาะมารดาที่มีความพร้อม เพราะบางครั้งมารดาบางคนกลัวเข็มหรือกลัวเลือด เมื่อฉีดวัคซีนหรือเจาะเลือดลูก มารดาอาจเป็นลม ซึ่งอาจทำให้เกิดสภาพการณ์ที่ต้องการการดูแลทั้งมารดาและทารกก็เป็นได้
เอกสารอ้างอิง
- Erkul M, Efe E. Efficacy of Breastfeeding on Babies’ Pain During Vaccinations. Breastfeed Med 2017.
แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)