คลังเก็บป้ายกำกับ: การเปลี่ยนแปลงในช่วงระยะไตรมาสแรก

การเปลี่ยนแปลงในช่วงระยะไตรมาสที่สาม

การเปลี่ยนแปลงในช่วงระยะไตรมาสที่สาม

การเปลี่ยนแปลงในช่วงระยะไตรมาสที่สาม

ทารกในไตรมาสที่สามจะเพิ่มน้ำหนักเร็วขึ้นเนื่องการการเจริญเติบโตของอวัยวะต่างๆ ครบถ้วนแล้ว การเกิดของทารกก่อนระยะนี้ นับเป็นการแท้ง ในสัปดาห์ที่ 32 ทารกจะมีน้ำหนักประมาณ 1800 กรัม ผิวหนังยังมีสีแดงและเหี่ยวย่น สัปดาห์ที่ 36 ทารกจะมีน้ำหนักประมาณ 2500 กรัม ผิวหนังเริ่มตึงขึ้นจากไขมันสะสมใต้ผิวหนัง เมื่อย่างเข้าสัปดาห์ที่ 37 เมื่อมีการคลอดก็จะถึอว่าการคลอดครบกำหนดแล้ว สำหรับอายุครรภ์ที่เลย 42 สัปดาห์ขึ้นไปมักเกิดอันตรายจากการเสื่อมของการทำงานของรก ทำให้เกิดอันตรายต่อทารกได้

ในระยะไตรมาสที่สาม? อาการต่างๆ ที่พบในไตรมาสที่สองจะเพิ่มมากขึ้น? อาการอื่นๆ ที่พบเพิ่มเติมได้แก่

– หายใจไม่อิ่ม? เนื่องจากมดลูกขยายขนาดขึ้นมากดันกระบังลม

– สะดือจะถูกดันจนราบหรือจุ่นในบางรายซึ่งจะเหมือนเดิมเมื่อหลังคลอด

– อาจพบปัสสาวะเล็ดเวลาไอ จาม หรือวิ่ง

– การปวดปัสสาวะบ่อยขึ้นจากศีรษะทารกลงไปเบียดกระเพาะปัสสาวะ

– เหนื่อยจากการหลับไม่ค่อยสนิท? เนื่องจากการเจ็บครรภ์เตือนหรือการดิ้นของทารกในครรภ์

– อุ้ยอ้ายจากท้องที่ใหญ่และหนักขึ้น

– กระดูกเชิงกรานจะเริ่มขยายบริเวณข้อต่างๆ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการคลอด? ซึ่งอาจทำให้คุณแม่รู้สึกปวดบริเวณข้อสะโพกหรือหัวหน่าวเวลาเคลื่อนไหวได้

– น้ำหนักในช่วงไตรมาสนี้โดยรวมเพิ่มประมาณ 5 กิโลกรัม

คุณแม่จะปฏิบัติตัวอย่างไรในช่วงไตรมาสที่สาม??

การปฏิบัติตัวที่เหมาะสมเพิ่มเติมในระยะนี้จากไตรมาสที่สอง ได้แก่

– ยกเท้าพาดสูงเสมอเมื่อมีโอกาส? เพื่อลดการเกิดเส้นเลือดขอดและข้อเท้าบวม

– ควรจัดเตรียมกระเป๋าเสื่อผ้าของใช้? สำหรับการไปโรงพยาบาลให้พร้อมอยู่เสมอ

– เตรียมยกทรงสำหรับใส่ให้นมลูกได้

– เตรียมของใช้สำหรับลูกน้อยหลังคลอดใหม่

อาการอะไรบ้างที่ต้องรีบปรึกษาแพทย์ในไตรมาสที่สาม?

– มีไข้สูง ไม่ทราบสาเหตุ

– ปัสสาวะแสบ ขัด หรือเป็นเลือด

– ปวดท้องน้อยรุนแรง

– เลือดออกจากช่องคลอด ซึ่งอาจเป็นอาการนำของการตกเลือดก่อนคลอด

– ทารกในครรภ์ดิ้นน้อย หรือไม่ดิ้น

– ตกขาวผิดปกติ มีกลิ่นเหม็นหรือคันช่องคลอด

– มีมูกเลือด มีน้ำเดิน

– มีอาการของการเจ็บครรภ์คลอด คือ ท้องแข็งเป็นก้อนเป็นพักๆ ทุก 10 นาทีหรือน้อยกว่า การเจ็บครรภ์สม่ำเสมอและถี่ขึ้นเรื่อยๆ

อาการเตือนอย่างไรแสดงถึงการเจ็บครรภ์คลอด?

