คลังเก็บป้ายกำกับ: การเปลี่ยนแปลงของเต้านมจากช่วงตั้งครรภ์ถึงระยะให้นมบุตร

การเปลี่ยนแปลงของเต้านมจากช่วงตั้งครรภ์ถึงระยะให้นมบุตร

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

                    เต้านมจะมีการเปลี่ยนแปลงในระยะตั้งครรภ์จนถึงให้นมบุตร ซึ่งสามารถแบ่งเป็นสองช่วงหลัก คือระยะสร้างต่อมน้ำนม (mammogenesis) และระยะสร้างน้ำนม (lactogenesis) โดยในระยะเริ่มตั้งครรภ์จะเป็นระยะสร้างต่อมน้ำนม ซึ่งจะมีการพัฒนาการสร้างเซลล์สร้างน้ำนมที่มีขนาดและรูปร่างที่แตกต่างกันพร้อมกับมีการแตกแขนงของท่อน้ำนมออกมากขึ้นในเนื้อเยื่อเต้านม เต้านมจะขยาย ตึงคัดและเจ็บ หัวนมจะมีสีเข้ม คล้ำขึ้น เมื่อการตั้งครรภ์เข้าสู่ไตรมาสที่สอง จึงเริ่มมีการสร้างน้ำนม แต่โดยทั่วไปจะยังไม่มีน้ำนมไหลออกมา จนกระทั่งถึงระยะหลังคลอด จากกลไกของฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงจะกระตุ้นให้มีการหลั่งน้ำนม โดยการที่จะส่งเสริมให้น้ำนมมาดี ควรช่วยให้ทารกเริ่มกินนมแม่เร็วตั้งแต่ในระยะแรกหลังคลอด จัดท่าให้นมที่เหมาะสม ให้นมบ่อย ๆ และให้นมจนเกลี้ยงเต้า1

เอกสารอ้างอิง

  1. ภาวิน พัวพรพงษ์. รอบรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. นครนายก: ซี.ที. ดอทคอม; 2558.

การเปลี่ยนแปลงของเต้านมจากช่วงตั้งครรภ์ถึงระยะให้นมบุตร

PICT0031

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? เต้านมจะมีการเปลี่ยนแปลงในระยะตั้งครรภ์ในสองช่วงหลัก คือระยะสร้างต่อมน้ำนม (mammogenesis) และระยะสร้างน้ำนม (lactogenesis)

ในระยะสร้างต่อมน้ำนม (mammogenesis) จะเริ่มเมื่อตั้งครรภ์ โดยจะมีการสร้างเซลล์สร้างน้ำนมที่มีขนาดและรูปร่างที่แตกต่างกันพร้อมกับมีการแตกแขนงของท่อน้ำนมออกมากขึ้นในเนื้อเยื่อเต้านม เต้านมจะขยาย ตึงคัดและเจ็บ หัวนมจะมีสีเข้ม คล้ำขึ้น

ในระยะสร้างน้ำนม จะเริ่มประมาณ 16-20 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ โดยจะมีการสร้างโปรตีนและเอนไซม์ที่จำเป็นในการสร้างและหลั่งน้ำนม1 ระยะแรกจะเรียกเป็นระยะสร้างน้ำนมระยะที่ 1 ระยะนี้ต่อมเต้านมจะมีความพร้อมในการสร้างน้ำนมซึ่งเซลล์สร้างน้ำนมจะมีการสะสมไขมัน น้ำตาลแลคโตส เคซีน (casein) ?และอัลฟาแลคโตอัลบูมิน (?-lactoalbumin)2 อย่างไรก็ตาม ในระหว่างการตั้งครรภ์จะไม่มีการหลั่งน้ำนมเนื่องจากมารดาจะมีระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนและเอสโตรเจนที่สร้างจากรกสูงคอยยับยั้งการหลั่งน้ำนม ระยะสร้างน้ำนมระยะที่ 2 เมื่อมีการคลอดรก ระดับของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนและเอสโตรเจนจะลดลงในทันทีในขณะที่มีฮอร์โมนโปรแลคตินสูง จะกระตุ้นให้เกิดการสร้างหัวน้ำนม เกิดอาการตึงคัดเต้านม องค์ประกอบของน้ำนมจะเปลี่ยนแปลงโดยมีปริมาณโซเดียมและคลอไรด์ลดลง มีปริมาณน้ำตาลแลคโตสสูงขึ้น สำหรับปริมาณภูมิคุ้มกันและแลตโตเฟอริน (lactoferrin) จะมีปริมาณสูงในช่วงแรกหลังคลอดและลดความเข้มข้นลงเมื่อปริมาณน้ำนมสูงขึ้น ระยะสร้างน้ำนมระยะที่สองจะอยู่ในช่วงหลังคลอด 3-7 วัน ในระยะนี้การสร้างน้ำนมจะสัมพันธ์กับฮอร์โมนที่ลดลงเป็นหลัก3 ระยะสร้างน้ำนมระยะที่ 3 ปริมาณน้ำนมจะสัมพันธ์กับการกระตุ้นโดยการดูดนมวันละ 8-12 ครั้ง และการให้นมจนเกลี้ยงเต้า การให้นมห่างหรือปริมาณแต่ละครั้งน้อย มีน้ำนมค้างอยู่ในเต้านมจะทำให้มีการสร้างน้ำนมน้อยลง

หนังสืออ้างอิง

1.???????? Neville MC, Morton J. Physiology and endocrine changes underlying human lactogenesis II. J Nutr 2001;131:3005S-8S.

2.???????? Neville MC, Morton J, Umemura S. Lactogenesis. The transition from pregnancy to lactation. Pediatr Clin North Am 2001;48:35-52.

3.???????? Kulski JK, Hartmann PE, Martin JD, Smith M. Effects of bromocriptine mesylate on the composition of the mammary secretion in non-breast-feeding women. Obstet Gynecol 1978;52:38-42.