คลังเก็บป้ายกำกับ: การให้ทารกปากแหว่ง เพดานโหว่ ดูดนมจากเต้าทำได้หรือไม่

การให้ทารกปากแหว่ง เพดานโหว่ ดูดนมจากเต้าทำได้หรือไม่

cleft lip cleft palate1

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ?ทารกที่ปากแหว่ง เพดานโหว่ สาเหตุอาจเกิดจากความผิดปกติจากพันธุกรรมหรือจากสภาวะแวดล้อมที่เป็นผลเสียต่อการเจริญเติบโตในส่วนโครงสร้างของใบหน้า ทำให้เกิดการไม่เชื่อมต่อกันของผิวหนัง เนื้อเยื่อ และกระดูกบริเวณปาก และเพดานในปากด้านบน โดยทั่วไปจะพบความผิดปกติของทารกที่มีปากแหว่งอย่างเดียวร้อยละ 20 ทารกที่มีเพดาโหว่อย่างเดียวร้อยละ 30 และทารกที่มีปากแหว่งและเพดาโหว่ร้อยละ 50

? ? ? ? ? ? ?ทารกที่มีปากแหว่งอย่างเดียว หากสามารถประกบปากเข้ากับเต้านม และส่วนของเนื้อเต้านมแนบสนิทกับปากทารก ทารกจะสามารถสร้างแรงดูดนม และสามารถดูดนมจากเต้าได้ แต่ในทารกที่มีเพดานโหว่ การสร้างแรงดูดนมอาจทำได้ไม่ดี จำเป็นต้องใช้เครื่องมือต่างๆ ในการช่วยป้อนนมแม่ให้กับทารก โดยอาจใช้หลอดฉีดยา ช้อน หรือการป้อนด้วยถ้วย และจัดท่าให้ทารกอยู่ในลักษณะที่นั่งตัวตรง จะช่วยป้องกันการสำลักของทารกได้ การใช้แผ่นพลาสติกที่ออกแบบมาเพื่อปิดเพดานโหว่ (palate obturator) ก็ช่วยในการกินนมของทารก การติดตามดูการเจริญเติบโตของทารกที่มีปากแหว่งเพดาโหว่มีความจำเป็น เนื่องจากทารกอาจดูดนมได้น้อยและอาจต้องการการป้อนนมเสริม ในทารกเหล่านี้ มารดาจำเป็นต้องมีการเตรียมตัวเพื่อการกระตุ้นการสร้างน้ำนมด้วยการบีบน้ำนมด้วยมือหรือการปั๊มนมด้วย

? ? ? ? ? ?สำหรับการผ่าตัดแก้ไข ส่วนใหญ่จะทำเมื่อทารกอายุ 1-2 ปี ซึ่งจะช่วยลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนเรื่อง การอักเสบของหู การได้ยิน การเจริญเติบโตของฟันที่ผิดปกติ และความล่าช้าในการออกเสียงหรือการใช้ภาษา ซึ่งหากมารดามีความเข้าใจและเห็นประโยชน์ของนมแม่ มารดาจะตั้งใจและประสบความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในทารกที่ปากแหว่งเพดานโหว่ได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Bunik M. Breastfeeding telephone triage and advice. 2nd?ed. The American Academy of Pediatrics 2016.