??????????? คุณแม่อาจวิตกกังวลและไม่ทราบว่าเมื่อไหร่เวลานั้นมาถึง? ความไม่แน่ใจซึ่งอาจมีเฉพาะการบีบตัวของมดลูกครั้งแรกๆ? ซึ่งคล้ายกับการบีบตัวปกติในสัปดาห์ท้ายๆ ของการตั้งครรภ์? แต่จะแน่ใจเมื่อพบสัญญาณเตือนต่อไปนี้

– มูกเลือด (show)? เป็นก้อนมูกข้นมีเลือดผสม? เดิมปิดอยู่บริเวณปากมดลูกและจะหลุดผ่านช่องคลอดเมื่อตอนเริ่มระยะเจ็บครรภ์

– น้ำเดิน? ถุงน้ำคร่ำซึ่งห่อหุ้มตัวทารกอยู่จะแตกในช่วงหนึ่งของการเจ็บครรภ์? อาจพบมีน้ำไหลพรวดโดยปกติจะมีจำนวนมาก ถ้าเกิดขณะยืนอยู่จะไหลมาตามขาและลงพื้น หากนอนอยู่จะพบลักษณะเตียงเปรอะคล้ายปัสสาวะรดที่นอน? ถ้าพบน้ำเดินแม้ไม่มีการเจ็บครรภ์ก็ควรไปโรงพยาบาลเพื่อพบแพทย์? เพราะการที่มีถุงน้ำคร่ำแตกเป็นระยะเวลานานจะเพิ่มโอกาสการติดเชื้อสูงขึ้น ซึ่งเป็นอันตรายกับทารกในครรภ์ได้

– มดลูกบีบตัว? อาจเริ่มด้วยการปวดหน่วงๆ ที่หลัง? หรือปวดร้าวไปขา จะสังเกตเห็นท้องแข็งเป็นพักๆ อาการปวดจะสม่ำเสมอและถี่ขึ้น? โดยปกติอาการปวดมักจะถี่โดยเว้นช่วงระยะเวลาน้อยกว่า 10 นาทีหรือชั่วโมงละ 6 ครั้ง

เมื่อถึงตอนนี้ คุณแม่คนใหม่คงจะเตรียมตัวสำหรับการเข้าสู่ระยะคลอดได้อย่างเหมาะสม ไม่วิตกกังวลอีกต่อไปและสามารถผ่านช่วงเวลาเหล่านี้ไปด้วยดี

บทความโดย รศ.นายแพทย์ภาวิน พัวพรพงษ์

การเปลี่ยนแปลงในช่วงระยะไตรมาสที่สอง

การเปลี่ยนแปลงในช่วงระยะไตรมาสที่สอง

การเปลี่ยนแปลงในช่วงระยะไตรมาสที่สอง

??????????? การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ในช่วงไตรมาสที่สองจะเริ่มเร็วขึ้น? ในสัปดาห์ที่ 16 ขนาดทารกจะประมาณ 14-15 เซนติเมตร มีน้ำหนักประมาณ 100-110 กรัม ทารกสามารถกลืนน้ำคร่ำและเริ่มพบการหายใจ สัปดาห์ที่ 20 ทารกจะมีน้ำหนักประมาณ 300 กรัม ผิวหนังจะดูใส เริ่มมีขนอ่อนตามตัวและมีผม? สัปดาห์ที่ 24 ทารกมีน้ำหนักประมาณ 630 กรัม เริ่มมีการสะสมไขมันใต้ผิวหนัง เริ่มดูดนิ้วมือ และมีพัฒนาการด้านการได้ยินเสียง? สัปดาห์ที่ 28 ทารกมีน้ำหนักประมาณ 1000 กรัม ผิวหนังบางสีแดง มีไขเกาะตามผิวหนัง จะมีพัฒนาการของระบบประสาท ระบบกล้ามเนื้อ และตาจะไวต่อแสง

