คลังเก็บป้ายกำกับ: การเปลี่ยนแปลงและการปฏิบัติตัวของมารดาหลังคลอด

การเปลี่ยนแปลงและการปฏิบัติตัวของมารดาหลังคลอด

w42

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? หลังคลอดมารดาจะสามารถจะปฏิบัติกิจกรรมประจำวันได้ โดยร่างกายของมารดาจะค่อยๆ กลับมาปกติทีละน้อย ในมารดาที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มารดาควรจะมีเวลาพักระหว่างวันและในช่วงที่ทารกหลับ เนื่องจากต้องตื่นมาให้นมทารกในช่วงกลางคืน การพักผ่อนไปพร้อมกับทารกจะทำให้มารดาไม่อ่อนเพลียหรือเหนื่อยล้า ควรหลีกเลี่ยงการทำงานหนัก การออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาหนักที่หนักเกินไป การยกของหนักเกินกว่า 4.5 กิโลกรัมโดยอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนของแผลจากการผ่าตัดคลอด หรือทำให้เกิดการภาวะกระบังลมหย่อนในช่วงที่กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นที่ยึดมดลูกยังไม่มีแรงยึดตึงมดลูกกลับเข้าที่ สำหรับการเดินช้าๆ หรือมีความเร็วปานกลาง การแกว่งแขน การเต้นแอโรบิกหรือการออกกำลังกายเบาๆ สามารถทำได้1-3 โดยผลของการออกกำลังกาย เช่น โยคะ และพิลาทิส (pilates) จะช่วยในเรื่องสุขภาพกาย สุขภาพจิต ลดความอ่อนเพลีย ลดอาการซึมเศร้าและเพิ่มคุณภาพชีวิตของสตรีหลังคลอด โดยไม่มีผลต่อการให้ปริมาณน้ำนมและการให้นมบุตร4,5 ในประเทศไทยความเชื่อเรื่องการอยู่ไฟ การอาบน้ำร้อน ไม่สระผม ห้ามโดนลมและการกินน้ำอุ่น ยังพบอยู่ในชนบท ซึ่งต้องการการสื่อสารและการสร้างความเข้าใจในเรื่องการปฏิบัติตัวหลังคลอด6

ในมารดาที่ผ่าตัดคลอดอาจต้องระมัดระวังเรื่องการขึ้นบันไดหรือขับรถ เนื่องจากกระบวนการการขึ้นบันไดหรือการขับรถจะมีการเกร็งของกล้ามเนื้อหน้าท้องที่อาจมีผลทำให้เกิดการเจ็บระบมได้โดยเฉพาะหากแผลผ่าตัดในแนวเดียวกับลำตัวหรือแนวตั้ง การลุกขึ้นจากเตียงควรตะแคงตัวและใช้มือเท้าช่วยในการพยุงตัว เช่นเดียวกันมารดาที่มีแผลจากการตัดฝีเย็บมารดาจะปวดหรือขัดเมื่อต้องยกขาขณะขึ้นบันได หากสามารถทำได้ ควรแนะนำมารดาควรนอนชั้นล่างของบ้านและมีห้องน้ำอยู่ใกล้ๆ หรือในห้องเพื่อดูแลเรื่องน้ำคาวปลาและดูแลแผล สำหรับมารดาที่ผ่าตัดคลอดควรรอประมาณ 4-5 สัปดาห์หลังคลอดเพื่อให้ความแข็งแรงของแผลดีก่อนการออกกำลังการหรือยกของหนัก ในมารดาที่คลอดปกติทางช่องคลอด การบริหารหน้าท้องสามารถจะบริหารได้เร็วประมาณ 1-2 สัปดาห์หลังคลอด

หนังสืออ้างอิง

  1. Zourladani A, Zafrakas M, Chatzigiannis B, Papasozomenou P, Vavilis D, Matziari C. The effect of physical exercise on postpartum fitness, hormone and lipid levels: a randomized controlled trial in primiparous, lactating women. Arch Gynecol Obstet 2014.
  2. Ko YL, Yang CL, Chiang LC. Effects of postpartum exercise program on fatigue and depression during “doing-the-month” period. J Nurs Res 2008;16:177-86.
  3. Davies GA, Wolfe LA, Mottola MF, et al. Exercise in pregnancy and the postpartum period. J Obstet Gynaecol Can 2003;25:516-29.
  4. Ko YL, Yang CL, Fang CL, Lee MY, Lin PC. Community-based postpartum exercise program. J Clin Nurs 2013;22:2122-31.
  5. Dritsa M, Da Costa D, Dupuis G, Lowensteyn I, Khalife S. Effects of a home-based exercise intervention on fatigue in postpartum depressed women: results of a randomized controlled trial. Ann Behav Med 2008;35:179-87.
  6. Kaewsarn P, Moyle W, Creedy D. Traditional postpartum practices among Thai women. J Adv Nurs 2003;41:358-66.