คลังเก็บป้ายกำกับ: การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในกลุ่มประเทศอาเซียน

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาที่ติดเชื้อเอชไอวี

DSC00090-1

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? หนึ่งในสาเหตุของการติดเชื้อเอชไอวี ได้แก่ การติดเชื้อจากมารดาสู่ทารกระหว่างการตั้งครรภ์และการคลอด การที่มารดาได้รับยาต้านเชื้อไวรัสร่วมกับการดูแลอย่างเหมาะสมจะลดการติดเชื้อลงได้เหลือราวร้อยละ 1 การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นข้อบ่งห้ามในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เนื่องจากมีไวรัสเอชไอวีผ่านทางน้ำนม อย่างไรก็ตาม ในพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ ภาวะท้องเสียและปอดบวมสูง และขาดการสนับสนุนการได้รับนมผงดัดแปลงสำหรับทารกอย่างเพียงพอ การที่ทารกกินนมแม่อย่างเดียวจะมีความเสี่ยงต่ำกว่าทารกที่กินนมแม่ร่วมกับนมผง สำหรับในมารดา การให้ลูกกินนมแม่ไม่มีผลเสียต่อการติดเชื้อเอชไอวี และมีผลศึกษาว่าช่วยลดอัตราการเสียชีวิตของมารดาลงได้1 แต่ความสำคัญในการเลือกอาหารสำหรับทารกจำเป็นต้องเลือกสิ่งที่ปลอดภัยที่สุดที่สามารถจัดหา เข้าถึงได้และมีสนับสนุนอย่างเพียงพอในแต่ละพื้นที่ที่จะกำหนดในการให้คำปรึกษาสำหรับมารดาที่ติดเชื้อเอชไอวี

เอกสารอ้างอิง

  1. Wall KM, Kilembe W, Haddad L, et al. Hormonal Contraception, Pregnancy, Breastfeeding, and Risk of HIV Disease Progression Among Zambian Women. J Acquir Immune Defic Syndr 2016;71:345-52.

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในกลุ่มประเทศอาเซียน

1410868258888-1

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีการรณรงค์และมีการตื่นตัวของหลากหลายภาคส่วนในประเทศไทย แต่อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จากการสำรวจที่ผ่านมาพบว่ายังมีอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่ำ โดยอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดียวในปี พ.ศ. 2549 พบร้อยละ 5.4 และในปี พ.ศ. 2552 พบร้อยละ 15.21,2 ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มอาเซียน พบว่า อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือนในประเทศลาวในปี พ.ศ. 2552 พบร้อยละ 263 อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือนในเวียดนามในปี พ.ศ. 2545-2548 พบร้อยละ 15.54 และใน พ.ศ. 2551-2553 พบร้อยละ 4-115 อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือนในประเทศกัมพูชาในปี พ.ศ. 2545-2548 พบร้อยละ 60.1 อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือนในประเทศฟิลิปปินส์ในปี พ.ศ. 2545-2548 พบร้อยละ 33.7 อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือนในประเทศอินโดนีเซียในปี พ.ศ. 2545-2548 พบร้อยละ 38.94 ?จะเห็นว่าในอัตราการเลี้ยงลูกอย่างเดียวหกเดือนในประเทศไทยเกือบจะรั้งตำแหน่งท้ายของประเทศในกลุ่มเพื่อนบ้านอาเซียน ดังนั้น ในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือนให้สูงขึ้น อาจต้องมีการเทียบเคียงกับกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านในวิธีการจัดการแก้ปัญหา ซึ่งในประเทศเวียดนามได้มีการออกกฎหมายให้มารดาลาพักหลังคลอดได้หกเดือนที่น่าจะช่วยแก้ปัญหาในการที่สำคัญในการหยุดเลี้ยงด้วยนมแม่ก่อนหกเดือนคือ การกลับไปทำงานของมารดา ในประเทศไทยคงต้องรีบบริหารจัดการกับสาเหตุนี้เช่นกัน เพื่อไม่ให้กลายเป็นประเทศที่มีอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่ำที่สุดในอาเซียน

หนังสืออ้างอิง

  1. Kongsri S, Limwattananon S, Sirilak S, Prakongsai P, Tangcharoensathien V. Equity of access to and utilization of reproductive health services in Thailand: national Reproductive Health Survey data, 2006 and 2009. Reprod Health Matters 2011;19:86-97.
  2. Laisiriruangrai P, Wiriyasirivaj B, Phaloprakarn C, Manusirivithaya S. Prevalence of exclusive breastfeeding at 3, 4 and 6 months in Bangkok Metropolitan Administration Medical College and Vajira Hospital. J Med Assoc Thai 2008;91:962-7.
  3. Lee HM, Durham J, Booth J, Sychareun V. A qualitative study on the breastfeeding experiences of first-time mothers in Vientiane, Lao PDR. BMC Pregnancy Childbirth 2013;13:223.
  4. Senarath U, Dibley MJ, Agho KE. Factors associated with nonexclusive breastfeeding in 5 east and southeast Asian countries: a multilevel analysis. J Hum Lact 2010;26:248-57.
  5. Thu HN, Eriksson B, Khanh TT, et al. Breastfeeding practices in urban and rural Vietnam. BMC Public Health 2012;12:964.