คลังเก็บป้ายกำกับ: การแยกแม่แยกลูกหลังคลอดเกิดผลเสียแก่ทารก

การแยกแม่แยกลูกหลังคลอดเกิดผลเสียแก่ทารก

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ?ในกระบวนการในการดูแลหลังคลอด หากไม่ได้เป็นโรงพยาบาลสายสัมพันธ์แม่ลูกหรือโรงพยาบาลที่ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ในช่วงระยะแรกหลังคลอดจะมีโอกาสที่การให้การดูแลจะแยกมารดาไว้ที่หอผู้ป่วยหลังคลอด และแยกทารกไว้ที่ห้องเด็กอ่อน การแยกกันระหว่างมารดาและทารกจะเพิ่มความเสี่ยงและโอกาสที่ทารกจะเกิดความผิดปกติสูงขึ้นได้ เนื่องจากพบว่า ทารกที่แยกจากอกมารดามาอยู่ในห้องเด็กอ่อนจะพบว่าทารกจะร้องไห้บ่อยกว่าและร้องไห้นานกว่า โดยกระบวนการที่พบจากการแยกกันระหว่างมารดาและทารกที่พบในสัตว์ทดลอง ทารกจะมีพฤติกรรมประท้วง (protest) โดยการร้องไห้เรียกร้องความสนใจ แต่หากขาดการสนใจ ทารกก็จะมีพฤติกรรมสิ้นหวัง (despair) โดยการแยกตัว มีพัฒนาการที่ช้า น้ำหนักขึ้นน้อย ภูมิคุ้มกันลดลง ก้าวร้าว แยกตัวจากเพื่อน ซึ่งกระบวนการทางพฤติกรรมที่พบในสัตว์ทดลองนี้คาดว่าจะมีผลลักษณะเดียวกันกับทารกของมนุษย์ ดังนั้น การแยกแม่แยกลูกหลังคลอดต้องถือเป็นความเสี่ยงอย่างหนึ่งต่อชีวิตทารกที่ควรหลีกเลี่ยงและไม่ควรให้สิ่งนี้เกิดขึ้นในกระบวนการการดูแลรักษาในมารดาและทารกที่ปกติและปราศจากภาวะแทรกซ้อน

เอกสารอ้างอิง

  1. Ovtscharoff W, Jr., Braun K. Maternal separation and social isolation modulate the postnatal development of synaptic composition in the infralimbic cortex of Octodon degus. Neuroscience 2001;104:33-40.