การเปลี่ยนแปลงของคุณแม่ที่พบในไตรมาสที่สองนี้ ได้แก่

– เริ่มรู้สึกกับการตั้งครรภ์ดีขึ้น? อาการแพ้ท้องหายไป ความตื่นเต้นและความปลื้มปิติจะค่อยๆ สั่งสมขึ้น? โดยเฉพาะเมื่อเริ่มรู้สึกว่าทารกในครรภ์ดิ้น โดยในครรภ์แรกจะรู้สึกราวอายุครรภ์ 18-20 สัปดาห์ ส่วนในครรภ์หลังจะรู้สึกราวอายุครรภ์ 16-18 สัปดาห์ โดยความรู้สึกครั้งแรกๆ จะคล้ายมีอะไรมากระตุกตุบๆ ในท้องน้อย และค่อยๆ แรงขึ้น และบ่อยครั้งขึ้น

– จะหิวเก่งและบ่อยตามครรภ์ที่มากขึ้น

– สีผิวบางตำแหน่งจะคล้ำเข้มขึ้น นอกจากบริเวณลานหัวนมและหัวนมแล้ว? เส้นกึ่งกลางตัวระดับต่ำจากกลางหน้าท้องลงไปก็จะมีสีเข้มขึ้นด้วย? สีที่เข้มขึ้นนี้จะจางลงหลังคลอด

– อาจพบมีน้ำนมใสไหลออกจากเต้านมได้

– พบอาการแสบบริเวณหน้าอกหลังกินอิ่ม? และอาหารไม่ย่อยได้

– บริเวณหน้าท้องจะขยายขึ้นเร็ว อาจพบรอยแตกลาย

– บางครั้งพบมดลูกมีการหดรัดตัว? จนแข็งคลำรู้สึกได้? เป็นการเจ็บครรภ์เตือน? อาการปวดอาจพบร่วมได้แต่จะไม่มากและเป็นๆ หายๆ

– อาจพบมีการเกร็งของกล้ามเนื้อ? ตะคริว? และปวดหลัง

– อาจมีเหงื่อมากจนรู้สึกว่าเป็นปัญหา มักรู้สึกร้อน

– เส้นผม ลักษณะจะเปลี่ยนแปลงไป บางคนอาจนุ่มสลวย หรือบางคนอาจแห้งแตกปลายได้

– ฝ้า พบเพิ่มขึ้นได้ในบางคนที่มีฝ้าอยู่แล้ว

– ในตอนปลายของไตรมาสที่สอง? จะพบขาและเท้าบวมเวลานั่งห้อยขานานๆ ได้? นอกจากนี้อาจพบเส้นเลือดขอดเป็นมากขึ้นได้

– น้ำหนักในช่วงไตรมาสที่สองจะเพิ่มโดยรวมประมาณ 5 กิโลกรัม

คุณแม่จะปฏิบัติตัวอย่างไรในช่วงไตรมาสที่สอง??

การปฏิบัติตัวของคุณแม่ที่เหมาะสมในระยะนี้ ได้แก่

– ไปตรวจฝากครรภ์ตามนัด? และรับประทานยาบำรุงเลือด

– เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์? โดยเพิ่มรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง? เนื่องจากระยะนี้จะมีการเสริมสร้างกระดูกของทารกในครรภ์

– ลักษณะการรับประทานอาหารควรรับประทานมื้อละน้อย? แต่บ่อยครั้งขึ้นเหมือนเดิม? หลีกเลี่ยงอาหารรสจัดและหลังรับประทานอาหารไม่ควรนอนราบทันที เพราะอาจทำให้แสบบริเวณหน้าอกได้ ถ้าต้องการนอนอาจหนุนหมอนสูง

– เสื้อผ้าที่ใส่อยู่อาจรู้สึกคับ? แต่ในระยะแรกคุณแม่อาจจะยังไม่อยากใส่ชุดคลุมท้อง? อาจใส่ชุดหลวมและโปรงสบายได้? แต่เมื่อย่างเข้าเดือนที่ 6 ควรใส่ชุดคลุมท้องได้แล้วเพราะขนาดหน้าท้องจะขยายเร็วการใส่กางเกงจะรู้สึกอึดอัดได้

– เลือกยกทรงที่เหมาะสมโดยเลือกชนิดที่ทำจากผ้าฝ้ายมีแถบหนารองใต้ทรงสายไหล่กว้างและสามารถปรับตะขอหลังได้? เต้านมคุณแม่จะโตขึ้นเรื่อยๆ ตามอายุครรภ์ที่เพิ่มขึ้น? จนในที่สุดมักจะใหญ่กว่าตอนแรกราว 2 ขนาด ฉะนั้นเมื่อเลือกซื้อเสื้อยกทรงไม่ควรซื้อครั้งละมากๆ

