คลังเก็บป้ายกำกับ: การหยุดเลี้้ยงลูกด้วยนมแม่

เทคนิคการทำให้นมแม่มามาก (ตอนที่ 2)

Mom

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? การเริ่มให้ทารกเริ่มดูดนมแม่ภายในครึ่งชั่วโมงแรกหลังคลอด การให้ทารกได้ดูดนมแม่เร็วจะกระตุ้นให้ระดับฮอร์โมนโปรแลคตินขึ้นสูง และกระตุ้นฮอร์โมนออกซิโตซินที่ช่วยในการหลั่งน้ำนม ทำให้นมแม่มาเร็วและพอเพียง และเพิ่มระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นานขึ้น1

ความถี่ของการให้ทารกดูดนมแม่ จำเป็นต้องให้ทารกดูดนมแม่นานอย่างน้อย 15 นาที ทุก 2-3 ชั่วโมง นั่นคือวันละ 8-12 ครั้ง การดูดนมของทารกแต่ละครั้งจะกระตุ้นฮอร์โมนโปรแลคตินขึ้นสูงและคงอยู่ในระดับที่สูงเพียงพอในการสร้างนมแม่2 ดังนั้นเมื่อมารดาเข้าใจในเรื่องนี้ การที่มารดาจะทำให้ทารกดูดนมได้บ่อย เทคนิคหนึ่งคือ การนอนร่วมเตียงเดียวกับทารก3,4 ?และเปิดโอกาสให้มารดาอยู่กับทารกตลอด 24 ชั่วโมง มีช่วงเวลาที่สงบ บรรยากาศที่เป็นส่วนตัว จะลดความอายของมารดาในการให้ทารกได้สัมผัสกับหน้าอกมารดาได้นาน และทารกได้ดูดนมแม่ได้ตามต้องการ ให้เวลาให้มารดาได้กระตุ้นทารกให้ดูดนมแม่จนเกลี้ยงเต้า การจำกัดผู้เข้าเยี่ยมหรือเวลาที่เข้าเยี่ยมจะช่วยให้มารดาได้มีเวลาพักผ่อนและมีเวลาส่วนตัวในการให้นมทารกได้อย่างเหมาะสม5

หนังสืออ้างอิง

1.???????? Murray EK, Ricketts S, Dellaport J. Hospital practices that increase breastfeeding duration: results from a population-based study. Birth 2007;34:202-11.

2.???????? Neifert M, Bunik M. Overcoming clinical barriers to exclusive breastfeeding. Pediatr Clin North Am 2013;60:115-45.

3.???????? McCoy RC, Hunt CE, Lesko SM, et al. Frequency of bed sharing and its relationship to breastfeeding. J Dev Behav Pediatr 2004;25:141-9.

4.???????? Tan KL. Factors associated with exclusive breastfeeding among infants under six months of age in peninsular malaysia. Int Breastfeed J 2011;6:2.

5.???????? Morrison B, Ludington-Hoe S, Anderson GC. Interruptions to breastfeeding dyads on postpartum day 1 in a university hospital. J Obstet Gynecol Neonatal Nurs 2006;35:709-16.