คลังเก็บป้ายกำกับ: การประเมินการให้นมลูกด้วยคะแนนการเข้าเต้า

การประเมินการให้นมลูกด้วย Breastfeeding Assessment Score

 รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

                การประเมินการให้นมลูกด้วย Breastfeeding Assessment Score (BAS)  เกณฑ์นี้ใช้ตัวแปรในการประเมิน 8 ตัวแปรคือ อายุมารดา ประสบการณ์ในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จำนวนครั้งในการเข้าเต้ายาก ระยะห่างระหว่างการให้นมลูกแต่ละครั้ง จำนวนนมผสมที่ได้รับในโรงพยาบาล การเคยได้รับการผ่าตัดเต้านมมาก่อน มารดามีความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์ และมารดาคลอดบุตรโดยใช้เครื่องดูดสุญญากาศ ข้อมูลจากการประเมินทั้งหมดนี้เป็นข้อมูลจากมารดาและทารก คะแนนจะมีช่วงตั้งแต่ -6 ถึง 10 การแปลผล หากคะแนนตั้งแต่ 8 มีอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่หลังคลอด 7-10 วันสูงร้อยละ 95 แต่หากคะแนนน้อยกว่า 8 มีโอกาสที่จะหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ร้อยละ 211 ประโยชน์ในการนำไปใช้ของเกณฑ์นี้ใช้ในการทำนายการหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพื่อวางแผนให้การสนับสนุนและช่วยเหลือในมารดาและทารกที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ สำหรับความไวของเกณฑ์การประเมินร้อยละ 80 ความจำเพาะร้อยละ 512

                  ข้อมูลของประสิทธิภาพจากการศึกษาในประเทศไทย ในการใช้เกณฑ์นี้เพื่อคัดกรองมารดาที่มีความเสี่ยงในการหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในวันที่ 10 หลังคลอด พบมีความไวร้อยละ 53.7 และความจำเพาะร้อยละ 55.8 ซึ่งไม่สามารถนำไปประโยชน์ทางคลินิกเพื่อการคัดกรองได้ อย่างไรก็ตามพบตัวแปรที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ได้แก่ อายุมารดา ประสบการณ์ในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จำนวนครั้งในการเข้าเต้ายาก และระยะห่างระหว่างการให้นมลูกแต่ละครั้ง3 เกณฑ์การประเมินการให้นมลูกด้วย Breastfeeding Assessment Score แสดงดังรูป4

เอกสารอ้างอิง

  1. Hall RT, Mercer AM, Teasley SL, et al. A breast-feeding assessment score to evaluate the risk for cessation of breast-feeding by 7 to 10 days of age. The Journal of Pediatrics 2002;141:659-64.
  2. Raskovalova T, Teasley SL, Gelbert-Baudino N, et al. Breastfeeding Assessment Score: Systematic Review and Meta-analysis. Pediatrics 2015;135:e1276-85.
  3. Phadungkiatwattana P, Prewma P. Breastfeeding assessment score, can it be used effectively in Thai population? Thai J Obstet and Gynaecol 2012;20:56-62.
  4. ภาวิน พัวพรพงษ์. รอบรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. นครนายก: ซี.ที. ดอทคอม; 2558.

 

 

 

การประเมินการให้นมลูกด้วย Mother–Infant Breastfeeding Progress Tool

 รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

                การประเมินการให้นมลูกด้วย Mother–Infant Breastfeeding Progress Tool (MIBPT)1 เกณฑ์นี้ใช้ตัวแปรในการประเมิน 8 ตัวแปรคือ มารดามีปฏิกิริยาตอบสนองต่อลักษณะการดูดนมของทารก ระยะเวลาระหว่างช่วงให้นมลูกของมารดาไม่เกิน 3 ชั่วโมง ทารกอมหัวนมและคาบลานนมพร้อมกับอ้าปากกว้าง ริมฝีปากมองเห็นปลิ้นออก สังเกตเห็นการดูดนมแรง มารดาสามารถจัดท่าให้นมได้ด้วยตนเอง มารดาสามารถนำทารกเข้าเต้าได้ หัวนมของมารดาไม่มีบาดแผลและไม่มีข้อคิดเห็นด้านลบในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ข้อมูลจากการประเมินทั้งหมดนี้เป็นข้อมูลจากมารดาและทารก ไม่มีการให้คะแนนในเกณฑ์นี้ การนำไปใช้ใช้ช่วยประเมินพฤติกรรมทารกว่าเป็นอย่างไรและมารดามีปฏิกิริยาตอบสนองต่อทารกอย่างไรขณะให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยใช้เป็นแบบตรวจสอบตามหัวข้อ (checklist) สำหรับการสอนมารดาและครอบครัวหรือใช้บ่งบอกว่ามารดาและทารกต้องการความช่วยเหลือในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ข้อมูลของประสิทธิภาพของเกณฑ์นี้ มีการศึกษาถึงความเชื่อมั่นในการให้คะแนนระหว่างบุคคล (inter-rater reliability) พบร้อยละ 79-952 เกณฑ์การประเมินการให้นมลูกด้วย Mother–Infant Breastfeeding Progress Tool แสดงดังรูป3

เอกสารอ้างอิง

  1. Johnson TS, Mulder PJ, Strube K. Mother-Infant Breastfeeding Progress Tool: a guide for education and support of the breastfeeding dyad. J Obstet Gynecol Neonatal Nurs 2007;36:319-27.
  2. Hill PD, Johnson TS. Assessment of breastfeeding and infant growth. J Midwifery Womens Health 2007;52:571-8.
  3. ภาวิน พัวพรพงษ์. รอบรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. นครนายก: ซี.ที. ดอทคอม; 2558.

