คลังเก็บป้ายกำกับ: การบีบหรือปั๊มนมสำหรับทารกที่หอทารกวิกฤต

การบีบหรือปั๊มนมสำหรับทารกที่หอทารกวิกฤต

w34

????????????? การบีบหรือปั๊มนมสำหรับทารกที่หอทารกวิกฤต การที่ทารกต้องอยู่ที่หอทารกวิกฤตมักเกิดจากการที่มีภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์หรือการคลอด ซึ่งปัญหาเหล่านี้อาจทำให้ทารกอาจต้องใส่สายยางเข้ากระเพาะอาหารและป้อนนมทางสายยาง โดยอาจจะต้องใช้เวลาในการดูแลรักษา สำหรับทารกที่คลอดก่อนกำหนดส่วนใหญ่หากอายุครรภ์น้อยจำเป็นต้องอยู่ที่หอทารกวิกฤตนาน การดูแลให้มีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จึงต้องอาศัยการบีบหรือปั๊มนมช่วย ซึ่งขณะนอนพักอยู่ที่โรงพยาบาล มารดาควรได้รับการสอนการบีบหรือปั๊มนมเพื่อให้มีน้ำนมและมีโอกาสในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สูงขึ้น นอกจากนี้บริเวณหอทารกวิกฤตควรจัดสถานที่ที่เหมาะสมในการส่งเสริมให้มารดาได้บีบนมหรือปั๊มนมสำหรับทารกด้วย

??????????? การให้ความรู้เกี่ยวกับประโยชน์ของนมแม่ในทารกที่อยู่ที่หอทารกวิกฤตมีความจำเป็น เนื่องจากมารดาที่มีภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์และการคลอดส่วนหนึ่งเป็นจากมารดามีความเสี่ยง ได้แก่ การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น มีเศรษฐานะและการศึกษาน้อย ไม่ฝากครรภ์ ทำให้มารดาเหล่านี้อาจไม่ได้รับการสอนเกี่ยวกับประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระหว่างฝากครรภ์ จึงควรให้ข้อมูลเหล่านี้กับมารดาและครอบครัวเพิ่มเติมในระหว่างการรอคลอดและหลังคลอด ซึ่งควรเน้นว่า ?นอกเหนือจากการรักษาด้วยยาแล้ว การให้ลูกได้กินนมแม่เป็นส่วนหนึ่งของการรักษาและจะช่วยให้ภูมิคุ้มกันของทารกดีขึ้น? การให้คำปรึกษาทีมที่ให้การดูแลรักษา คือ สูติแพทย์ กุมารแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่และผู้เชี่ยวชาญด้านการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ควรทำร่วมกัน23 มีรายงานว่าการให้คำปรึกษาเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กับมารดาที่คลอดก่อนกำหนดที่ตั้งใจจะเลี้ยงลูกด้วยนมผสม ผลคือทำให้มารดาเริ่มการบีบหรือปั๊มนมแม่ร้อยละ 85 ?และความวิตกกังวลในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในกลุ่มที่ตั้งใจจะเลี้ยงลูกด้วยนมผสมและกลุ่มที่ตั้งใจจะให้นมแม่ไม่แตกต่างกัน โดยจะลดลงเมื่อระยะเวลาผ่านไป24

??????????? การบีบหรือปั๊มนมแม่สำหรับทารกที่หอทารกวิกฤต เวลาในการเริ่มการบีบหรือปั๊มนมแม่ควรเริ่มให้เร็วที่สุดหากสามารถทำได้โดยไม่มีข้อห้าม โดยเริ่มบีบหรือปั๊มนมแม่ภายในครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมงแรกหลังคลอด25,26 จะทำให้โอกาสในการประสบความสำเร็จในการให้นมแม่สูงขึ้นระยะเวลาในการบีบหรือปั๊มนมจะใช้เวลา 10-15 นาทีในช่วงแรก และเมื่อน้ำนมมาแล้ว การบีบหรือปั๊มนมควรทำจนกระทั่งน้ำนมหมดไปแล้ว 2 นาทีเพื่อให้มั่นใจว่าน้ำนมเกลี้ยงเต้าแล้ว และควรบีบหรือปั๊มนม 8-12 ครั้งต่อวัน27

??????????? การเลือกให้นมแก่ทารกที่หอทารกวิกฤตมีความแตกต่างกันตามลักษณะของอาการและความรุนแรงของอาการทารก บางรายอาจต้องเริ่มให้นมแม่ทางสายยางเข้ากระเพาะอาหาร บางรายให้นมทางปากได้ แต่ทารกเข้าเต้าหรือดูดได้ไม่ดี จึงมีความจำเป็นต้องปรึกษาร่วมกันในทีมการดูแลรักษาเพื่อให้ทารกได้ประโยชน์สูงสุดจากนมแม่

?

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Pineda RG, Foss J, Richards L, Pane CA. Breastfeeding changes for VLBW infants in the NICU following staff education. Neonatal Netw 2009;28:311-9.

2.???????????? Sisk PM, Lovelady CA, Dillard RG, Gruber KJ. Lactation counseling for mothers of very low birth weight infants: effect on maternal anxiety and infant intake of human milk. Pediatrics 2006;117:e67-75.

3.???????????? Furman L, Minich N, Hack M. Correlates of lactation in mothers of very low birth weight infants. Pediatrics 2002;109:e57.

4.???????????? Parker LA, Sullivan S, Krueger C, Kelechi T, Mueller M. Effect of early breast milk expression on milk volume and timing of lactogenesis stage II among mothers of very low birth weight infants: a pilot study. J Perinatol 2012;32:205-9.

5.???????????? Dougherty D, Luther M. Birth to breast–a feeding care map for the NICU: helping the extremely low birth weight infant navigate the course. Neonatal Netw 2008;27:371-7.

?