คลังเก็บป้ายกำกับ: การให้การวินิจฉัยสาเหตุของการเจ็บหัวนมหลังคลอด

การให้การวินิจฉัยสาเหตุของการเจ็บหัวนมหลังคลอด

images (5)

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? การสังเกตมองดูที่หัวนมและเต้านมอาจช่วยบอกสาเหตุของการเจ็บหัวนมได้ หากผิวหนังสีน้ำตาล สาเหตุเกิดจากการเข้าเต้าไม่ดี แต่หากผิวหนังสีแดง เป็นมัน คัน และผิวหนังลอก ซึ่งการเข้มขึ้นของผิวหนังจะไม่มี? สาเหตุเกิดจากการติดเชื้อรา Candida abicans ซึ่งบุคลากรทางการแพทย์ควรต้องระลึกไว้เสมอว่าการติดเชื้อราและการบาดเจ็บของเต้านมจากการเข้าเต้าที่ไม่ดีสามารถจะเกิดร่วมกันได้ และคล้ายคลึงกับส่วนอื่นๆ ของร่างกาย หัวนมและเต้านมอาจจะเกิดตุ่มคัน ผิวหนังอักเสบ หรือความผิดปกติของผิวหนังอื่นๆ ได้เช่นกัน

การสังเกตมารดาขณะให้นม ควรสังเกตการให้นมจนสิ้นสุดการให้นมโดยใช้แบบสังเกตการให้นมลูก (breastfeed observation aid) ตรวจสอบวิธีการเข้าเต้าของทารก การอ้าปากอมหัวนมและลานนมและการดูดนม สังเกตว่ามารดาหยุดให้นมทารกหรือทารกหยุดกินนมด้วยตนเอง และสังเกตลักษณะหัวนมว่าเป็นอย่างไรหลังจากสิ้นสุดการให้นม โดยหัวนมดูผิดรูปผิดร่างหรือถูกบีบ แดงหรือมีสีขาวเป็นเส้น ตรวจสอบในปากทารกว่ามีภาวะลิ้นติดหรือเชื้อราหรือไม่ สอบถามมารดาเกี่ยวกับประวัติของติดเชื้อรา และปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดเชื้อรา เช่น การใช้ยาฆ่าเชื้อ หากมารดามีการใช้เครื่องปั๊มนม ตรวจสอบว่าการใช้เครื่องประกบเข้าเต้าได้เหมาะสม และไม่ใช้แรงดูดสูงเกินไป

การตัดสินถึงสาเหตุของการเจ็บหัวนม ส่วนใหญ่สาเหตุที่พบบ่อยของการเจ็บหัวนม ได้แก่ การเข้าเต้าไม่ดี ซึ่งหากเป็นตามหลังการตึงคัดเต้านมอาจร่วมกับการเข้าเต้าไม่ดีด้วย แต่หากพบว่าทารกถูกดึงออกจากเต้านมเพื่อหยุดการให้นม โดยมารดาไม่มีการแยกเพื่อลดแรงดูดของทารกระหว่างปากกับเต้านม สาเหตุอาจเกิดจากทารกยังดูดดึงหัวนมอยู่ขณะแยกเพื่อหยุดการให้นม หากใช้เครื่องปั๊มนมอาจจะมีดึงหัวนมและเต้านมให้ยืดออกมากเกินไปจากแรงดูดที่ไม่เหมาะสมหรือมีการเสียดสีระหว่างเต้านมกับเครื่องปั๊มนมจากขนาดของเครื่องปั๊มที่ไม่พอเหมาะกับเต้านม หากพบเชื้อราในปากทารก เชื้อราอาจจะผ่านจากปากทารกไปที่หัวนมได้ และหากพบทารกมีภาวะลิ้นติด ทารกที่มีภาวะลิ้นติดจะยื่นลิ้นออกไปได้น้อย เหงือกด้านล่างจึงกดและเสียดสีกับเต้านมมากกว่า ทำให้เจ็บหัวนม1-3 ยังมีสาเหตุที่พบได้น้อยของการเกิดการเจ็บหัวนมอีกมาก เช่น การที่ทารกดูดหัวนมโดยใช้แรงดูดมากเกินไป4 การมีการติดเชื้อในท่อน้ำนม5 ซึ่งถ้าหากจำเป็นอาจต้องให้ผู้เชี่ยวชาญวินิจฉัย

หนังสืออ้างอิง

  1. Lalakea ML, Messner AH. Ankyloglossia: does it matter? Pediatric Clinics of North America 2003;50:381-97.
  2. Chaubal TV, Dixit MB. Ankyloglossia and its management. J Indian Soc Periodontol 2011;15:270-2.
  3. Srinivasan A, Dobrich C, Mitnick H, Feldman P. Ankyloglossia in breastfeeding infants: the effect of frenotomy on maternal nipple pain and latch. Breastfeed Med 2006;1:216-24.
  4. McClellan H, Geddes D, Kent J, Garbin C, Mitoulas L, Hartmann P. Infants of mothers with persistent nipple pain exert strong sucking vacuums. Acta Paediatr 2008;97:1205-9.
  5. Eglash A, Plane MB, Mundt M. History, physical and laboratory findings, and clinical outcomes of lactating women treated with antibiotics for chronic breast and/or nipple pain. J Hum Lact 2006;22:429-33.