– เมื่อท้องใหญ่ขึ้นในช่วงอายุครรภ์ราว 20 สัปดาห์ การขยายตัวของมดลูกจะเพิ่มขนาดขึ้นอย่างรวดเร็วทำให้ผิวหนังบริเวณหน้าท้องเกิดอาการแตกลายและเป็นริ้วรอยโดยเฉพาะผู้ที่มีผิวคล้ำจะเห็นได้ชัด การที่อ้วนหรือมีน้ำหนักมากเกินไปเป็นปัจจัยเสี่ยง การทาโลชั่นหรือน้ำมันมะกอกช่วยให้ผิวยืดหยุ่นดีก็มีส่วนช่วยลดอาการหน้าท้องแตกลายได้

– พักผ่อนให้เพียงพอในเวลากลางวันและเข้านอนแต่หัวค่ำ? ถ้ายังทำงานอยู่ควรใช้เวลาในช่วงพักกลางวันยกขาสูง เพื่อให้เลือดไหลเวียนจากบริเวณขาได้ดีขึ้น? และทำลักษณะเดียวกันเมื่อกลับบ้าน

– ไม่ควรก้มยกของหนัก? ถ้าจำเป็นควรนั่งยองๆ แล้วค่อยๆ ยก

– หากเป็นตะคริว การเกิดตะคริวเกิดจากระดับของแคลเซียมในร่างกายลดลง เนื่องจากมีการนำไปใช้เพิ่มขึ้นในการสร้างกระดูกทารก ดังนั้นหากนั่งหรือยืนนานๆ เลือดไหลเวียนไม่ดี จะมีการขาดแคลเซียมในกล้ามเนื้อได้ การป้องกันคือ พยายามออกกำลังกายสม่ำเสมอ ขยับเปลี่ยนท่าเมื่อนั่งหรือยืนนานๆ จะช่วยให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น หากเป็นตะคริวแล้ว การรักษาคือ การรับประทานแคลเซียมเสริมมากขึ้น รับประทานปลาตัวเล็ก นม ผลิตภัณฑ์อาหารจากนมเพิ่มขึ้น

– สวมรองเท้าส้นเตี้ย การใส่สันสูงจะส่งเสริมให้เกิดการปวดหลัง เนื่องจากขณะตั้งครรภ์ คุณแม่ต้องแบกน้ำหนักท้อง ทำให้กระดูกสันหลังระดับเอวแอ่นมากขึ้น การใส่ส้นสูงจะส่งเสริมภาวะนี้ การปวดหลังจึงเพิ่มขึ้นได้

– การมีเพศสัมพันธ์สามารถมีได้ตามปกติ? ถ้าไม่มีภาวะแทรกซ้อนอันได้แก่ เลือดออกจากโพรงมดลูกหรือภาวะแท้งคุกคาม ท่าในการมีเพศสัมพันธ์เมื่อท้องใหญ่ขึ้น อาจจะใช้ท่าที่คุณแม่นั่งอยู่ทางด้านบนหรือคุณแม่หันหลังคุกเข่าและใช้มือวางบนพื้นได้

– หลีกเลี่ยงการย้อมผมหรือดัดผมระหว่างตั้งครรภ์ เพราะจะได้รับสารเคมีจากยาย้อมหรือยาดัดผมซึ่งส่งผลต่อทารกในครรภ์ได้

– สำหรับผู้ที่มีฝ้าเพิ่มขึ้นจากการตั้งครรภ์ หลังคลอดมักจะค่อยๆ หายไปเอง ไม่ควรรับประทานยาแก้ฝ้า หรือซื้อยามาทาเอง ควรหลีกเลี่ยงการถูกแดดเป็นเวลานานๆ

– ท่านั่งที่เหมาะสมคือ ควรนั่งให้หลังตรง หลัง ไหล่ และสะโพกพิงพนักเก้าอี้ วางแขนที่เท้าแขนหรือบนตัก เท้าราบกับพื้นหรือวางบนที่วางเท้า แยกเข่าเล็กน้อย

