รศ.นพ.ภาวิน
พัวพรพงษ์
การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีประโยชน์ต่อสุขภาพของมารดาและทารกในหลาย ๆ ด้าน โดยสำหรับทารกจะช่วยให้ทารกมีภูมิคุ้มกันต่อการติดเชื้อ นอกเหนือจากนี้ การกินนมแม่ยังส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันในด้านการควบคุมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันให้เป็นปกติ ลดการเกิดโรคภูมิแพ้ หอบหืด และยังมีการศึกษาที่พบว่า การที่ทารกกินนมแม่โดยเฉพาะการกินหัวน้ำนม (colostrum) จะช่วยป้องกันการเกิดการแพ้อาหารได้ในทารกที่มีความเสี่ยงสูงที่มีผื่นแพ้ในวัยทารก (infantile eczema) ได้1 ดังนั้น ในมารดาที่มีอาการแพ้แล้ววิตกกังวลว่า ทารกจะมีอาการแพ้เหมือนกับมารดาหรือไม่ การให้คำปรึกษาโดยการแนะนำให้ทารกได้กินนมแม่ตั้งแต่ในระยะแรกเริ่ม น่าจะส่งผลดีต่อทารกและอาจช่วยลดความวิตกกังวลของมารดาลงได้
เอกสารอ้างอิง
1. Matsumoto N, Yorifuji T, Nakamura K, Ikeda M,
Tsukahara H, Doi H. Breastfeeding and risk of food allergy: A nationwide birth
cohort in Japan. Allergol Int 2020;69:91-7.
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดเป็นภาวะที่พบได้บ่อย เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางสรีระ ฮอร์โมน บทบาท และภาระหน้าที่ต่าง ๆ ของมารดา ซึ่งจะพบมากขึ้นในมารดาที่อายุมาก และได้รับการผ่าตัดคลอด โดยหากพบภาวะซึมเศร้าหลังคลอดจะสัมพันธ์กับอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่ำ จากการที่มารดาหยุดการให้นมลูกก่อนเวลาอันควร ใ นทางกลับกัน หากมารดาเริ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ตั้งแต่ในระยะแรก จะพบภาวะซึมเศร้าหลังคลอดในมารดากลุ่มนี้น้อย ซึ่งแสดงถึงการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลในการช่วยลดภาวะซึมเศร้าหลังคลอดในมารดาได้ 1 อย่างไรก็ตาม บุคลากรทางการแพทย์ควรเอาใจใส่กับมารดาที่มีความเสี่ยงที่จะมีภาวะซึมเศร้าหลังคลอด เพื่อให้คำปรึกษารวมถึงการกระตุ้นให้เกิดการสนับสนุนการช่วยเหลือจากสามีและครอบครัว การสังเกต การให้การวินิจฉัยและให้การดูแลมารดาที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะซึมเศร้าหลังคลอดได้ตั้งแต่ในระยะแรก นอกจากจะช่วยลดระยะเวลาในการให้การดูแลรักษา ยังอาจจะช่วยเพิ่มอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้
เอกสารอ้างอิง
Chiu HC, Wang HY, Hsiao JC, et al. Early breastfeeding is associated with low risk of postpartum depression in Taiwanese women. J Obstet Gynaecol 2020;40:160-6.
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
??????????? การให้ลูกได้กินนมแม่ เมื่อนมแม่ได้ผ่านเข้าสู่ระบบการย่อยและการดูดซึมอาหารในลำไส้ของทารกจะไปกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของทารกที่จะช่วยในการป้องกันการติดเชื้อและควบคุมระบบการทำงานของภูมิคุ้นกันที่จะช่วยในการป้องกันโรคในระบบภูมิแพ้หรือความบกพร่องในระบบภูมิคุ้มกันที่ต่อต้านตนเอง ดังนั้น จะช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันของทารกทำงานเป็นปกติและมีความเข้มแข็งลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ ที่เป็นผลเสียจากการทำงานที่ผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันได้ อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการติดตามผลในระยะยาว เมื่อทารกเจริญเติบโตขึ้น ปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อภูมิคุ้มกันอาจมีผลกระทบต่อปัจจัยการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่เป็นพื้นฐานตั้งต้น มีความพยายามที่จะศึกษาถึงผลของการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของทารกเมื่อทารกเจริญเติบโตย่างเข้าสู่วัยรุ่นพบว่า ทารกที่กินนมแม่เมื่อเจริญย่างเข้าสู่วัยรุ่นพบมีภาวะผิวหนังอักเสบน้อยกว่า แต่ผลในการลดการเกิดหอบหืดนั้นยังไม่ชัดเจน1 ต้องรอข้อมูลการศึกษาเพิ่มเติมที่มากพอที่จะให้การสรุปถึงผลที่เป็นไปได้ อย่างไรก็ตาม จากพื้นฐานที่สร้างความเข้มแข็งให้แก่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายของทารกจากการกินนมแม่ ก็น่าจะเป็นสิ่งที่คุ้มค่าและควรค่าแก่การลงทุนในด้านสุขภาพให้แก่ทารกแล้วอย่างไม่มีสิ่งใดที่ต้องลังเล
เอกสารอ้างอิง
Flohr C, Henderson AJ, Kramer MS, et al. Effect of an Intervention to Promote Breastfeeding on Asthma, Lung Function, and Atopic Eczema at Age 16 Years: Follow-up of the PROBIT Randomized Trial. JAMA Pediatr 2018;172:e174064.
