คลังเก็บป้ายกำกับ: การใช้ยารักษาโรคแผลในกระเพาะอาหารระหว่างการให้นมบุตร

การใช้ยารักษาโรคแผลในกระเพาะอาหารระหว่างการให้นมบุตร

369482_9282221_0

 

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? ยารักษาโรคแผลในกระเพาะอาหารที่ใช้บ่อย ได้แก่ ยากลุ่ม antacid ส่วนประกอบของยากลุ่มนี้จะมี อลูมิเนียม แคลเซียม และแมกนีเซียม ซึ่งจะดูดซึมผ่านทางเดินอาหารได้น้อย alginic acid และ simethicone จะไม่ดูดซึมจากการรับประทาน จึงสามารถใช้ได้โดยปลอดภัย1 ยากลุ่ม H2 antagonist คือ ยา famotidine ยา ranitidine และยา cimetidine ?ขนาดยาของทารกสัมพัทธ์ของยา famotidine พบร้อยละ 1.92 ขนาดยาของทารกสัมพัทธ์ของยา ranitidine พบร้อยละ 1.3-4.63 และขนาดยาของทารกสัมพัทธ์ของยา cimetidine พบร้อยละ 9.8-32.6 ดังนั้น ควรเลือกใช้ยา famotidine หรือ ranitidine ก่อน สำหรับยาอีกกลุ่มที่ในการรักษาแผลในกระเพาะอาหาร ได้แก่ ยากลุ่ม proton-pump inhibitors (PPIs) คือ ยา omeprazole และยา pantoprazole ขนาดยาของทารกสัมพัทธ์ของยา omeprazole พบร้อยละ 1.14 และขนาดยาของทารกสัมพัทธ์ของยา pantoprazole พบร้อยละ 0.955 ดังนั้น ขนาดยาที่ผ่านไปสู่น้ำนมน้อย ร่วมกับยากลุ่มนี้จะไม่คงตัวในสภาวะเป็นกรด การดูดซึมในทารกน้อย จึงค่อนข้างปลอดภัยในการเลือกใช้ยานี้

??????????????? แนวทางการดูแลรักษา

??????????????? ในมารดาที่มีอาการแสบร้อนท้อง การใช้ยา antacid สามารถช่วยลดอาการนี้ได้6 ในกรณีที่มารดาสงสัยมีโรคแผลในกระเพาะอาหาร ซึ่งสาเหตุที่พบส่วนใหญ่เกิดจากการมีแบคทีเรีย H. pyroli และการใช้ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์เป็นระยะเวลานาน6 จำเป็นต้องมีการส่องกล้องตรวจเพื่อยืนยันการวินิจฉัย เนื่องจากการใช้ยารักษาจำเป็นต้องใช้ยาร่วมกันหลายชนิดและใช้นาน นอกจากนี้ การงดน้ำงดอาหารและความเครียดของมารดายังมีผลต่อโรค ควรเลือกงดน้ำงดอาหารมารดาเท่าที่จำเป็น สร้างความคุ้นเคย และเอาใจใส่ในดูแลมารดาอย่างต่อเนื่อง จะช่วยป้องกันและลดความเครียดให้กับมารดา การกำเริบของโรคของมารดาจะลดลง ร่วมกับการหลีกเลี่ยงการใช้ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์เป็นระยะเวลานาน

เอกสารอ้างอิง

  1. Lewis JH, Weingold AB. The use of gastrointestinal drugs during pregnancy and lactation. Am J Gastroenterol 1985;80:912-23.
  2. Anderson PO. Drug use during breast-feeding. Clin Pharm 1991;10:594-624.
  3. Kearns GL, McConnell RF, Jr., Trang JM, Kluza RB. Appearance of ranitidine in breast milk following multiple dosing. Clin Pharm 1985;4:322-4.
  4. Marshall JK, Thompson AB, Armstrong D. Omeprazole for refractory gastroesophageal reflux disease during pregnancy and lactation. Can J Gastroenterol 1998;12:225-7.
  5. Plante L, Ferron GM, Unruh M, Mayer PR. Excretion of pantoprazole in human breast. J Reprod Med 2004;49:825-7.
  6. Richter JE. Review article: the management of heartburn in pregnancy. Aliment Pharmacol Ther 2005;22:749-57.