– ท่ายืนที่เหมาะสมคือ ยืนตรงเท้าแยกจากกันเล็กน้อย ลงน้ำหนักให้เท่ากันทั้งสองข้าง เข่าตรง ยืดอก ปล่อยไหล่ตามสบาย

– ท่านอนที่เหมาะสมเมื่อครรภ์ใหญ่ขึ้นในปลายไตรมาสที่สอง ควรนอนตะแคง งอขาข้างหนึ่งและใช้หมอนรองไว้ เพราะการนอนหงายจะอึดอัดเนื่องจากขนาดมดลูกที่ใหญ่จะกดทับเส้นเลือดใหญ่ที่อยู่ข้างใต้และทำให้หายใจไม่สะดวก

– เมื่ออายุครรภ์ยังเล็ก การสัมผัสจะช่วยกระตุ้นพัฒนาการได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ เมื่ออายุครรภ์ราว 24 สัปดาห์ ทารกจะเริ่มได้ยินเสียง การเปิดเพลงบรรเลง เพลงช้าๆ เพลงคลาสิก ช่วยเรื่องอารมณ์และกระตุ้นการพัฒนาการ การตั้งชื่อเล่นโดยเรียกชื่อทารก ร่วมกับคุณพ่อและคุณแม่พูดคุยกับในเรื่องต่างๆ จะช่วยสานความสัมพันธ์ความคุ้นเคยระหว่างทารกกับเสียงคุณพ่อและคุณแม่ เมื่ออายุครรภ์ 28 สัปดาห์ ทารกจะเริ่มมองเห็น การกระตุ้นโดยใช้ไฟฉายส่องบริเวณท้องแม่ สอนและพูดคุยกับทารก จะกระตุ้นพัฒนาการทางตาและระบบประสาทได้

อาการอะไรบ้างที่ต้องรีบปรึกษาแพทย์ในไตรมาสที่สอง?

– มีไข้สูง ไม่ทราบสาเหตุ

– ปัสสาวะแสบ ขัด หรือเป็นเลือด

– ปวดท้องน้อยรุนแรง หรือมีเจ็บครรภ์ ท้องแข็งเป็นก้อนเป็นพักๆ นอนพักแล้วอาการไม่ดีขึ้น

– เลือดออกจากช่องคลอด ซึ่งอาจเป็นอาการนำของการแท้ง หรือการตกเลือดก่อนคลอด

– ทารกในครรภ์ดิ้นน้อย หรือไม่ดิ้น

– ท้องลดขนาดลง หรือน้ำหนักลดโดยไม่มีสาเหตุ

– ตกขาวผิดปกติ มีกลิ่นเหม็นหรือคันช่องคลอด

 

บทความโดย รศ.นายแพทย์ภาวิน พัวพรพงษ์

 

 

การเปลี่ยนแปลงในช่วงระยะไตรมาสแรก

การเปลี่ยนแปลงในช่วงระยะไตรมาสแรก

? ? ? ? ? ??การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระหว่างการตั้งครรภ์เป็นสิ่งที่คุณแม่ต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจ เพื่อจะได้ปฏิบัติตัวได้อย่างเหมาะสม โดยปกติจะแบ่งการเปลี่ยนแปลงระหว่างการตั้งครรภ์เป็นสามช่วง ช่วงละสามเดือนหรือเรียกเป็นไตรมาส เรามาเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงในแต่ละไตรมาสกันเถอะ

?

