รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
ความเชื่อมั่นว่าตนเองสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญและส่งผลต่อความสำเร็จของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แม้ว่าในสมัยก่อนมักมีความเชื่อว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นสัญชาตญาณที่มารดาทุกคนต้องทำได้ แต่ยุคสมัยเปลี่ยนไป แม่ที่เป็นมารดาจะมีความห่างไกลจากประสบการณ์การเห็นแม่ของแม่ คนในบ้าน หรือเพื่อนบ้านให้นมลูก และการขาดผู้ที่มีประสบการณ์ในการให้นมลูกอยู่ในครอบครัวที่จะคอยแนะนำและช่วยเหลือมารดาหากมารดามีปัญหาในการให้นมแม่ เนื่องจากการที่เป็นครอบครัวเดี่ยวซึ่งมีแนวโน้มมากขึ้น ขณะที่อัตราการเกิดของประชากรมีแนวโน้มลดลงเรื่อย ๆ ดังนั้น ความจำเป็นในการสอนมารดาในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จึงมีความสำคัญ และจากการศึกษาวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มชนิดมีกลุ่มควบคุม (randomized controlled trial) พบว่า การสอนมารดาเรื่องาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระหว่างการฝากครรภ์จะช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นของมารดาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และยังมีส่วนช่วยในการแก้ปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาในระยะหลังคลอดได้1 จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่บุคลากรทางการแพทย์ควรจัดให้มีการสอนการเลี้ยงลูกด้วยนมระหว่างการฝากครรภ์โดยจัดให้เป็นงานประจำ
เอกสารอ้างอิง
1. Shafaei FS, Mirghafourvand M, Havizari S. The effect of prenatal counseling on breastfeeding self-efficacy and frequency of breastfeeding problems in mothers with previous unsuccessful breastfeeding: a randomized controlled clinical trial. BMC Womens Health 2020;20:94.