รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
????????????อาการท้องผูก การดื่มน้ำมากๆ รับประทานอาหารที่มีเส้นใยสูง ผักและผลไม้ ออกกำลังกายจะช่วยเรื่องอาการท้องผูก การกินลูกพรุนหรือดื่มน้ำลูกพรุนจะช่วยในการระบาย การใช้ยาระบายที่ผลิตจากมะขามแขกควรใช้ด้วยความระมัดระวังอาจจะทำให้ติดยาระบายหรือกระตุ้นให้เกิดการหดรัดตัวของมดลูกในระยะท้ายของการตั้งครรภ์ได้1
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
????????อาการกรดไหลย้อน (gastroesophageal reflux) และแสบร้อนหน้าอก ใช้การปฏิบัติตัวในการบรรเทาอาการ โดยรับประทานอาหารแต่ละมื้อปริมาณน้อย แต่บ่อยครั้งขึ้น หลังรับประทานอาหารไม่ควรเอนตัวลงนอน อาจใช้ชาคาโมไมล์ (chamomile) ช่วยลดอาการแน่นท้องได้และช่วยให้พักผ่อนได้ดีขึ้น11 ชาจากรากมาร์ชเมโล (marshmallow root) มีสารจำพวกแป้งช่วยเคลือบและป้องกันการระคายเคืองของผนังหลอดอาหาร12
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
??????????อาการคลื่นไส้อาเจียน การให้สตรีตั้งครรภ์ดื่มน้ำให้เพียงพอ รับประทานอาหารแต่ละมื้อในปริมาณที่น้อย แต่รับประทานบ่อยขึ้น การรับประทานขนมปังหรือขนมปังกรอบในปริมาณเล็กน้อยก่อนจะลุกจากที่นอนในตอนเช้าอาจจะช่วยลดอาการคลื่นไส้อาเจียนได้ในบางคน การดื่มชาเปปเปอร์มินต์ช่วยลดการคลื่นไส้อาเจียนแต่อาจทำให้ท้องผูกมากขึ้น การดื่มน้ำขิงช่วยลดอาการคลื่นไส้อาเจียน3,4 สำหรับขนาดของขิงผงที่ใช้คือ 250 มิลลิกรัมวันละสี่ครั้ง ไม่ควรให้เกินวันละ 2 กรัม การเสริมวิตามินบีหกและบีสิบสองก็ช่วยอาการคลื่นไส้อาเจียน โดยใช้ขนาด 25 มิลลิกรัมวันละสามครั้ง การฝังเข็ม (acupuncture) มีประสิทธิภาพในการลดการคลื่นไส้ด้วย5,6 โดยการกระตุ้นที่จุดฝังเข็มจุดที่ P6 บริเวณข้อมือ การกำหนดตำแหน่งจากการกำมือให้แน่น จะเห็นเส้นเอ็นสองเส้นอย่างชัดเจนที่บริเวณข้อมือด้านหน้า คือ Palmaris longus และ Flexor carpi radialis จุดที่ฝังเข็มจะอยู่เหนือรอยพับข้อมือ 3 ความกว้างของนิ้วมือ และลึก 1 เซนติเมตร ระหว่างเส้นเอ็นทั้งสอง การกดจุด (acupressure) จะอาศัยจุดตามแบบเดียวกับการฝังเข็ม เพียงแต่ไม่ใช้เข็ม แต่ใช้นิ้วมือเป็นเครื่องมือในการกดนวดแทน โดยมีเทคนิคการกดจุดหลายแบบ แต่มีวัตถุประสงค์เดียวกับการฝังเข็มจะช่วยลดการคลื่นไส้อาเจียน ทำโดยใช้นิ้วมือกดหรือแถบรัดข้อมือ (wrist band) กระตุ้นที่จุด P6 เช่นกัน7-9 การฝังเข็มกระตุ้นไฟฟ้า (electro acupuncture) เหมือนการฝังเข็มทุกประการ แต่การกระตุ้นเข็มจะใช้ไฟฟ้ากระตุ้น มีการศึกษาว่าช่วยทำให้อาการคลื่นไส้อาเจียนดีขึ้นเช่นกัน10
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
????????? อาการปวดตึงกล้ามเนื้อ การนวดจะช่วยบรรเทาอาการเหล่านี้ได้ อย่างไรก็ตาม ควรระมัดระวังในการนวดเนื่องจากการนวดในบางจุดอาจกระตุ้นให้เกิดการหดรัดตัวของมดลูกและอาจเป็นอันตรายได้1 การทาน้ำมันประคบสมุนไพร เป็นการใช้ยาภายนอก ส่วนใหญ่จะใช้ได้ แต่เนื่องจากมีลักษณะของน้ำมันและสมุนไพรที่หลากหลาย การทาหรือใช้ประคบเป็นจำนวนมากอาจมีการดูดซึมของน้ำมันและสมุนไพรที่ใช้เข้าสู่ร่างกายในปริมาณที่สูง ดังนั้น การใช้ควรใช้ด้วยความระมัดระวัง
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
??????????? ในสตรีที่ตั้งครรภ์จะมีการเปลี่ยนแปลงของร่ายกายทางกายภาพและสรีรวิทยาที่ทำให้เกิดอาการจากการเปลี่ยนแปลงนี้ได้หลายอย่าง ได้แก่ การปวดบริเวณหัวหน่าวจากการตึงตัวของเส้นเอ็นที่ยึดมดลูก (round ligament pain) การปวดหลัง อาการคลื่นไส้อาเจียน อาการแสบร้อนท้อง และท้องผูก อาการเหล่านี้บางอาการอาจใช้การปฏิบัติตัวช่วยลดอาการได้ หากยังไม่ได้ผลอาจใช้ยาเพื่อช่วยบรรเทาอาการ แต่การแพทย์ทางเลือกก็เป็นการแก้ปัญหาอาการเหล่านี้ได้วิธีหนึ่งซึ่งบุคลากรทางการแพทย์ควรมีความรู้ในแนวกว้างเพื่อให้คำแนะนำกับสตรีที่ตั้งครรภ์ได้อย่างเหมาะสม
การปวดบริเวณหัวหน่าวจากการตึงตัวของเส้นเอ็นที่ยึดมดลูก (round ligament pain) และการปวดหลัง การใช้โยคะสามารถบรรเทาอาการเหล่านี้ได้ การขยับกระดูกอุ้งเชิงกรานไปทางด้านหน้าสลับกับด้านหลังจะลดอาการปวดบริเวณหัวหน่าวจากการตึงตัวของเส้นเอ็นที่ยึดมดลูก การคลุกเข่าและใช้มือทั้งสองข้างวางกับพื้นจากนั้นโก่งตัว คลายกล้ามเนื้อหลังเป็นจังหวะจะลดอาการปวดหลังได้1 และการฝังเข็มช่วยในเรื่องการปวดหลังในระหว่างการตั้งครรภ์ได้2
แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)