การเปลี่ยนแปลงในช่วงระยะไตรมาสแรก

??????????? หากนับจากประจำเดือนครั้งสุดท้าย ในสัปดาห์ที่สองที่เกิดการตกไข่? และเกิดการปฏิสนธิขึ้นในสัปดาห์ที่สามจะมีการฝังตัวของตัวอ่อนบริเวณโพรงมดลูก? หลังจากนั้น ตัวอ่อนจะเริ่มเจริญเติบโตขึ้นเรื่อยๆ จนในสัปดาห์ที่ 6 ขนาดจะประมาณเม็ดส้มเขียวหวานหรือประมาณ 4-5 มิลลิเมตร เริ่มตรวจพบการเต้นของหัวใจทารก เริ่มมีการสร้างแขนขา สัปดาห์ที่ 8 ขนาดประมาณผลสตอเบอรี่หรือประมาณ 22-24 มิลลิเมตร ซึ่งในสัปดาห์นี้ตัวอ่อนจะมีลักษณะเหมือนทารกมากขึ้นแต่ยังไม่สมบูรณ์ ศีรษะโตกว่าลำตัว เริ่มมีนิ้วมือนิ้วเท้า ใบหู ?สัปดาห์ที่ 10 ขนาดทารกประมาณลูกมะนาวหรือประมาณ 4 เซนติเมตร เริ่มมีการสร้างอวัยวะสำคัญมากขึ้น หากมีสิ่งกระตุ้นทารกสามารถอ้าปาก ขยับนิ้วมือและเท้าได้ สัปดาห์ที่ 12 ขนาดทารกในครรภ์จะยาวประมาณนิ้วก้อยหรือประมาณ 6-7 เซนติเมตร? นิ้วมือนิ้วเท้าเห็นชัดเจน อวัยวะเพศเริ่มแยกได้ว่าเป็นเพศหญิงหรือชาย (แต่จะตรวจจากคลื่นเสียงความถี่สูงจะแยกเพศได้เมื่ออายุครรภ์ราว 16-20 สัปดาห์) และมีเคลื่อนไหวของทารกให้เห็น สัปดาห์ที่ 14 ขนาดทารกในครรภ์จะยาวประมาณครึ่งฝ่ามือหรือประมาณ 8-10 เซนติเมตร? เมื่อถึงระยะนี้อาการของคุณแม่ที่พบในระยะแรกของการตั้งครรภ์ก็จะเริ่มเปลี่ยนแปลงไปโดย

– ถ้าเคยมีอาการคลื่นไส้อาเจียน หรือแพ้ท้องมาก? พอถึงสัปดาห์นี้อาการต่างๆ จะทุเลาลง

– อาการปัสสาวะบ่อยจะไม่ถี่เหมือนในช่วงแรกของการตั้งครรภ์

– อาจจะมีปัญหาเรื่องท้องผูก? เนื่องจากการเคลื่อนตัวของอุจจาระในลำไส้ช้าลงเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน

– จะรู้สึกว่าคลำยอดมดลูกได้? เหนือกระดูกหัวหน่าว

– ?เต้านมขยายขึ้นและอาจเจ็บเมื่อสัมผัส

– น้ำหนักตัวของคุณแม่เมื่อถึงระยะนี้จะเพิ่มเพียงเล็กน้อยประมาณ 1 กิโลกรัม? โดยในบางรายที่มีอาการแพ้มาก อาจไม่เพิ่มเลยก็ได้

คุณแม่จะปฏิบัติตัวอย่างไรในช่วงไตรมาสแรก??

การปฏิบัติตัวของคุณแม่ในช่วงไตรมาสแรก? สิ่งแรกที่ย้ำให้ต้องปฏิบัติคือ ?เข้ารับการฝากครรภ์ทันทีเมื่อทราบว่าทีการตั้งครรภ์? ซึ่งจะมีการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องของคุณแม่ดังนี้

– กินอาหารที่สดใหม่? โดยมีสารอาหารที่ครบถ้วนทั้งห้าหมู่ ปริมาณอาหารในแต่ละมื้อลดลงแต่เพิ่มมื้ออาหารบ่อยครั้งขึ้น อาจมีอาหารว่างช่วงสายหรือบ่ายเพิ่มขึ้น หลีกเลี่ยงอาหารมัน หรือย่อยยากเพราะอาจทำให้อาเจียนมากขึ้น งดอาหารที่ไม่สะอาด ดิบ หรือปรุงไม่สุก สำหรับคุณแม่ที่มีอาการอาเจียนมากจนน้ำหนักลด อาจรับประทานน้ำหวานระหว่างมื้ออาหาร เพราะย่อยง่ายดูดซึมเร็ว ช่วยให้พลังงานและลดการอ่อนเพลียได้ สำหรับยาแก้แพ้ท้องที่อาจใช้ได้แก่ วิตามินบีหก รับประทานสามเวลาก่อนอาหารครั้งละหนึ่งเม็ด หรือ ไดเมนไฮดริเนต (Dimenhydrinate) ขนาด 50 มิลลิกรัม รับประทานก่อนอาหารครึ่งชั่วโมง ครั้งละหนึ่งเม็ด หากมีอาการมากให้ได้ถึงวันละสามเวลา อาจพบอาการข้างเคียงคือ ง่วงซึม ปากแห้งได้

– หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด ในคุณแม่ที่มีอาการแสบร้อนบริเวณหน้าอก ไม่รับประทานอาหารจนอิ่มหรือแน่นเกินไป ค่อยๆรับประทานอาหารช้าๆ แบ่งให้อาหารแต่ละมื้อให้น้อยลง การย่อยจะเกิดได้ดีขึ้น ลดความผิดปกติจากการที่น้ำย่อยไหลย้อนเข้าไปในหลอดอาหารทำให้แสบบริเวณหน้าอก ไม่ควรนอนพักทันทีหลังรับประทานอาหารใหม่ๆ หากอาการเป็นมากอาจรับประทานยาลดกรดในกระเพาะจะช่วยลดอาการนี้ได้

– การออกกำลังกายในระหว่างมีครรภ์ อาจใช้การเดินออกกำลังหรือสามารถว่ายน้ำได้ แต่ควรทำอย่างพอเหมาะ หากมีอาการแพ้มาก อ่อนเพลีย ควรงดออกกำลังกายไปก่อน

– หากมีหน้ามืดเป็นลมเมื่อต้องยืนนานๆ ควรแก้ไขโดยการยืนสลับเท้าไปมาเพื่อให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น ร่วมกับการหายใจเข้าออกยาวๆ ลึกๆ และพักผ่อนให้เพียงพอ หากเป็นจากการคลื่นไส้และอาเจียนมาก แนะนำเรื่องการแบ่งมืออาหารเพิ่มขึ้นและรับประทานน้ำหวานเพิ่มเติม

– ไม่ควรกลั้นปัสสาวะ เพราะจะเกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ดังนั้นการเดินทางโดยรถประจำทางไกลๆ ควรหลีกเลี่ยงเพราะอาจจำเป็นต้องกลั้นปัสสาวะนานๆ

– ป้องกันอาการท้องผูกโดยดื่มน้ำมากๆ และรับประทานอาหารจำพวกผัก ผลไม้หรืออาหารที่มีกากเส้นใยสูง การรับประทานโยเกิร์ตก็ช่วยได้

– เลือกซื้อยกทรงที่พยุงทรงได้ดี เนื่องจากจะมีการขยายและคัดของเต้านม จะทำให้ผ่อนคลายไม่อึดอัด อาจทาเบบี้ออยล์หรือครีมช่วยลดการแตกของผิวหนังบริเวณเต้านมได้

– ตรวจสุขภาพฟันกับทันตแพทย์ หากพบฟันผุ สามารถอุดฟันได้ ควรหลีกเลี่ยงการถอนฟันหากทำได้ควรรักษาหลังคลอดบุตรแล้ว

– การมีเพศสัมพันธ์สามารถมีได้ตามปกติ? ถ้าไม่มีภาวะแทรกซ้อนอันได้แก่ เลือดออกจากโพรงมดลูกหรือภาวะแท้งคุกคาม

– การปฏิบัติตัวในชีวิตประจำวันอื่นๆ เหมือนปกติ แต่การเคลื่อนไหวต้องระมัดระวังเรื่องการโดนกระแทกบริเวณหน้าท้อง การหกล้มและการก้มยกของหนัก

– หลีกเลี่ยงการใช้ยาโดยไม่จำเป็น หากไม่สบายควรปรึกษาแพทย์และแจ้งแพทย์ทุกครั้งว่าตั้งครรภ์ เพื่อแพทย์จะได้เลือกใช้ยาอย่างเหมาะสมโดยไม่เป็นอันตรายกับทารกในครรภ์

– ท่านั่ง ท่ายืน ท่านอน ที่เหมาะสมยังคงเหมือนกับปกติ ก่อนการตั้งครรภ์

อาการอะไรบ้างที่ต้องรีบปรึกษาแพทย์ในไตรมาสแรก?

– เลือดออกจากช่องคลอด ซึ่งอาจเป็นอาการนำของการแท้ง หรือท้องนอกมดลูก

– ปัสสาวะแสบ ขัด หรือเป็นเลือด

– ปวดท้องน้อยรุนแรง

– มีไข้สูง ไม่ทราบสาเหตุ

– คลื่นไส้อาเจียน จนน้ำหนักลดมากกว่า 1 กิโลกรัม

– ตกขาวผิดปกติ มีกลิ่นเหม็นหรือคันช่องคลอด

 

 

บทความโดย รศ.นายแพทย์ภาวิน พัวพรพงษ์