คลังเก็บป้ายกำกับ: การใช้ขวดนมในการป้อนนมทารก

การใช้ขวดนมในการป้อนนมทารก

นมขวด

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? การใช้ขวดนมในการป้อนนมให้กับทารกควรเป็นทางเลือกสุดท้ายสำหรับการให้อาหารในทารกแรกเกิด เนื่องจากทารกกลไกการดูดนมจากจุกนมเทียมของขวดนมจะมีความแตกต่างจากกลไกการดูดนมแม่ และรูเปิดที่จะให้น้ำนมไหลจากจุกนมเทียมจะใหญ่และไหลได้เร็ว ทำให้ทารกไม่ต้องออกแรงในการดูดนมมาก ทารกจะเกิดการติดขวดนม ทำให้การปรับเปลี่ยนกับมากินนมแม่จากเต้าทำได้ลำบาก และมีอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวต่ำกว่าการป้อนนมด้วยถ้วย1 แต่มีการศึกษาถึงการใช้ขวดนมช่วยป้อนนมในทารกที่มีการเข้าเต้าลำบากจากการที่มีเพดานปากสูงโดยใช้จุกนมเทียมที่มีรูใหญ่ป้อนนมทารกได้2 สำหรับทารกที่ได้รับการป้อนนมโดยใช้ขวดนมพบว่ามีความเสี่ยงในการเกิดฟันผุเพิ่มขึ้น3 ภาวะ hypertrophic pyloric stenosis4 และพบว่าอาจจะมีผลต่อพฤติกรรมในการควบคุมการกินอาหารที่ส่งผลทำให้ทารกมีภาวะอ้วนเมื่อทารกเจริญเติบโตขึ้นได้5

เอกสารอ้างอิง

  1. Yilmaz G, Caylan N, Karacan CD, Bodur I, Gokcay G. Effect of cup feeding and bottle feeding on breastfeeding in late preterm infants: a randomized controlled study. J Hum Lact 2014;30:174-9.
  2. Eren A, Bilgin H, Kara S. Feeding an infant with high arched palate by high flow rate bottle nipple. Asia Pac J Clin Nutr 2015;24:756-8.
  3. Avila WM, Pordeus IA, Paiva SM, Martins CC. Breast and Bottle Feeding as Risk Factors for Dental Caries: A Systematic Review and Meta-Analysis. PLoS One 2015;10:e0142922.
  4. McAteer JP, Ledbetter DJ, Goldin AB. Role of bottle feeding in the etiology of hypertrophic pyloric stenosis. JAMA Pediatr 2013;167:1143-9.
  5. Li R, Scanlon KS, May A, Rose C, Birch L. Bottle-feeding practices during early infancy and eating behaviors at 6 years of age. Pediatrics 2014;134 Suppl 1:S70-7.

?