คลังเก็บป้ายกำกับ: การพัฒนาการคิดภาระงานและผลิตภาพทางการพยาบาลของคลินิกนมแม่

การพัฒนาการคิดภาระงานและผลิตภาพทางการพยาบาลของคลินิกนมแม่ ตอนที่ 10

ภาวิน พัวพรพงษ์, นงเยาว์ ลาวิณห์

ข้อมูลผลิตภาพทางการพยาบาลของคลินิกนมแม่พบว่าสูงร้อยละ 230.90-279.76 ซึ่งแสดงว่าภาระงานที่คลินิกนมแม่นั้นมีมากเมื่อเทียบกับจำนวนบุคลากรที่ทำงานอยู่จริง สอดคล้องกับการคิดภาระงานและอัตรากำลังที่คิดคำนวณได้ ดังนั้น จะเห็นว่าในการดำเนินงานการเปิดคลินิกนมแม่นั้น มีภาระงานที่เป็นกลุ่มมารดาหลังคลอดที่จำเป็นต้องนัดติดตามดูแลเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่คลินิกนมแม่หรือเป็นภาระงานจากการโทรศัพท์ติดตามเยี่ยมรองรับอยู่แล้ว ในการวางแผนกำลังคนเพื่อจัดสรรในการตั้งคลินิกนมแม่ อาจพิจารณาได้จากจำนวนการคลอดที่มีในโรงพยาบาล โดยนำมาคำนวณตามอัตราการนัดติดตามที่คลินิกนมแม่และการโทรศัพท์ติดตาม จะทำให้ผู้บริหารสามารถเห็นได้ถึงจำนวนอัตราของพยาบาลที่ต้องการหรือผู้ช่วยพยาบาลที่ต้องการได้ อย่างไรก็ตาม หากมีการเปิดให้บริการคลินิกนมแม่แล้ว กลุ่มผู้รับบริการที่เข้ามาปรึกษาเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ด้วยตนเองอาจมีเพิ่มขึ้น การปรับอัตรากำลังให้เหมาะสมจำเป็นจะต้องมีการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นระยะ ๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ทันสมัยและสอดคล้องกับภาระงานที่ปฏิบัติงานอยู่จริง

เอกสารอ้างอิง

  1. . Knowledge, attitudes and practices regarding breastfeeding support among village health volunteers in Nakhon Nayok, Thailand. . Thai J Obstet and Gynaecol 2016;24:89-96.
  2. . Nursing workload and patient safety–a mixed method study with an ecological restorative approach. Rev Lat Am Enfermagem 2013;21 Spec No:146-54.
  3. . Implementation of work sampling methodology. Nurs Res 1994;43:120-3.
  4. . Nursing workload in the acute-care setting: A concept analysis of nursing workload. Nurs Outlook 2016;64:244-54.
  5. -Pallas L, et al. Nursing staffing, nursing workload, the work environment and patient outcomes. Appl Nurs Res 2011;24:244-55.
  6. . A human factors framework and study of the effect of nursing workload on patient safety and employee quality of working life. BMJ Qual Saf 2011;20:15-24.