 

การประเมินการให้นมลูกด้วย Lactation assessment tool

 รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

                การประเมินการให้นมลูกด้วย Lactation Assessment Tool (LAT)1 เกณฑ์นี้ใช้ตัวแปรในการประเมิน 9 ตัวแปรคือ การเข้าเต้า มุมของการอ้าปากที่เต้านม ริมฝีปากปลิ้นออก ตำแหน่งศีรษะทารก เส้นแนวของแก้มทารก ระดับความสูงของทารกที่เต้านม การหมุนหันลำตัวของทารก ความสัมพันธ์ของลำตัวทารกกับมารดา และพลศาสตร์การดูดนม ข้อมูลจากการประเมินทั้งหมดนี้เป็นข้อมูลจากทารก ไม่มีการให้คะแนนในเกณฑ์นี้ การนำไปใช้ใช้ช่วยประเมินการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาที่มีการเจ็บเต้านมขณะให้นมลูก โดยหากปฏิบัติได้ตามเกณฑ์จะลดความเจ็บปวดของเต้านมลง2,3เกณฑ์การประเมินการให้นมลูกด้วย Lactation Assessment Tool แสดงดังรูป4

เอกสารอ้างอิง

  1. Hill PD, Johnson TS. Assessment of Breastfeeding and Infant Growth. Journal of Midwifery & Women’s Health 2007;52:571-8.
  2. Cadwell K, Turner-Maffei C, Blair A, Brimdyr K, Maja McInerney Z. Pain reduction and treatment of sore nipples in nursing mothers. J Perinat Educ 2004;13:29-35.
  3. Blair A, Cadwell K, Turner-Maffei C, Brimdyr K. The relationship between positioning, the breastfeeding dynamic, the latching process and pain in breastfeeding mothers with sore nipples. Breastfeed Rev 2003;11:5-10.
  4. ภาวิน พัวพรพงษ์. รอบรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. นครนายก: ซี.ที. ดอทคอม; 2558.

การประเมินการให้นมลูกด้วย Mother-baby assessment

 รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

             การประเมินการให้นมลูกด้วย Mother-baby assessment (MBA) เกณฑ์นี้ใช้ตัวแปรในการประเมิน 5 ตัวแปรคือ สัญญาณความพร้อมในการดูดนม ท่าทางในการดูดนม การเข้าเต้าหรือการอมหัวนมและลานนม การไหลของน้ำนม และการหยุดดูดนม โดยคะแนนเต็มของเกณฑ์นี้คือ 10 คะแนน ข้อมูลจากการประเมินทั้งหมดนี้เป็นข้อมูลจากมารดาและทารก ผู้ประเมินสามารถทำการประเมินโดยพยาบาล การนำมาใช้ทำโดยใช้ติดตามพัฒนาการมารดาและทารกในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่1 ข้อมูลของประสิทธิภาพของเกณฑ์นี้ มีการศึกษาถึงความเชื่อมั่นในการให้คะแนนระหว่างบุคคล (inter-rater reliability) พบว่ามี 0.33-0.662 เกณฑ์การประเมินการให้นมลูกด้วย Mother-baby assessment แสดงดังรูป

เอกสารอ้างอิง

  1. Hill PD, Johnson TS. Assessment of Breastfeeding and Infant Growth. Journal of Midwifery & Women’s Health 2007;52:571-8.
  2. Riordan JM, Koehn M. Reliability and validity testing of three breastfeeding assessment tools. J Obstet Gynecol Neonatal Nurs 1997;26:181-7.

 

 

 

การประเมินการให้นมลูกด้วย Systematic Assessment of the Infant at Breast

 รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

                 การประเมินการให้นมลูกด้วย Systematic Assessment of the Infant at Breast (SAIB) เกณฑ์นี้ใช้ตัวแปรในการประเมิน 4 ตัวแปรคือ แนวการวางตัวของทารก การเข้าเต้าหรือการอมหัวนมและลานนม การกดบริเวณลานนม และการได้ยินเสียงกลืนน้ำนม ลักษณะของเกณฑ์พิจารณาอย่างเป็นระบบจากกลไกทางวิทยาศาสตร์ของการดูดนมของทารก ไม่มีการให้เป็นน้ำหนักคะแนน โดยมีความเชื่อว่าหากมีลักษณะตามกลไกเหล่านี้จะสัมพันธ์กับการดูดนมแม่ได้ดี จึงใช้ประโยชน์เป็นแนวทางในการสอนมารดาที่ไม่รู้วิธีในการเริ่มให้นมแม่1 เกณฑ์การประเมินการให้นมลูกด้วย Systematic Assessment of the Infant at Breast แสดงดังรูป

เอกสารอ้างอิง

  1. Hill PD, Johnson TS. Assessment of Breastfeeding and Infant Growth. Journal of Midwifery & Women’s Health 2007;52:571-8.