รศ.นพ.ภาวิน
พัวพรพงษ์
อัตราการเสียชีวิตของทารกจะสูงในช่วง
1-2 ปีแรกในประเทศด้อยพัฒนาหรือกำลังพัฒนา องค์การอนามัยโลกแนะนำให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวในหกเดือนแรก
หลังจากนั้นนมแม่ก็ยังคงมีประโยชน์ ควรกินนมแม่ร่วมกับอาหารเสริมตามวัยจนกระทั่งถึงสองปีหรือนานกว่านั้นขึ้นอยู่กับความต้องการของมารดาและทารก
ซึ่งจากข้อแนะนำนี้พบว่า ทารกที่ไม่ได้กินนมแม่และทารกที่กินนมแม่น้อยกว่าหกเดือนมีอัตราการเสียชีวิตมากกว่าทารกที่กินนมแม่นาน
1-2 ปีถึง 2.8-5.3 เท่า1 ดังนั้น นี่ก็น่าจะเป็นเหตุผลหนึ่งควรสนับสนุนให้ลูกได้กินนมแม่นานถึง
2 ปีและควรมีการแจ้งให้มารดาเห็นถึงประโยชน์และความสำคัญนี้เพื่อคงการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้ได้ตามคำแนะนำหรือนานขึ้น
เอกสารอ้างอิง
1. Zhao M, Wu H, Liang Y, Liu F, Bovet
P, Xi B. Breastfeeding and Mortality Under 2 Years of Age in Sub-Saharan
Africa. Pediatrics 2020;145.
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
ประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีหลากหลายทั้งประโยชน์ที่มีต่อมารดาและทารก โดยประโยชน์ในข้อหนึ่งที่มีต่อมารดา ได้แก่ การลดการเกิดมะเร็งรังไข่ ซึ่งการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ถือเป็นตัวแปรอิสระที่มีผลในการลดการเกิดมะเร็งรังไข่ โดยจากการศึกษาพบว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สามารถลดการเกิดมะเร็งรังไข่ระยะลุกลามได้ร้อยละ 24 ซึ่งชนิดของมะเร็งรังไข่ที่มีผลได้แก่ มะเร็งรังไข่ชนิด serous และ endometrioid และพบว่า การที่มารดาได้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่หนึ่งครั้งนาน 1-3 เดือนจะช่วยลดการเกิดมะเร็งรังไข่ร้อยละ 18 ขณะที่หากการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้นนานกว่า 12 เดือนจะช่วยลดการเกิดมะเร็งรังไข่เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 34 และในมารดาที่เพิ่งให้นมบุตรจะส่งผลในการป้องกันการเกิดมะเร็งรังไข่ในอนาคตได้เป็นระยะเวลา 10 ปี 1 จากผลการศึกษานี้จะให้ภาพที่ชัดเจนของการลดการเกิดมะเร็งรังไข่ที่เป็นมะเร็งในอันดับต้น ๆ ที่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของสตรีในปัจจุบัน
เอกสารอ้างอิง
Babic A, Sasamoto N, Rosner BA, et al. Association Between Breastfeeding and Ovarian Cancer Risk. JAMA Oncol 2020:e200421.
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
การให้ลูกได้กินนมแม่ของมารดามีผลในการป้องกันการเกิดมะเร็งในมารดาหลายอย่าง ได้แก่ มะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ รวมทั้งมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก มีการศึกษาพบว่า การที่มารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกได้ โดยระยะเวลาที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ทุก 6 เดือนจะช่วยลดการเกิดมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกลงร้อยละ 7 1 ดังนั้น จะเห็นว่าระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ยิ่งมากยิ่งลดการเกิดมะเร็ง สิ่งนี้ควรสื่อสารและให้คำปรึกษาแก่มารดาและครอบครัวทราบเพื่อจะให้เห็นความสำคัญของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และสร้างเสริมทัศนคติที่ดีต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อันจะส่งผลต่อความตั้งใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ซึ่งจะเพิ่มอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้
เอกสารอ้างอิง
Ma X, Zhao LG, Sun JW, et al. Association between breastfeeding and risk of endometrial cancer: a meta-analysis of epidemiological studies. Eur J Cancer Prev 2018;27:144-51.
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
??????????????? การเจ็บป่วยของทารกและเด็กเล็กส่งผลเสียต่อสุขภาพกายและจิตใจของมารดา ครอบครัว รวมถึงเศรษฐกิจและการทำงานของทั้งบิดาและมารดาซึ่งจำเป็นต้องแบ่งเวลามีให้การดูแลหรือเฝ้าทารกหรือเด็กเล็ก การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นที่ทราบกันดีว่า มีผลในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ทารกรวมถึงผลระยะยาวต่อเด็กเล็ก ซึ่งมีการศึกษาพบว่า ทารกแรกเกิดจนถึงวัยเด็กเล็กอายุ 4 ปีที่มีประวัติการกินนมแม่อย่างเดียวหกเดือนจะลดการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนหรือเรียกง่ายๆ ว่ากลุ่มอาการหวัด โดยพบว่า ลดการเจ็บป่วยได้ประมาณร้อยละ 30 1 ? ซึ่งสิ่งนี้น่าจะเป็นการสนับสนุนผลดีของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือนต่อภาพรวมของครอบครัวและสังคม แต่อย่างไรก็ตาม ในการปฏิบัติจำเป็นต้องอาศัยการรณรงค์จากหลากหลายภาคส่วนที่ต้องให้ความร่วมมือ โดยเฉพาะสื่อทางโทรทัศน์ที่ยังมีบทบาทสูงและประชาชนยังคงเข้าถึงได้ง่าย
เอกสารอ้างอิง
Tromp I, Kiefte-de Jong J, Raat H, et al. Breastfeeding and the risk of respiratory tract infections after infancy: The Generation R Study. PLoS One 2017;12:e0172763.
แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)