การพัฒนาการคิดภาระงานและผลิตภาพทางการพยาบาลของคลินิกนมแม่ ตอนที่ 9

ภาวิน พัวพรพงษ์, นงเยาว์ ลาวิณห์

ในส่วนของค่าบริการที่เรียกเก็บได้ในอันดับที่สองและที่สาม ได้แก่ ค่าบริการจากการนวดเต้านมนั้น ให้บริการในกรณีมีเต้านมคัดตึง และค่าบริการจากการใช้เครื่องปั๊มนมนั้น ให้บริการในกรณีที่มารดาวางแผนจะเก็บน้ำนม มีเต้านมคัดตึง หรือมารดามีความวิตกกังวลเรื่องน้ำนมไม่เพียงพอ อาจแสดงถึงปัญหาที่นำผู้รับบริการมาปรึกษาที่คลินิกนมแม่ ซึ่งมักพบว่า ผู้รับบริการมาปรึกษาเรื่องการตึงคัดเต้านม ความวิตกกังวลเชื่อว่าตนเองมีน้ำนมน้อยหรือน้ำนมไม่เพียงพอ และในกรณีที่มารดาวางแผนจะกลับไปทำงาน ต้องเตรียมตัวบีบเก็บน้ำนมหรือปั๊มนม ซึ่งหลังจากการให้คำปรึกษา การสอนการบีบน้ำนมด้วยมือหรือการปั๊มนม การนวดเต้านมเพื่อลดอาการตึงคัด และการประเมินน้ำหนักทารกเพื่อติดตามการเจริญเติบโตของทารก ส่วนใหญ่ยังมีความจำเป็นต้องมีการนัดติดตามเพื่อให้คำปรึกษาอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งปัญหาของมารดาที่มีได้รับการแก้ไข ทำให้ลักษณะของการดูแลรักษาผู้รับบริการที่คลินิกนมแม่จะเป็นทั้งการให้คำปรึกษาและติดตามสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ซึ่งจะทำให้โอกาสที่จำนวนผู้รับบริการจะสะสมและเพิ่มขึ้นมีมาก  

สำหรับภาระงานที่คลินิกนมแม่จากการวิเคราะห์ข้อมูลต้องการบุคลากร 4-5 คน โดยความต้องการพยาบาล 2-3 คน และผู้ช่วยพยาบาล 2 คน ขณะที่ในปัจจุบันที่คลินิกนมแม่มีพยาบาล 1 คนและผู้ช่วยพยาบาล 2 คน เนื่องจากภาวะขาดแคลนพยาบาลวิชาชีพ ดังนั้น จะเห็นว่าในการบริหารจัดการงานที่ดำเนินอยู่จำเป็นต้องจัดสรรภาระงานบางอย่างที่สามารถมอบหมายให้ผู้ช่วยพยาบาลดำเนินการแทนเพื่อให้การทำงานสามารถดำเนินการต่อได้ อย่างไรก็ตาม ในระยะยาวการเพิ่มจำนวนบุคลากรให้เหมาะสมกับภาระงานที่มีนั้นจำเป็น เพื่อรักษามาตรฐานในการทำงาน ลดและป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับผู้รับบริการ รวมทั้งรองรับการพัฒนาคุณภาพงานที่เพิ่มขึ้น5 และรักษาสวัสดิภาพของบุคลากรที่ปฏิบัติงานในหน่วยงาน6 ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ ควรได้รับการพิจารณาในการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลของโรงพยาบาล

การพัฒนาการคิดภาระงานและผลิตภาพทางการพยาบาลของคลินิกนมแม่ ตอนที่ 9

ภาวิน พัวพรพงษ์, นงเยาว์ ลาวิณห์

จากการเก็บรวบรวมรายรับจากการให้บริการพบว่า ในปี 2558 คลินิกนมแม่มีรายรับ 106850 บาท ในปี 2559 มีรายรับ 135850 บาท      ซึ่งรายรับส่วนใหญ่ได้อันดับหนึ่งได้จากการให้คำปรึกษาในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ร้อยละ 43.4-53.4 ส่วนลำดับที่สองและสามได้จากการนวดเต้านมร้อยละ 21.6-31.1 และการให้บริการเครื่องปั๊มนมร้อยละ 21.9-23.3

