คลังเก็บป้ายกำกับ: การเจ็บเต้านม

ภาวะลิ้นติด (tongue-tie) กับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

รูปแสดงภาวะลิ้นติดจาก Block, SL.1

เขียนโดย รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

ภาวะลิ้นติดเป็นภาวะที่ทีมแพทย์ผู้ดูแล คุณแม่และครอบครัวมีความวิตกกังวลถึงผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ พบมีอุบัติการณ์ที่แตกต่างกันตั้งแต่ร้อยละ 1.7-10.72-4 เนื่องจากมีเกณฑ์การวินิจฉัยที่หลากหลาย โดยมีความสัมพันธ์กับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ได้แก่ การเจ็บเต้านม การเข้าเต้าไม่ดี ทารกน้ำหนักขึ้นไม่ดี และการหยุดนมแม่เร็ว นอกจานี้ยังอาจพบมีความยากในการออกเสียงตัวอักษรภาษาอังกฤษ T, D, Z, S, N, J, L, CH, TH, DG และ R4,5 แต่ไม่ได้พบว่าเป็นสาเหตุของการพูดช้า5 สำหรับการเลือกทารกที่ควรจะได้รับการผ่าตัดรักษา โดยจากข้อมูลในปัจจุบันจะใช้เกณฑ์การวินิจฉัยภาวะลิ้นติดร่วมกับการมีปัญหาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่โดยวัดคะแนนการเจ็บเต้านม คะแนนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หรือคะแนนการเข้าเต้า โดยการผ่าตัดรักษานิยมใช้การผ่าตัด frenotomy หรือ frenulotomy ผลลัพธ์ของการรักษาได้ผลดีและไม่พบภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง2,3,6

 

หนังสืออ้างอิง

 

1.???????????? Block SL. Ankyloglossia: when frenectomy is the right choice. Pediatr Ann 2012;41:14-6.

2.???????????? Geddes DT, Langton DB, Gollow I, Jacobs LA, Hartmann PE, Simmer K. Frenulotomy for breastfeeding infants with ankyloglossia: effect on milk removal and sucking mechanism as imaged by ultrasound. Pediatrics 2008;122:e188-94.

3.???????????? Edmunds J, Miles SC, Fulbrook P. Tongue-tie and breastfeeding: a review of the literature. Breastfeed Rev 2011;19:19-26.

4.???????????? Chaubal TV, Dixit MB. Ankyloglossia and its management. J Indian Soc Periodontol 2011;15:270-2.

5.???????????? Lalakea ML, Messner AH. Ankyloglossia: does it matter? Pediatric Clinics of North America 2003;50:381-97.

6.???????????? Buryk M, Bloom D, Shope T. Efficacy of neonatal release of ankyloglossia: a randomized trial. Pediatrics 2011;128:280-8.

?