คลังเก็บป้ายกำกับ: การเจ็บเต้านมและคลำพบก้อน

การเจ็บเต้านมและคลำพบก้อนจากท่อน้ำนมอุดตัน

IMG_0761 small

 

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? การเจ็บเต้านมและคลำได้ก้อนที่เต้านมจากท่อน้ำนมอุดตัน ภาษาอังกฤษ เรียกว่า plugged duct หรือ clogged duct หรือ cake breast มารดาจะคลำพบก้อนที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของเต้านม ลักษณะก้อนจะแข็งตึง ขอบเขตไม่ชัดเจน เจ็บตรงบริเวณก้อน โดยไม่มีไข้ ท่อน้ำนมที่เกิดการอุดตันนี้จะทำให้ก้อนจากการขังของน้ำนมในท่อน้ำนมที่ไม่สามารถจะระบายออกได้ ซึ่งหากไม่ได้รับการดูแลหรือปฏิบัติอย่างเหมาะสม อาจมีไข้ ซึ่งจะนำไปสู่การวินิจฉัยเต้านมอักเสบหรือฝีที่เต้านมได้

??????????????? การให้การดูแลและแนะนำในปัญหานี้ ควรเริ่มต้นด้วยการให้ลูกดูดนมข้างที่มีท่อน้ำนมอุดตันก่อน และควรเลือกท่าให้นมลูกที่วางตำแหน่งคางของทารกตรงกับตำแหน่งของก้อน เพื่อให้ทารกได้ดูดในท่อน้ำนมที่มีการอุดตันได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำให้น้ำนมที่อุดตันอยู่หลุดออก โดยอาจช่วยนวดคลึงเบาๆ บริเวณก้อนร่วมด้วย ซึ่งโดยทั่วไป ก้อนจากท่อน้ำนมอุดตัน เมื่อให้ทารกได้ดูดนมได้ดีในท่อน้ำนมท่ออุดตัน ก้อนมักจะหายไปใน 24-48 ชั่วโมง แต่หากอาการก้อนไม่หายไป มีอาการบวมแดงเพิ่มขึ้น มีไข้ ลักษณะสื่อถึง อาการของเต้านมอักเสบ ซึ่งมารดาควรต้องปรึกษาแพทย์ เนื่องจากอาจจำเป็นมีการให้ยาปฏิชีวนะร่วมในการรักษาด้วย

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.

การเจ็บเต้านมและคลำพบก้อน

inverted nipple6

 

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? การเจ็บเต้านมและคลำได้ก้อนที่เต้านมในระหว่างการให้นมบุตรหรือหลังคลอด หากอาการหรือก้อนที่ตรวจพบเพิ่งจะตรวจเจอ ส่วนใหญ่ปัญหาน่าจะมาการปัญหาของการให้นมลูก ซึ่งเกิดจากการขังของน้ำนมจากท่อน้ำนมอุดตัน การมีเต้านมอักเสบ รวมถึงการเป็นฝีที่เต้านม อย่างไรก็ตาม สาเหตุอื่นๆ ที่สามารถพบในสตรีทั่วไป ได้แก่ การเป็นถุงน้ำ ก้อนเนื้อ หรือมะเร็งที่เต้านมก็อาจเป็นได้ แต่พบน้อยกว่า ซึ่งลักษณะที่ตรวจพบของก้อนจากสาเหตุต่างๆ จะมีลักษณะที่แตกต่างกัน ดังนั้น ไม่ว่าในระหว่างการตั้งครรภ์หรือหลังคลอด มารดาควรตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างสม่ำเสมอ โดยแนะนำการตรวจระหว่างการอาบน้ำ การคลำตรวจเต้านมอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้มารดาสามารถตรวจพบความผิดปกติตั้งแต่แรกเริ่ม ซึ่งหากสาเหตุของก้อนได้รับการแก้ไขอย่างเหมาะสม จะลดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง และช่วยให้มารดาสามารถให้นมลูกอย่างมีประสิทธิภาพ

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.