เมื่อวิเคราะห์ในรายละเอียดของผู้รับบริการที่คลินิกนมแม่ ผู้รับบริการหลักคือมารดาหลังคลอดที่นัดมาติดตามการเลี้ยงลูกที่คลินิกนมแม่ ผู้รับบริการจะแยกเป็นผู้ป่วยประเภทที่ 1 และการโทรศัพท์ติดตามเยี่ยมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาหลังคลอด ซึ่งใช้เวลาในการสอบถามติดตาม ให้ความรู้สนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพิ่มเติมไม่เกิน 10 นาที ผู้รับบริการกลุ่มนี้ ทางคลินิกนมแม่ไม่ได้คิดค่าบริการในการให้คำปรึกษาในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เนื่องจากในผู้รับบริการที่คลอดที่ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี การนัดติดตามการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่คลินิกนมแม่ถือเป็นกระบวนการหนึ่งในการให้บริการดูแลการคลอดที่เหมารวมในค่าบริการการคลอดแล้ว ค่าบริการที่เรียกเก็บจากการให้คำปรึกษาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะเรียกเก็บจากมารดาที่มีปัญหาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่ตั้งใจมาขอคำปรึกษาหรือจากมารดาที่มาขอคำปรึกษาที่คลอดจากโรงพยาบาลอื่น ดังนั้น รายรับจากการให้บริการผู้รับบริการที่คลอดที่ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ต้องคิดต้นทุนของการให้บริการในการโทรศัพท์และนัดติดตามที่คลินิกนมแม่รวมไปในกิจกรรมของการคลอดด้วย สำหรับรายรับจากการให้บริการการให้คำปรึกษาเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จากผู้รับบริการที่ไม่ได้เป็นผู้คลอดที่นัดติดตามการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้นเพิ่มขึ้นจาก 43.4 ในปี 2558 เป็น 53.4 ในปี 2559 แสดงถึงการมารับคำปรึกษาเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพิ่มขึ้น อาจเป็นเพราะกระแสการใส่ใจเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่เพิ่มขึ้น คลินิกนมแม่เริ่มเป็นที่รู้จักเพิ่มขึ้น หรืออาจเป็นเพราะปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่พบมาขึ้น ซึ่งจำเป็นมีการศึกษาเก็บข้อมูลเพื่อการวิจัยเพิ่มเติมต่อไป

การพัฒนาการคิดภาระงานและผลิตภาพทางการพยาบาลของคลินิกนมแม่ ตอนที่ 8

ภาวิน พัวพรพงษ์, นงเยาว์ ลาวิณห์

สำหรับการคิดค่าบริการที่คลินิกนมแม่ มีการกำหนดค่าบริการตามรายการที่ให้บริการโดยอิงเทียบเคียงราคาค่าบริการกับการบริการที่ใกล้เคียงกันตามข้อกำหนดของกรมบัญชีกลาง โดยมีรายละเอียดการคิดค่าบริการตามตารางที่ 3

ตารางที่ 3 รายการการให้การรักษาพยาบาลและราคาค่าบริการที่คลินิกนมแม่

รายการการให้การรักษาพยาบาล ราคาค่าบริการ(บาท)
การให้คำปรึกษาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ 100
การให้บริการเครื่องปั๊มนม 100
การนวดและประคบเต้านม 250
การนวดเต้านม 200
การรักษาท่อน้ำนมอุดตัน 100
การทำแผลฝีที่เต้านม 100

การพัฒนาการคิดภาระงานและผลิตภาพทางการพยาบาลของคลินิกนมแม่ ตอนที่ 7

ภาวิน พัวพรพงษ์ฺ, นงเยาว์ ลาวิณห์

สำหรับผลการคำนวณภาระงานการพยาบาลพบว่า ภาระงานพยาบาลโดยรวม 0.86-0.97 ชั่วโมงต่อผู้ป่วย อัตรากำลัง และผลิตภาพทางการพยาบาลของคลินิกนมแม่แสดงรายละเอียดดังตารางที่ 2

ตารางที่ 2 ภาระงานและผลิตภาพการพยาบาลของคลินิกนมแม่

ตัวแปร ปี 2558 ปี 2559
ภาระงานการพยาบาลโดยตรง (ชั่วโมงต่อผู้ป่วย) 0.70 0.60
ภาระงานการพยาบาลโดยอ้อม (ชั่วโมงต่อผู้ป่วย) 0.27 0.26
ภาระงานการพยาบาลรวม (ชั่วโมงต่อผู้ป่วย) 0.97 0.86
ผลิตภาพทางการพยาบาล (ร้อยละของ FTE) 279.76 230.90
จำนวนบุคลากรที่ต้องการรวม (คน) 4.74 3.93
-จำนวนพยาบาลที่ต้องการ (คน) 2.84 2.36
-จำนวนผู้ช่วยพยาบาลที่ต้องการ (คน) 1.90 1.57

หมายเหตุ FTE หมายถึง 1 หน่วยของพยาบาลที่ทำงานเต็มเวลา (fulltime equivalence)