รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ? เรื่องที่ควรให้คำปรึกษาก่อนมารดากลับบ้าน ได้แก่
- การจัดท่าในการให้นมลูกและการเข้าเต้า
- ความถี่และระยะเวลาที่ให้นมลูก
- การขับถ่ายของทารก
- อาการตัวเหลืองในทารกแรกเกิด
- อาการหรือความผิดปกติที่ต้องมาปรึกษาแพทย์
- ข้อมูลของหน่วยงานที่สนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในพื้นที่ เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ หรือสื่อสังคมออนไลน์ที่จะช่วยเหลือมารดาได้
? ? ? ? ?สำหรับลักษณะการให้คำปรึกษาอาจพิจารณาตามความเหมาะสม หากให้คำปรึกษาเป็นกลุ่ม มารดาในกลุ่มอาจแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้ข้อมูลที่หลากหลาย หากให้คำปรึกษารายบุคคล มารดาจะได้ข้อมูลที่ตรงกับเรื่องที่มีความต้องการรู้หรือตรงกับปัญหาเฉพาะเรื่อง การใช้แผ่นพับหรือการใช้วิดีโอสามารถอาจช่วยลดระยะเวลาในการให้คำปรึกษาลงและใช้กำลังที่น้อยลงได้
เอกสารอ้างอิง
- The American of Obstetricians and Gynecologist, American Academy of Pediatrics. Breastfeeding handbook for physicians. 2nd edition. 2014.
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
??????????????? การประสบความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ประเมินได้จากระยะเวลาของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว ไม่ได้วัดเฉพาะการเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระยะแรก การให้ความใส่ใจติดตามดูแลทารกอย่างเป็นระยะๆ จะช่วยให้คำปรึกษาและแก้ปัญหาในระหว่างการให้นมลูกให้กับมารดาได้ ส่วนการเตรียมครอบครัวเพื่อให้เข้าใจและมีความพร้อมในการช่วยสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ควรมีการเตรียมตั้งแต่ในระยะก่อนการคลอด สำหรับหลักในการให้คำปรึกษาที่จะให้กับมารดา ควรมีหลักดังนี้
- เข้าใจได้ง่าย
- ตรงประเด็นหรือตรงกับเรื่องที่ต้องการสื่อสาร
- คำนึงถึงค่านิยม วัฒนธรรม และความเชื่อในแต่ละสังคม
? ? ? ? ? ? ? ?การให้คำปรึกษาจำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ เนื่องจาก ในระยะหลังคลอดใหม่ๆ มารดาจะมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ซึ่งจะมีผลต่ออารมณ์ และมารดายังมีอาการอ่อนเพลียจากการคลอดด้วย ซึ่งจะทำให้มารดามีอาการต่อต้านหรือขาดความสนใจหากข้อมูลที่ให้มีมาก ไม่ตรงกับความต้องการหรือสิ่งที่มารดาอยากรู้ หรือขัดกับขนบธรรมเนียมประเพณี
เอกสารอ้างอิง
- The American of Obstetricians and Gynecologist, American Academy of Pediatrics. Breastfeeding handbook for physicians. 2nd edition. 2014.
แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)