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
??????????? แม้ว่าค่านิยมของคนในสังคมจะมองดูว่าชอบ ?ทารกที่อ้วน? แต่ในความเป็นจริงด้านสุขภาพแล้ว ทารกที่อ้วนมีความเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายต่อสุขภาพสูงกว่าทารกปกติตั้งแต่แรกเกิด ทารกที่มารดามีน้ำหนักขึ้นระหว่างตั้งครรภ์มากกว่าปกติจะมีความเสี่ยงที่จะมีทารกตัวโต และทารกตัวโตจะมีความเสี่ยงต่อการคลอดยาก การคลอดทารกที่ติดไหล่ และอัตราการผ่าตัดคลอดที่สูงขึ้น หลังคลอดแล้ว หากทารกยังเลือกกินนมผงดัดแปลงสำหรับทารกก็จะมีความเสี่ยงต่อภาวะอ้วนในวัยเด็กและเสี่ยงต่อเบาหวานและโรคทางเมตาบอลิกเมื่อทารกเจริญเติบโตขึ้น เมื่อทราบข้อมูลดังนี้แล้ว ทางที่จะบรรเทาความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะอ้วนจากการที่มารดาน้ำหนักขึ้นมากกว่าปกติระหว่างการตั้งครรภ์คือ ?การให้ลูกได้กินนมแม่? ซึ่งจะสามารถลดหรือป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะอ้วนได้1 และควรมีการเปลี่ยนทัศนคติในเรื่องที่ ?ทารกอ้วนน่ารักและอยากให้ลูกอ้วน? ควรเปลี่ยนไปเป็นอยากให้ ?ทารกหรือลูกรูปร่างพอเหมาะและมีสุขภาพดี? มากกว่าที่จะอ้วนและเสี่ยงต่อโรคร้ายต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
เอกสารอ้างอิง
Liu JX, Xu X, Liu JH, Hardin JW, Li R. Association of maternal gestational weight gain with their offspring’s anthropometric outcomes at late infancy and 6 years old: mediating roles of birth weight and breastfeeding duration. Int J Obes (Lond) 2018;42:8-14.
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ? ? ?เป็นที่ทราบกันดีว่า นมแม่มีประโยชน์มากทั้งต่อมารดาและทารก ในมารดาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ช่วยลดมะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ โรคเบาหวาน และช่วยในการคุมกำเนิดได้ ในทารกช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน ป้องกันการเสียชีวิตจากการติดเชื้อ โรคท้องร่วง การอักเสบของหูส่วนกลาง โรคหอบหืด โรคอ้วน และมะเร็งเม็ดเลือดขาวในเด็ก รวมถึงเพิ่มความเฉลียวฉลาด โดยมีการคำนวณเฉพาะการป้องกันมะเร็งเต้านม ในมารดาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในปัจจุบันป้องกันมารดาทั่วโลกจากการเสียชีวิตจากมะเร็งเต้านมปีละราว 20000 คน สำหรับในทารก หากได้กินนมแม่จะช่วยป้องกันการเสียชีวิตของทารกทั่วโลกได้ราวปีละ 800000 คน 1 ดังนั้น สิ่งที่เป็นพื้นฐานธรรมชาติที่ง่ายในการปฏิบัติที่ช่วยเสริมสร้างชีวิตให้มีคุณภาพที่ยาวนานขึ้น จึงควรค่าในการส่งเสริมสนับสนุน และลงทุนเพื่อเพิ่มอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
เอกสารอ้างอิง
Victora CG, Bahl R, Barros AJ, et al. Breastfeeding in the 21st century: epidemiology, mechanisms, and lifelong effect. Lancet 2016;387:475-90.
?
เรื่องนำทาง
แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)