รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
??????????? ภาวะเอสโตรเจนต่ำมีความสัมพันธ์กับการสูญเสียมวลกระดูก ภาวะกระดูกบางและภาวะกระดูกพรุน จากการตรวจมวลกระดูกพบว่ามีการสูญเสียแคลเซียมและแร่ธาตุของกระดูกระหว่างการให้นมบุตรและจะกลับเข้าภาวะปกติเมื่อหยุดให้นม1 ปัจจัยที่มีผลต่อเมตาบอริซึมของกระดูกในสภาวะนี้มีหลายอย่าง ได้แก่ น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ สัดส่วนของสารประกอบในร่างกาย (body composition) รูปแบบกิจกรรมทางกายภาพ การสูบบุหรี่ การใช้ยา ความผิดปกติในการกินอาหาร และการคุมกำเนิด
??????????? ในมารดาที่ให้นมบุตร ทางเลือกของการคุมกำเนิดมักพิจารณาการคุมกำเนิดที่ไม่ใช้ฮอร์โมนก่อน ได้แก่ การใช้ถุงยางอนามัย การใส่ห่วงอนามัย การทำหมันรวมถึงการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหากปฏิบัติได้อย่างเหมาะสมจะช่วยในการคุมกำเนิดได้ในหกเดือนแรก สำหรับทางเลือกในกรณีที่จะใช้ฮอร์โมนจะเลือกใช้กลุ่มที่มีเฉพาะโปรเจนตินในกรณีที่ไม่มีข้อห้ามเนื่องจากไม่มีผลเสียต่อการให้นม การเจริญเติบโตของทารกและพัฒนาการในวัยเด็ก มีการศึกษาถึงผลของการใช้การคุมกำเนิดชนิดโปรเจสตินกับการสูญเสียมวลกระดูกในมารดาที่ให้นมบุตรหลังคลอดโดยการวัดค่าความหนาแน่นของมวลกระดูกที่ข้อมือในช่วงหกเดือนหลังคลอดบุตร จากข้อมูลพบว่ามารดาที่ใช้ยาคุมกำเนิดชนิดโปรเจสตินจะมีการสูญเสียมวลกระดูกน้อยกว่า2 อย่างไรก็ตามผลในทางคลินิกยังไม่ชัดเจนเนื่องจากในการสูญเสียมวลกระดูกนี้จะกลับสู่ภาวะปกติเมื่อหยุดให้นม
หนังสืออ้างอิง
1.???????? Ensom MH, Liu PY, Stephenson MD. Effect of pregnancy on bone mineral density in healthy women. Obstet Gynecol Surv 2002;57:99-111.
2.???????? Costa ML, Cecatti JG, Krupa FG, Rehder PM, Sousa MH, Costa-Paiva L. Progestin-only contraception prevents bone loss in postpartum breastfeeding women. Contraception 2012;85:374-80.
?
?