รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ? ? ? ? การใช้เคมีบำบัดร่วมรักษาในมารดาที่เป็นมะเร็งเต้านม เคมีบำบัดที่ใช้ในการรักษามะเร็งเต้านม ได้แก่ doxorubicin, cyclophosphamide, methotrexate, fluorouracil, docetaxel, paclitaxel, melphalan, vinorelbine และ vincristine ซึ่งส่วนใหญ่เป็นยาที่เป็นอันตรายแก่ทารก แนะนำว่าควรหลีกเลี่ยงการให้นมแม่ระหว่างการได้รับยาเคมีบำบัด
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
????????? การรักษามะเร็งเต้านมด้วยรังสีรักษาจะเป็นการร่วมรักษากับวิธีอื่น ในการรักษามะเร็งเต้านมโดยทั่วไปจะฉายรังสีขนาด 45-50 Gy? 25 fraction ใน 5 สัปดาห์ การฉายแสงนั้นจะมีผลต่อเต้านม โดยในระยะแรกจะเกิดการไหม้ของผิวหนัง ในระยะต่อมา เซลล์ที่ต่อมน้ำนมจะถูกทำลาย1 และแทนที่ด้วยพังผืด (fibrosis) ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงไปตามระยะเวลา2 ดังนั้นในระหว่างการฉายแสงจะมีผลต่อการสร้างน้ำนม ทำให้มารดาระหว่างได้รับรังสีรักษาไม่สามารถให้นมลูกได้ จึงเป็นข้อจำกัดในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
หนังสืออ้างอิง
Cathers LE, Gould MN. Human mammary cell survival following ionizing radiation. Int J Radiat Biol Relat Stud Phys Chem Med 1983;44:1-16.
Bourgeois JF, Gourgou S, Kramar A, Lagarde JM, Gall Y, Guillot B. Radiation-induced skin fibrosis after treatment of breast cancer: profilometric analysis. Skin Res Technol 2003;9:39-42.
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ? ? ?? หากมารดาที่เป็นมะเร็งเต้านมได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดอย่างเดียว ในเต้านมอีกข้างมารดาจะสามารถให้นมแม่ได้ แต่การเลือกที่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จำเป็นต้องมีการวางแผน ซึ่งหากสามารถทำการกระตุ้นให้มีน้ำนมมาก่อนถึงช่วงเวลาผ่าตัด การกระตุ้นน้ำนมต่อหลังการผ่าตัดจะทำได้ง่ายกว่า แต่หากการผ่าตัดเต้านมเกิดหลังคลอดทันที มารดาขาดการกระตุ้นเต้านมโดยการดูดนมของทารกหรือการปั๊มนมหรือยังไม่มีน้ำนมมา การกระตุ้นให้น้ำนมมาจะทำได้ยากและใช้เวลามากกว่า
เรื่องนำทาง
แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)